Share to:

 

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
Navamindarajudis Krungthepmahanakhon
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ม.ก.
ประเภทรัฐ
สถาปนา8 มีนาคม พ.ศ. 2528
รหัส00102701
ผู้อำนวยการนางสาวศิริกุล เก่าราชการ
สี  น้ำเงิน
  เหลือง
คำขวัญรักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
เพลงมาร์ชนวมินทราชูทิศ
เว็บไซต์nmk.ac.th

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 115 หมู่ 11 ซอยนวมินทร์ 163 (อมรวิวัฒน์) ถนนนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2528 โดยกระทรวงศึกษาธิการ มี นายกนก จันทร์ขจร เป็นผู้อำนวยการท่านแรก

ประวัติ

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญ พระชนมพรรษา ครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยมีนายประสงค์ อ้นสุวรรณ ผู้สนใจในการศึกษาได้ติดต่อและประสานงาน เรื่องการบริจาคที่ดินจากคหบดีและคหปตานี ซึ่งเป็นเครือญาติจำนวน 6 ราย ดังนี้ คือ

  1. นางเสริม น้อยสิริ[1]
  2. นายมุข ทับเจริญ[2]
  3. นายริด สุวรรณน้อย
  4. นางสาวศรีอำพร อ้นสุวรรณ
  5. นางสาวสายสุดา อ้นสุวรรณ
  6. นายสุนันท์ อ้นสุวรรณ

ร่วมกันบริจาคที่ดินจำนวน 17 ไร่ 24 ตารางวา

ประกาศตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2528 ใช้ชื่อว่าโรงเรียนนวมราชูทิศ กรุงเทพมหานคร มีนายกนก จันทร์ขจร ผู้อำนวยการโรงเรียนมักกะสันพิทยา รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เปิดทำการสอนนักเรียนรุ่นแรกจำนวน 307 คน ในปีการศึกษา 2528 โดยอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์และมีอาจารย์จากโรงเรียนมักกะสันพิทยา จำนวน 6 ท่านดำเนินการจัดการเรียนการสอน

ต่อมากระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เพื่อความสมบูรณ์และความไพเราะในเชิงอักษรศาสตร์ จึงได้ประกาศ ให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2528

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2528 โรงเรียนได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนทรงไทย 3 ชั้น หลังแรก โดย นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นประธานในพิธี อาคารหลังนี้ไดรับความอนุเคราะห์จากพระราชปัญญาโกศล เป็นประธาน อุปถัมภ์มูลนิธินวมราชานุสรณ์ และองค์อุปถัมภ์ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร (ในขณะนั้น) เป็นจำนวนเงิน 12 ล้านบาท โรงเรียนจึงได้ ตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่า อาคารพระราชปัญญาโกศล ต่อมาในปีการศึกษา 2529 จึงได้ย้ายมาเรียนในอาคารชั่วคราวที่ชุมชนได้ร่วมใจกันสร้าง เป็นสถานที่เรียนบนที่ดินของโรงเรียน โดยสามารถใช้ประโยชน์จากอาคารพระราชปัญญาโกศลบางส่วนเป็นห้องเรียน และสำนักงาน

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานครและโรงเรียนอีก 4 โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรตินวมินทราชูทิศ 5 ภูมิภาค ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎครอบอุณาโลม รองรับด้วยโมลี 2 ชั้น มีชื่อแต่ละโรงเรียนอยู่ภายใน เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน และเข็มตราสัญลักษณ์ประดับอกเสื้อนักเรียน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535

ปัจจุบัน มีอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น รูปตัว E จำนวน 67 ห้องเรียน และอาคารพระราชปัญญาโกศล จำนวน 12 ห้อง อาคารหอประชุมแบบพิเศษ 2 ชั้น 1 หลัง อาคารพยาบาล 1 หลัง อาคารประชาสัมพันธ์ 1 หลัง และอาคารโรงฝึกงาน 2 ชั้น 1 หลัง

ผู้บริหาร

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายกนก จันทร์ขจร พ.ศ. 2528
2. นายมนตรี จำนงค์ พ.ศ. 2528พ.ศ. 2530
3. นายปรีชา สนแจ้ง พ.ศ. 2530พ.ศ. 2531
4. นายอำนาจ ผิวขำ พ.ศ. 2531พ.ศ. 2534
5. นางพรรณี เพ็งเนตร พ.ศ. 2534พ.ศ. 2537
6. นายณรงค์ บัวเกษ พ.ศ. 2537พ.ศ. 2542
7. ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส พ.ศ. 2542พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2552พ.ศ. 2553
8. นายอุดร บุญถาวร พ.ศ. 2544พ.ศ. 2550
9. นางทิพย์รัตน์ เด่นดำรงวิทย์ พ.ศ. 2550พ.ศ. 2552
10. นายสหชัย สาสวน พ.ศ. 2554พ.ศ. 2557
11. นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ พ.ศ. 2557 — พ.ศ. 2559
12. นายสุรศักดิ์ การุญ พ.ศ. 2559 — พ.ศ. 2567
13. นางสาวศิริกุล เก่าราชการ พ.ศ. 2567 — ปัจจุบัน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya