โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ก่อกำเนิดขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในปีพุทธศักราช 2535 มีโครงการจัดตั้งโรงเรียน โดย กรมสามัญศึกษา ในขณะนั้น มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ (72 ห้องเรียน) จำนวน 1 ใน 9 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ด้วยการติดต่อประสานงานของ คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า คุณขณิษฐา หาญอุตสาหะ ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คุณชูเกียรติ ลิ่มอรุณ ผู้จัดการหมู่บ้านสัมมากร ได้ติดต่อประสานงานกับ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของที่ดิน กรมสามัญศึกษาได้รับพระราชทานที่ดิน จำนวน 14 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา อันเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2534 โดยนายเผดิม สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมสามัญศึกษา ให้ดำเนินการทำนิติกรรมรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นที่ดินในบริเวณหมู่บ้านสัมมากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยใช้ชื่อว่า "เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 2" ต่อมากรมสามัญศึกษา ได้มีคำสั่งให้ นายเผดิม สุวรรณโพธิ์ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 2 พร้อมทั้งได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติ เป็นตึก 7 ชั้น ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งครุภัณฑ์ประจำห้อง อาคารอเนกประสงค์สูง 3 ชั้น พร้อมทั้งหอประชุม สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานและสนามบาสเกตบอล รวมทั้งหอพระพุทธรูปซึ่งมีความพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรมโดยมีลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขประดับเครื่องยอด ส่วนยอดเป็นพระเกี้ยวโดยใช้ส่วนประกอบขององค์พระเกี้ยวตั้งแต่รัดเกล้าขึ้นไปจนถึงยอดโดยตัดส่วนหมอนรองออกไป ใช้จตุรมุขรองรับมีความหมายถึง อิทธิบาท 4 ส่วนฐานเป็นฐานปัทม์ 2 ชั้นหรือเรียกว่าฐานบัว 2 ชั้นโดยทางโรงเรียนได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ผศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี (ตำแหน่งในขณะนั้น) อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โรงเรียนได้ดำเนินการรับนักเรียน รุ่น 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 472 คน แลำดำเนินการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมา โดยการนำของผู้อำนวยการเผดิม สุวรรณโพธิ์ ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า" ในการดำเนินงานระยะแรก เนื่องจากอยู่ในระหว่างก่อสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนจึงใช้พื้นที่เดียวกับโรงเรียนพี่ (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า) ดังนั้นแผนการเรียน 3 ปีแรกจึงมีนักเรียนปีละ 12 ห้องเรียน ต่อมาจึงได้ขยายแผนการเรียนเป็น 16 ห้องเรียน ทั้งนี้โดยมีนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อความเสมอภาค ส่งเสริมนักเรียนอย่างใกล้ชิดระหว่างบ้านและโรงเรียน ดีมาก สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
อาคารและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียนอาคารต่าง ๆ
หอพระพุทธรูปประจำโรงเรียนหอพระพุทธรูปประดิษฐานสมเด็จพระมหาราชทรงครุฑ พระพุทธรูปประจำโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขประดับเครื่องยอด ส่วนยอดเป็นพระเกี้ยว ใช้องค์ประกอบของพระเกี้ยวส่วนตั้งแต่รัดเกล้าขึ้นไปถึงยอด ตัดส่วนหมอนรองออกไป ใช้จตุรมุขรองรับ มีความ หมายถึง อิทธิบาท 4 (ฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา) ส่วนฐานเป็นฐานปัทม์ 2 ชั้น หรือเรียกว่าฐานบัว 2 ชั้น ออกแบบและคุมการสร้างโดยศิลปินแห่งชาติ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ โดยที่ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความปรารถนาที่จะจัดสร้างหอพระพุทธรูปให้มีลักษณะงดงาม ด้วยศิลปกรรมไทย คงเอกลักษณ์อันงดงามยิ่งของช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสานงานศิลป์ของไทยไว้เป็นปูชนียสถานน้อมนำใจพุทธศาสนิกชน กล่อมเกลาจิตใจเยาวชนไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าสืบไป ลานกิจกรรม
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ผู้มีอุปการคุณโรงเรียน
รายนามผู้บริหาร
แหล่งข้อมูลอื่น
|