เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน
เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ โอรสองค์ใหญ่ในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย กับแม่เจ้าขานแก้ว จักรคำขจรศักดิ์[1] เจ้าพงศ์ธาดา เป็นพุทธบริษัท ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตลอด และสอนให้บุตรทุกคนประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เมื่อครั้งไปรับราชการที่จังหวัดนครปฐม[2] เจ้าพงศ์ธาดา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 ท่าน คือ เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน เจ้าวรรณรา ณ ลำพูน เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน และเจ้ารัทธาธร ณ ลำพูน และมีน้องต่างมารดา จำนวน 4 คน คือ เจ้าประกายคำ ณ ลำพูน เจ้าสุริยา ณ ลำพูน เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน และเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน การศึกษาเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่[3] และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (รุ่น 91) ซึ่งต่อมาเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ได้ร่วมในการจัดทำเพลงโรงเรียนสวนกุหลาบ ร่วมกับศิษย์เก่าสวนกุหลาบ อาทิ กิตติคุณ เชียรสงค์ กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ฯลฯ[4] นอกจากนั้นแล้วเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ยังเคยได้เข้ารับการศึกษาเนติบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในระหว่างปี พ.ศ. 2463 - 2474[5][6] การทำงานเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน รับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการ เคยดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดพิจิตร จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครปฐม (ในระหว่างปี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2487)[7] และจังหวัดสงขลา ชีวิตครอบครัวเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน สมรสกับท่านหญิงจิตรจง ณ ลำพูน (ราชสกุลเดิม : จักรพันธุ์) พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์[3] มีบุตร 2 คน และ ธิดา 3 คน
สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำภูนเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ในฐานะผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำภูน (เจ้าประเทศราช)[8] เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำภูน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538[9] โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำภูน ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ณ สุสานบ้านหลวย อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน[10] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ราชตระกูล
อ้างอิง
|