Share to:

 

เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน

เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน
ประสูติพ.ศ. 2483 (84 ปี)
ชายาเยาวภา ณ ลำพูน
โอรสหรือธิดา2 คน

คุณปู เจ้าญาดา ณ ลำพูน

คุณปาล์ม เจ้าธนพงศ์ ณ ลำพูน
ราชสกุลณ ลำพูน
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน
พระมารดาท่านหญิงจิตรจง ณ ลำพูน (พระนามเดิม หม่อมเจ้าจิตรจง จักรพันธุ์)
วงศ์เจ้าผู้ครองนครลำพูน
– ตำแหน่งในนาม –
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน


พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน (พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน ) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครลำพูน เป็นบุตรคนโตในเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน กับท่านหญิงจิตรจง ณ ลำพูน (ราชสกุลเดิม จักรพันธุ์) [1] มีศักดิ์เป็นพระนัดดาในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย สืบเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ต้นสายราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำปาง และ ณ ลำพูน) อนึ่ง ราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ทิพจักราธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครลำปาง นครเชียงใหม่ และนครลำพูน

นอกจากหน้าที่ในการเป็นสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครลำพูนแล้ว พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ยังเป็นผู้ดูแลคุ้มหลวงของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนถึงปัจจุบัน[2]เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูนเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือผู้มีเมตตามากเป็นที่เคารพและนับถือโดยทั่วไป มีนามลำลองที่ประชาชนทั่วไปเรียกขานกันคือ เจ้าเปี๊ยก

ประวัติ

พล.อ.ต.เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน เป็นบุตรในเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน กับท่านหญิงจิตรจง ณ ลำพูน (พระนามเดิม หม่อมเจ้าจิตรจง จักรพันธุ์) เป็นนัดดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ มีเจ้าพี่เจ้าน้อง 5 คน ได้แก่

  1. พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน
  2. เจ้าวันทนีย์ (ณ ลำพูน) ผูกพัน[3] ชาวลำพูนเรียกขานท่านในนาม เจ้าหน่อย โดยเจ้าหน่อยได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พุทธศักราช 2563
  3. เจ้ากีรณา (ณ ลำพูน) บุญพิทักษ์
  4. เจ้าสารินี (ณ ลำพูน) กลิ่นนาค
  5. พันเอกพิเศษ เจ้าวีรพงศ์ ณ ลำพูน

พล.อ.ต.เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน จบการศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย รุ่นปี พ.ศ. 2501[4] และเข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ) รุ่น 12 (พ.ศ. 2512)[5] ต่อจากนั้นจึงได้เข้าสู่เส้นทางการทหาร จนกระทั่งได้รับราชการในสังกัดกองทัพอากาศ และเป็นนักเรียนวิทยาลัยการทัพอากาศ (วทอ.) รุ่น 29 พ.ศ. 2538[6]

ครอบครัวพลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน (ผู้สืบสายราชสกุล) สมรสกับ คุณเยาวภา ณ ลำพูน มีบุตรธิดา 2 คน

  1. เจ้าญาดา ณ ลำพูน (คุณปู)
  2. เจ้าธนพงศ์ ณ ลำพูน (คุณปาล์ม)

สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำพูน

ภายหลังการถึงแก่พิราลัยของเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ในปี พ.ศ. 2538[7]นาวาอากาศเอก เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน (ยศในขณะนั้น) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครลำพูน ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ และเจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ยังมีบทบาทในฐานะรองประธานมูลนิธิเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมประวัติของเจ้าผู้ครองนครลำพูนตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงองค์สุดท้ายให้อนุชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์[8] อนึ่ง คุณหญิง เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิจักรคำขจรศักดิ์ ในปัจจุบัน

งานการเมือง

พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 9 ในนามพรรคชาติพันธุ์ไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2011-01-09.
  2. คุ้มหลวงลำพูน ของเจ้าผู้ครองลำพูนองค์สุดท้าย ยังมีให้เห็น[ลิงก์เสีย]
  3. งานสตมวาร (100 วัน)​ เจ้าวันทนีย์ ณ ลำพูน
  4. ทะเบียนประธานรุ่นและสมาชิกสมาคมนักเรียนเก่าปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย รุ่นปี 2501[ลิงก์เสีย]
  5. "สิงห์ดำ รุ่น 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-06-14.
  6. "รายนามศิษย์เก่า วทอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-18. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.
  7. หนังสือพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน,2538[ลิงก์เสีย]
  8. แนะนำคณะกรรมการมูลนิธิเจ้าจักรคำขจรศักดิ์[ลิงก์เสีย]
  9. ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๖๑๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๑, ๕ มกราคม ๒๕๓๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๑๑, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๓๒, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ ๒) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, ๒๕๓๘.
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๓๙.
ก่อนหน้า เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ถัดไป
เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำพูน
(พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน)
-
Kembali kehalaman sebelumnya