เทศบาลนครแหลมฉบัง
แหลมฉบัง เป็นเทศบาลนครที่จัดตั้งเพื่อรองรับการเป็นเมืองท่าพาณิชย์หลักของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลนครเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[2][3] ประวัติจากบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2534 ให้เหตุผลว่า พื้นที่ในตำบลทุ่งสุขลาและพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลหนองขาม ตำบลบึง อำเภอศรีราชา และพื้นที่บางส่วนของตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกอันเป็นท่าเรือพาณิชย์หลักของประเทศ ตลอดจนเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมและศูนย์พาณิชยกรรมเพื่อการส่งออกตามโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมควรจัดตั้งท้องถิ่นในเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็น เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ด้วยการยกฐานะพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลอ่าวอุดม อำเภอศรีราชา และพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง ขึ้นเป็นเขตเทศบาล เพื่อให้เป็นองค์กรการปกครองท้องถิ่นทำหน้าที่ควบคุมและบังคับใช้แผนพัฒนาเมือง ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่จะให้บริการสังคมแก่ชุมชนและการดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ กับให้ประชาชนได้ปกครองดูแลและทำนุบำรุงท้องถิ่นของตน ที่ตั้งและอาณาเขตเทศบาลนครแหลมฉบังตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 109.65 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของพื้นที่จังหวัดชลบุรี
โดยเทศบาลนครแหลมฉบังมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
การปกครองรายชื่อนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง
ชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง
ประชากรปัจจุบันคาดว่ามีประชากรในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 คนในแต่ละวัน ในขณะที่สถิติของสำนักงานทะเบียนราษฎรท้องถิ่นเทศบาลนครแหลมฉบัง มีจำนวน 86,833 คน แยกเป็นชาย 42,666 คน หญิง 44,167 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นประชากรแฝงประมาณ 40,000 คนที่เข้ามาทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือแหลมฉบัง และเครือสหพัฒน์ฯ และที่อื่น ๆ โดยที่ไม่มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรและประมง ศาสนสถานภายในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังมีวัด จำนวน 17 แห่ง และศาลเจ้า 5 แห่ง วัดในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง
ศาลเจ้าในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง
การศึกษาสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบังสถานศึกษาในกำกับของเทศบาลนครแหลมฉบัง มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่
โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 (สพป.ชบ.3) จำนวน 11 แห่ง ได้แก่
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง (สพม.ชบ.รย.) จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (โรงเรียนเอกชน)สถานศึกษาเอกชนในกำกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หรือโรงเรียนราษฎร์ มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา - อุดมศึกษาสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง มีจำนวน 3 แห่ง โดยเป็นสถานศึกษาเอกชนทั้งหมด ได้แก่ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง มีจำนวน 1 แห่งได้แก่ การสาธารณสุขเทศบาลนครแหลมฉบัง มีสถานพยาบาลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้ โรงพยาบาลแหลมฉบังโรงพยาบาลแหลมฉบัง (เดิมชื่อว่า โรงพยาบาลอ่าวอุดม) เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ประเภทโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย M2 (91-120) มีอัตราการครองเตียงอยู่ที่ 114 เตียง แรกเริ่มก่อตั้งมีสถานะเป็น "สถานีอนามัยตำบลทุ่งศุขลา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 กระทรวงสาธารณสุขได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 1,224,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างโรงพยาบาลสาขาอ่าวอุดมศรีราชา เพื่อเป็นการเตรียมให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนตามแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อมาผู้นำชุมชนและประชาชนได้ร่วมกันผลักดันการยกฐานะสถานีอนามัยตำบลทุ่งศุขลา ให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง โดยสถานีวิจัยศรีราชามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แบ่งที่ดินจำนวน 30 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างโรงพยาบาล และได้รับการบริจาคและสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลและคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์จากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
วันที่ 10 สิงหาคม 2530 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโรงพยาบาล ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และได้รับการกำหนดชื่อสถานพยาบาลอย่างเป็นทางการว่า "โรงพยาบาลอ่าวอุดมอำเภอศรีราชา" โดยมี นพ.สุภาชัย สาระจรัส เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก และได้มีการจัดพิธีเปิดโรงพยาบาลอ่าวอุดมอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 เมษายน 2531 ต่อมาโรงพยาบาลอ่าวอุดมได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารใหม่ขนาด 4 ชั้น โดยได้รับพระราชทานชื่ออาคาร "สิรินธร" จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทั้งเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 และก่อสร้างแล้วเสร็จจนเปิดใช้อาคารเพื่อให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 เป็นต้นมา หลังจากที่โรงพยาบาลอ่าวอุดมได้เปิดให้บริการประชาชนต่อเนื่องมา 25 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2555 คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ และคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ได้มีมติที่ประชุมฯ เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อ "โรงพยาบาลอ่าวอุดมอำเภอศรีราชา" เป็น "โรงพยาบาลแหลมฉบัง" ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 จนถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลวิภารามแหลมฉบังโรงพยาบาลวิภารามแหลมฉบัง (เดิมชื่อว่า โรงพยาบาลแหลมฉบังอินเตอร์เนชั่นแนล) เป็นโรงพยาบาลเอกชนเพียงแห่งเดียวในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครแหลมฉบังเทศบาลนครแหลมฉบัง ได้จัดตั้งศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 3 แห่ง เพื่อให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังอย่างทั่วถึง ได้แก่
องค์กรการกุศล มูลนิธิ-สมาคมมูลนิธิเจ้าพ่อโกมินทร์ซำเทียนไกล่ (หน่าจาเสี่ยงตึ๊ง)มูลนิธิเจ้าพ่อโกมินทร์ซำเทียนไกล่ หรือ หน่าจาเสี่ยงตึ๊ง(三天界哪吒三太子善堂)เป็นองค์กรมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไร และเป็นองค์กรการกุศล ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ขององค์เจ้าพ่อโกมินทร์ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู และส่งเสริม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย-จีน ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่หลักคำสอน รวมถึงภารกิจการโปรดสรรพสัตว์ของเจ้าพ่อโกมินทร์ เทวาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ เพื่อสงเคราะห์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากหรือยากไร้ อีกทั้งยังจัดการบริจาคโลงศพ และช่วยเหลือสงเคราะห์ด้านการศึกษาแก่เด็กในท้องถิ่น โดยเป็นการก่อตั้งขึ้นตามเทวดำริแห่งองค์เจ้าพ่อโกมินทร์ และเจตนารมณ์แห่งคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มูลนิธิเจ้าพ่อโกมินทร์ซำเทียนไกล่ ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งให้เป็นมูลนิธิและมีฐานะเป็นนิติบุคคลจากนายทะเบียนจังหวัดชลบุรี ตามทะเบียนเลขที่ ชบ 1/2563 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยมี นายนพรัตน์ ก่อซื่อวานิช เป็นประธานกรรมการมูลนิธิคนแรก และนายภคนันท์ เขียวศิริ เป็นเลขาธิการมูลนิธิคนปัจจุบัน มูลนิธิอาสาบรรเทาภัย สาขาจังหวัดชลบุรีมูลนิธิอาสาบรรเทาภัย ได้จัดตั้งสาขาในชื่อว่า "ศูนย์ประสานงานมูลนิธิอาสาบรรเทาภัยจังหวัดชลบุรี" ขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 159/2 หมู่ที่ 12 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นกำลังสำรองของทางราชการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและพัฒนาชุมชน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการสาธารณประโยชน์กับองค์กรทุกองค์กร โดยมี นายสัมฤทธิ์ มากมี เป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานคนแรก และในปี พ.ศ. 2556 ได้ทำการย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ เลขที่ 163/52 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานมูลนิธิอาสาบรรเทาภัยจังหวัดชลบุรี ได้มีการประชุมและลงมติขอยุบเลิกศูนย์ประสานงานมูลนิธิอาสาบรรเทาภัยจังหวัดชลบุรี โดยมี นายประสานต์ เขียวศิริ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานฯ คนสุดท้าย ภารกิจการปฏิบัติหน้าที่ดำเนินการสิ้นสุดจนถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561 สภาพเศรษฐกิจสภาพทางเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลแหลมฉบัง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมเป็นหลัก มีอัตราการขยายตัวของการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่สูงมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เป้าหมายในเขตเศรษฐกิจใหม่ของการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีภารกิจหลักที่จะต้องพัฒนา คือ ท่าเรือพาณิชย์หลักระหว่างประเทศ นิคมอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหม่ ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างครบวงจร ทำให้เหมาะแก่การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแหลมฉบังและในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ฯ กลุ่มอุตสาหกรรมภายในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อจังหวัดชลบุรีและภาคตะวันออกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนสูงสุดของจังหวัดชลบุรีประมาณไม่ต่ากว่า 1 แสนล้านบาท มีผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 154 บริษัท และมีการจ้างงานเป็นจำนวนมากที่สุดของจังหวัดชลบุรีประมาณ 5 หมื่นคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในสาขาการผลิตของจังหวัด กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียมอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าการลงทุนสูงสุดในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง แยกเป็น
กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายเขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณแหลมฉบัง อยู่ในความรับผิดชอบของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,556 ไร่ ตำบลทุ่งสุขลาระหว่างกิโลเมตรที่ 126-129 แบ่งเป็น
ในปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังมีบริษัทเข้าไปลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 98 บริษัท กลุ่มสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ฯโครงการสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ฯ ศรีราชา เป็นโครงการของเอกชนก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลติ้ง จำกัด (มหาชน) ที่ตำบลหนองขาม บนพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม 780 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 และพื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม 520 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 40 มีพนักงานและคนงานทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 20,000 คน ประกอบด้วยโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 71 บริษัท ท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือแหลมฉบังตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 120 กิโลเมตรและห่างจากเมืองพัทยาประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่อาณาบริเวณทางบกประมาณ 6,341 ไร่ (ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร) อาณาบริเวณทางน้ำประมาณ 55 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ถมทะเลเพื่อสร้างท่าเทียบเรือในโครงการขั้นที่ 1 ประมาณ 900 ไร่ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรับเรือบรรทุกตู้สินค้า เรือสินค้าประเภทสินค้าเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพได้และการส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคต เกษตรกรรมพื้นที่ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เคยเป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่มีชื่อเสียงคือ สับปะรดพันธุ์ศรีราชา แล้วยังเคยเป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลัง และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังที่มีคุณภาพดีในพื้นที่ คือ มันสำปะหลัง พันธุ์เกษตรศาสตร์ 60 โดยสถานีวิจัยศรีราชา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ปัจจุบันการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในท้องที่เทศบาลนครแหลมฉบังได้ลดน้อยลงอย่างมาก โดยนำพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
|