เทศบาลนครบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาล และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์
เทศบาลนครบุรีรัมย์เดิมมีฐานะเป็นเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมเพียงตำบลในเมืองทั้งตำบล รวม 6.0 ตารางกิโลเมตร (3,800 ไร่) แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้ขยายพื้นที่ครอบคลุมเพิ่มเติมถึงตำบลอิสาณทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเสม็ด (เฉพาะหมู่ที่ 9, 11, 13 และ 16) รวมทั้งหมด 75.44 ตารางกิโลเมตร (47,150 ไร่) และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครไปพร้อมกัน นับเป็นเทศบาลนครแห่งที่ 6 ของภาคอีสาน
ประวัติศาสตร์
เทศบาลนครบุรีรัมย์จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเป็นเทศบาลเมืองในชื่อ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งในขณะนั้นมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[2]
ต่อมาเมื่อท้องถิ่นเจริญขึ้น มีชุมชนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกัน สมควรปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2504 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 มีเนื้อที่รวม 6 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมด[3]
ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแนวเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดยยุบรวมเทศบาลตำบลอิสาณทั้งหมด รับโอนพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด และเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองขึ้นเป็น เทศบาลนครบุรีรัมย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม[4][5][6]
ภูมิศาสตร์
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีความลาดเอียงเล็กน้อย จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก และจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความสูงของพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 163 เมตร เขตเทศบาลนครบุรีรัมย์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ดและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนวน (อำเภอห้วยราช) และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด เขตเทศบาลตำบลบ้านบัว และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลหนองตาด (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)
สภาพอากาศทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครบุรีรัมย์
|
เดือน
|
ม.ค.
|
ก.พ.
|
มี.ค.
|
เม.ย.
|
พ.ค.
|
มิ.ย.
|
ก.ค.
|
ส.ค.
|
ก.ย.
|
ต.ค.
|
พ.ย.
|
ธ.ค.
|
ทั้งปี
|
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C
|
31.67
|
34.02
|
36.02
|
36.45
|
33.87
|
34.35
|
33.60
|
33.07
|
32.57
|
31.25
|
30.52
|
29.77
|
33.10
|
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C
|
17.65
|
20.10
|
22.65
|
24.47
|
24.50
|
24.80
|
24.37
|
24.17
|
24.22
|
23.32
|
20.87
|
18.30
|
22.45
|
หยาดน้ำฟ้า มม
|
0.07
|
7.10
|
42.02
|
113.75
|
241.87
|
100.82
|
176.10
|
109.87
|
288.90
|
177.50
|
94.27
|
6.00
|
1,358.27
|
Average high °F
|
89.01
|
93.24
|
96.84
|
97.61
|
92.97
|
93.83
|
92.48
|
91.53
|
90.63
|
88.25
|
86.94
|
85.59
|
91.58
|
Average low °F
|
63.77
|
68.18
|
72.77
|
76.05
|
76.1
|
76.64
|
75.87
|
75.51
|
75.6
|
73.98
|
69.57
|
64.94
|
72.41
|
Precipitation inches
|
0.0028
|
0.2795
|
1.6543
|
4.4783
|
9.5224
|
3.9693
|
6.9331
|
4.3256
|
11.374
|
6.9882
|
3.7114
|
0.2362
|
53.4752
|
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย
|
0
|
2
|
5
|
10
|
20
|
14
|
18
|
12
|
18
|
14
|
5
|
2
|
120
|
แหล่งที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
|
ประชากร
จำนวนประชากรในเทศบาลนครบุรีรัมย์ ตามสถิติการทะเบียนราษฎรเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนรวมทั้งหมด 50,632 คน แบ่งออกตามพื้นที่เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงฐานะได้ดังนี้[7]
- เทศบาลเมืองบุรีรัมย์เดิม จำนวน 22,887 คน
- เทศบาลตำบลอิสาน จำนวน 22,097 คน
- หมู่บ้านที่เคยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด
- หมู่ที่ 9 จำนวน 1,305 คน
- หมู่ที่ 11 จำนวน 1,440 คน
- หมู่ที่ 13 จำนวน 1,810 คน
- หมู่ที่ 16 จำนวน 1,093 คน
ชุมชนและหมู่บ้าน
ชุมชนและหมู่บ้านในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ แบ่งตามตำบลท้องที่
ตำบลในเมือง
|
- ชุมเห็ด
- หลักสถานีรถไฟ
- หนองปรือ
- ประปาเก่า
- หน้าสถานีรถไฟ
- บุลำดวนเหนือ
- ตลาด บ.ข.ส.
- หลังศาล
- เทศบาล
- ตลาดสด
- วัดอิสาณ
- บุลำดวนใต้
- หลังราชภัฏ
- ต้นสัก
- หลักเมือง
- สะพานยาว
- โคกกลาง
- ฝั่งละลม
|
ตำบลอิสาณ
|
- ชุมชนโคกวัด
- ชุมชนโคกใหญ่
- ชุมชนโคกหัวช้าง
- ชุมชนไทยเจริญ
- ชุมชนหนองโพรง
- ชุมชนโคกสะอาด
- ชุมชนห้วย
- ชุมชนหนองแปบ
- ชุมชนยาง
- ชุมชนหัวลิง
- ชุมชนโพธิ์ศรีสุข
- ชุมชนไผ่น้อย
- ชุมชนโคกขุนสมาน
- ชุมชนสวนครัว
- ชุมชนศิลาชัย
- ชุมชนโคกมะกอก
- ชุมชนหินลาด
- ชุมชนทรัพย์สมบูรณ์
|
ตำบลเสม็ด (บางส่วน)
|
- หมู่ที่ 9 บ้านโคกใหญ่
- หมู่ที่ 11 บ้านโคกเขา
- หมู่ที่ 13 บ้านเขากระโดง
- หมู่ที่ 16 บ้านศิลาทอง
|
-
ย่านใจกลางเมืองบุรีรัมย์
-
ชุมชนละลม
โครงสร้างพื้นฐาน
การศึกษา
การจัดการศึกษาในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา
- ระดับก่อนประถมศึกษา 4 แห่ง
- ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา 10 แห่ง
- ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา (โรงเรียนขยายโอกาส) 3 แห่ง
- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และ โรงเรียนภัทรบพิตร
- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร 3 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร และโรงเรียนเทศบาล 3 เมืองบุรีรัมย์
- ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 2 แห่ง คือ โรงเรียนอิสาณโกศลศึกษา และโรงเรียนฮั่วเคี้ยวบุรีรัมย์
- ระดับวิทยาลัยมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์ โรงเรียนเบญจเทคโน และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม 3 แห่ง คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดกลางวพระอารามหลวง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดอิสาณ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดธรรมธีราราม
- ระดับมหาวิทยาลัย 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สาธารณสุข
การสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีดังนี้
โทรคมนาคมและการสื่อสาร
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 2 แห่ง
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
- การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
- สถานีวิทยุกระจายเสียง/สถานีวิทยุโทรทัศน์ในพื้นที่
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ระบบ เอ.เอ็ม. ตั้งอยู่ที่ถนนนิวาส ข้างโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ระบบ เอฟ.เอ็ม. ตั้งอยู่ที่ถนนจิระตรงข้ามมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
- ระบบเสียงตามสายหรือหอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ 80 ของพื้นที่
สาธารณูปโภค
เทศบาลนครบุรีรัมย์อยู่ในเขตบริการน้ำประปาของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลฯ ประปาในเขตเทศบาลฯ ประมาณ 21,084 ครัวเรือน มีห้วยจระเข้มาก และห้วยชุมเห็ดเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาและมีห้วยตลาดเป็นแหล่งน้ำดิบสำรอง
ในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 21,084 ครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ที่ให้บริการไฟฟ้า 100% ของพื้นที่ทั้งหมด
การขนส่ง
เทศบาลนครบุรีรัมย์สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน
เทศบาลนครบุรีรัมย์อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 384 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลักที่อยู่ใกล้เคียงดังนี้
ทางราง
สถานีรถไฟบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางตอนเหนือของเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากบุรีรัมย์สู่พื้นที่อื่น ๆ ของตัวจังหวัด และภาคอีสาน ทั้งรถไฟด่วนและรถไฟธรรมดา อาทิเช่น รถไฟสายสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานี, นครราชสีมา–อุบลราชธานี, กรุงเทพ (หัวลำโพง)–สุรินทร์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ จะมีรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี และกรุงเทพ–ศรีสะเกษ เปิดเดินรถเพิ่มอีกหลายขบวน
ทางถนน
ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติส ถนนสายสำคัญในตัวเมือง อาทิเช่น ถนนธานี, ถนนรมย์บุรี, ถนนปลัดเมือง, ถนนจิระ, ถนนสุนทรเทพ, ถนนนิวาศ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของเมือง ให้บริการรถโดยสารในหลายเส้นทาง อาทิเช่น สายกรุงเทพ–บุรีรัมย์, กรุงเทพ–อุบลราชธานี, กรุงเทพ–สุรินทร์, กรุงเทพ–ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์–นางรอง, บุรีรัมย์–นครราชสีมา รถประจำทางในเมืองบุรีรัมย์ คือ รถสองแถว สายสีชมพู ให้บริการในสองเส้นทาง (สายตลาดเทศบาล-เขากระโดง และสายบ้านบัว) ในอดีตเคยมีรถโดยสารประจำทางวิ่งในตัวเมือง แต่ได้ยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นรถสองแถวแทน
ทางอากาศ
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ หรือ สนามบินบุรีรัมย์ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองบุรีรัมย์มากที่สุด ตั้งอยู่ที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมือง 34 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สายการบินที่ให้บริการคือ นกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย เปิดทำการทุกวัน
เศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรม มี 6 แห่ง ได้แก่
- บริษัท ศิลาชัย (1991) จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลอิสาณ
- บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลอิสาณ
- หิดลาด จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 13 ตำบลอิสาณ
- บริษัท แอดเดอร์รานท์ไทย จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 ตำบลอิสาณ
- บริษัท สรรไท ซุปเปอร์เทค จำกัด ตั้งอยู่ที่ 999 หมู่ที่ 9 บ้านโคกใหญ่ ตำบลเสม็ด
- บริษัท สยามเทคนิคคอนกรีต จำกัด ตั้งอยู่ที่ 333 หมู่ที่ 16 บ้านศิลาทอง ตำบลเสม็ด
สถานที่สำคัญ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์
- โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
- โรงเรียนภัทรบพิตร
- โรงเรียนโสภณวรวัฒน์วิทยา
- โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์
- โรงเรียนฮั่วเคี้ยวบุรีรัมย์
- โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์
- โรงเรียนบ้านโคกสะอาดวิทยาคาร
- โรงเรียนบ้านโคกวัด
- โรงเรียนคงชัยสิทธิ์วิทยา
- โรงเรียนประกาศธรรมคุณวิทยา
- โรงเรียนเบญจเทคโน
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
- โรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา
- โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร
- โรงเรียนเทศบาล 3 เมืองบุรีรัมย์
- โรงพยาบาลบุรีรัมย์
- โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
- กองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26
- สถานีตำรวจภูธรเมืองบุรีรัมย์
- กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์
- สถานีดับเพลิงเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
- สระว่ายน้ำ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์
- สวนสาธารณะรมย์บุรี
- คลองละลม (ตั้งอยู่กลางเมืองบุรีรัมย์มีลักษณะเป็นรูปวงรี แบ่งเป็น 6 ส่วนหรือ 6 ลูก)
- วัดกลางพระอารามหลวง
- ทวีกิจ พลาซ่า
- ตลาดไนท์บาซาร์
- ตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
- สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์
- สถานีรถไฟบุรีรัมย์
- สถานบันเทิงย่านตะวันแดง
- ช้างอารีนา
- ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต
- อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก
- ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์
- สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
- สนามกีฬา องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
- กองกำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดบุรีรัมย์
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์
- แขวงทางหลวงบุรีรัมย์
- วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง
- “พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ประดิษฐานอยู่บนยอดเขากระโดง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
จังหวัด | | |
---|
เทศบาลนคร | |
---|
ภูมิลักษณ์ที่สำคัญ | |
---|
สังคมและวัฒนธรรม | |
---|
|
|
---|
เทศบาลนคร | |
---|
อปท. รูปแบบพิเศษ | |
---|