การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตราสัญลักษณ์ทางการ |
ตราสัญลักษณ์รอง |
ชื่อทางการค้า | กนอ. |
---|
ชื่อท้องถิ่น | Industrial Estate Authority of Thailand |
---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
---|
อุตสาหกรรม | |
---|
ก่อนหน้า | นิคมอุตสาหกรรมบางชัน กรมโรงงานอุตสาหกรรม |
---|
ก่อตั้ง | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515; 52 ปีก่อน (2515-12-14) |
---|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 5,6 ซอยวิภาวดีรังสิต 3 (ร่วมศิริมิตร) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร, , |
---|
จำนวนที่ตั้ง | - นิคมอุตสาหกรรม 68 แห่ง
- โรงงาน 4,828 โรงงาน
|
---|
พื้นที่ให้บริการ | 16 จังหวัดในประเทศไทย |
---|
บุคลากรหลัก | |
---|
ผลิตภัณฑ์ | สินค้าอุตสาหกรรม |
---|
บริการ | |
---|
รายได้ | 8,796 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
รายได้จากการดำเนินงาน | 8,145 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
รายได้สุทธิ | 3,897 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
ทรัพย์สินสุทธิ | 1,535 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
สินทรัพย์ | 45,282 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 26,529 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
เจ้าของ | กระทรวงการคลัง (100%) |
---|
พนักงาน | 635 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
บริษัทแม่ | กระทรวงอุตสาหกรรม |
---|
แผนก | - จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก
- บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- อีสเทิร์น ฟลูอิด ทรานสปอร์ต
- โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส
|
---|
บริษัทในเครือ | - เจน เอ็นไวรันเมนทัล แมเนจเม้นท์
- เรดด์ บริหารพื้นที่
- บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น
- ไพรม์ อินดัสเทรียล เอ็นเนอร์ยี่
- อินดัสทรี โปรโมชั่น
|
---|
เว็บไซต์ | เว็ยไซต์อย่างเป็นทางการ |
---|
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Industrial Estate Authority of Thailand, IEAT) หรือ กนอ. เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515[2] เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้ารวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ และเป็นกลไกของภาครัฐในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกไปสู่ภูมิภาค
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ได้มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 แทน ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ที่ถูกยกเลิกไป [3]
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 คือ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ครอบคลุมเขตมีนบุรี และเขตบางกะปิ[4]ในปี พ.ศ. 2567 พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา และ เสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นกรรมการ[5]
อำนาจหน้าที่
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนหรือองค์กรของรัฐจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
- จัดให้มีและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
- จัดให้มีระบบและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม
- อนุญาต อนุมัติ การประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมและจัดให้ได้เพิ่มเติมซึ่งสิทธิประโยชน์ สิ่งจูงใจ และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้นยังประกอบด้วย บริการอื่นที่จำเป็น อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น
รายชื่อนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 62 นิคม กระจายอยู่ใน 18 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 15 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 48 นิคม[6] (ตัวหนา คือ นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง และ ตัวเอียง คือ นิคมอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา)
ภาคเหนือ
ภาคกลางและภาคตะวันออก
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ไฮเทค
- นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
- นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
- นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง
- จังหวัดสมุทรสาคร
- นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
- นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร
- นิคมอุตสาหกรรมมหาราชนคร
- จังหวัดฉะเชิงเทรา
- นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์
- นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้
- นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี
- นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี 2
- นิคมอุตสาหกรรม 304 ฉะเชิงเทรา
- นิคมอุตสาหกรรมเอเพ๊กซ์กรีน ฉะเชิงเทรา
- จังหวัดสมุทรปราการ
- นิคมอุตสาหกรรมบางปู
- นิคมอุตสาหกรรมบางพลี
- นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (สุวรรณภูมิ)
- นิคมอุตสาหกรรมบางปู (เหนือ)
- จังหวัดชลบุรี
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1
- นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี)
- นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) (โครงการ 2)
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 4)
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3.1
- นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)
- นิคมอุตสาหกรรมบ้านบึง
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 2
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 2
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3
- นิคมอุตสาหกรรมยามาโตะ อินดัสตรีส์
- นิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีนชลบุรี
- จังหวัดระยอง
- นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)
- นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
- นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง)
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1
- นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
- นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล
- นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
- นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36
นอกจากนี้ กนอ. ยังมีหน้าที่กำกับดู ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง อีกด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคใต้
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
|
---|
พลังงาน | | |
---|
ขนส่ง | |
---|
สื่อสาร | |
---|
สาธารณูปการ | |
---|
อุตสาหกรรม | |
---|
เกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติ | |
---|
พาณิชย์และบริการ | |
---|
สังคมและเทคโนโลยี | |
---|
สถาบันการเงิน | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทอื่น ๆ* | |
---|
* หมายเหตุ: เป็นองค์กรที่กองทุน FIDF เคยถือหุ้น หรือถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบ ซึ่งภายหลังในปี 2563 มีการตีความว่ากองทุนฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรที่กองทุนฯ ถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบ (ธนาคารกรุงไทย) สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ |