Share to:

 

เทศบาลนครนครสวรรค์

เทศบาลนครนครสวรรค์
ภาพมุมสูงของเทศบาลนครนครสวรรค์ มองจากเขากบ
ภาพมุมสูงของเทศบาลนครนครสวรรค์ มองจากเขากบ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครนครสวรรค์
ตรา
สมญา: 
เมืองสี่แคว
คำขวัญ: 
สุขภาพดีถ้วนหน้า การศึกษาได้มาตรฐาน สาธารณูปโภคก้าวไกล ร่วมใจพัฒนา พาเศรษฐกิจรุ่งเรือง
ทน.นครสวรรค์ตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
ทน.นครสวรรค์
ทน.นครสวรรค์
ที่ตั้งของเทศบาลนครนครสวรรค์
ทน.นครสวรรค์ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.นครสวรรค์
ทน.นครสวรรค์
ทน.นครสวรรค์ (ประเทศไทย)
พิกัด: 15°42′48″N 100°08′07″E / 15.71333°N 100.13528°E / 15.71333; 100.13528
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
อำเภอเมืองนครสวรรค์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ
พื้นที่
 • ทั้งหมด27.87 ตร.กม. (10.76 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด76,664 คน
 • ความหนาแน่น2,750.77 คน/ตร.กม. (7,124.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03600102
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์
112 ถนนอรรถกวี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
เว็บไซต์www.nsm.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครสวรรค์ เป็นเทศบาลนครในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดนครสวรรค์ เดิมเป็นสุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์ และเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครนครสวรรค์เมื่อ พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลปากน้ำโพทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลนครสวรรค์ตก ตำบลนครสวรรค์ออก ตำบลวัดไทรย์ และตำบลแควใหญ่ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 27.78 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรประมาณ 85,931 คน

ประวัติ

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์ ในท้องที่ตำบลปากน้ำโพตะวันตก และตำบลแควใหญ่ ของอำเภอเมืองนครสวรรค์[2] ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ปกครองประมาณ 1.47 ตารางกิโลเมตร[3] และได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ขยายพื้นที่เป็น 8.85 ตารางกิโลเมตร[4] ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2522 มีพื้นที่ปกครองประมาณ 27.87 ตารางกิโลเมตร[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลนครนครสวรรค์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา[6]

ภูมิศาสตร์

นครสวรรค์อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร ที่ตั้งของเมืองนครสวรรค์เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายหลักของประเทศไทยสองสาย ได้แก่ แม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไหลลงใต้สู่กรุงเทพมหานครและออกสู่อ่าวไทย สภาพแวดล้อมของเมืองส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีเนินเขาสูงประมาณ 110 เมตร

เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ในปัจจุบัน ครอบคลุมตำบลต่าง ๆ ในอำเภอเมืองนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลปากน้ำโพทั้งตำบล ตำบลนครสวรรค์ตกเฉพาะหมู่ที่ 1, 4, 5, 9 และ 10 ตำบลนครสวรรค์ออก เฉพาะหมู่ที่ 1, 4, 5, 6 และ 7 ตำบลวัดไทรย์เฉพาะหมู่ที่ 10, 11, 12 และ 13 และตำบลแควใหญ่ เฉพาะหมู่ที่ 4, 7 และ 10 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 27.78 ตารางกิโลเมตร

เศรษฐกิจ

ในเขตเทศบาลบริเวณใจกลางเมืองส่วนใหญ่จะเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและธุรกิจต่าง ๆ และพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเดิม

การเมืองการปกครอง

เทศบาลนครนครสวรรค์เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล มีนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลออกเป็น 4 เขต มีสมาชิกทั้งหมด 24 คน[7] แบ่งเขตการปกครองออกเป็นชุมชน รวมทั้งหมด 71 ชุมชน[8]

อาคารเทศบาลนครนครสวรรค์

สำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนอรรถกวี บริเวณเชิงเขาทางทิศใต้ของเขากบ ซึ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2536 โดยรื้ออาคารหลังเดิมออก อาคารหลังปัจจุบันนี้ได้รับพระราชทานนามอาคารว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 และได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

การศึกษา

โรงเรียนรัฐบาล
  • โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์
  • โรงเรียนอนุบาลเมืองนครสวรรค์
โรงเรียนเทศบาล
  • โรงเรียนเทศบาลวัดไทรใต้
  • โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำโพใต้
  • โรงเรียนเทศบาลวัดพรหมจริยาวาส
  • โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต
  • โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม
  • โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต
  • โรงเรียนเทศบาลวัดสุคตวราราม
  • โรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ
  • โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครสวรรค์
ภายในโรงเรียนนครสวรรค์
โรงเรียนมัธยม สพฐ.
โรงเรียนเอกชน
ระดับอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์
  • วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ
  • โรงเรียนสหพานิชยการ อำเภอเมืองนครสวรรค์
ระดับอุดมศึกษา

การขนส่ง

รถไฟ

ทางหลวง

สถานที่สำคัญ

ปากน้ำโพ บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาในเทศบาลนครนครสวรรค์

ปากน้ำโพ

บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า ปากน้ำโพ ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" แต่ในปัจจุบันนักโบราณคดีระบุว่า พื้นที่บริเวณนี้เป็นปากน้ำของคลองโพ (คือส่วนหนึ่งของแม่น้ำน่านในปัจจุบัน โดยบรรจบกับแม่น้ำน่านก่อนแล้ว จึงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา) และชาวจีนพูดคำว่า "ปากน้ำโผล่" ได้ไม่ชัดเจน จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆ

อ้างอิง

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop [ม.ป.ป.]. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32: 367–369. 21 พฤศจิกายน 2458.
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช 2478" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52: 1682. 10 ธันวาคม 2478.
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (71 ก): 1259. 26 ธันวาคม 2493.[ลิงก์เสีย]
  5. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (56): 2522. 21 เมษายน 2522.
  6. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 10–13. 24 กันยายน 2538.
  7. "สมาชิกสภาเทศบาล". เทศบาลนครนครสวรรค์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ข้อมูลพื้นฐาน เทศบาลนครนครสวรรค์". เทศบาลนครนครสวรรค์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
Kembali kehalaman sebelumnya