โรงเรียนโยธินบูรณะ
โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 มีนายภักดิ์ ฉวีสุข เป็นครูใหญ่ท่านแรก (พ.ศ. 2478-2479) และนายสันทัด เมี้ยนกำเนิด เป็นผู้อำนวยการท่านแรก (พ.ศ. 2513-2519) เดิมตั้งอยู่เลขที่ 1162 แยกเกียกกาย ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาพื้นที่บริเวณดังกล่าวถูกใช้ในการก่อสร้างสัปปายะสภาสถานซึ่งเป็นอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่ในปัจจุบัน จึงได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนบนที่ตั้งแห่งใหม่ที่เลขที่ 1313 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ประวัติโรงเรียนก่อนที่จะมาเป็นโยธินบูรณะเมื่อชุมชนรอบโรงเรียนมัธยมวัดสะพานสูงมีการขยายตัวขึ้น มีผู้คนเข้ามาศึกษามาก จึงไม่สามารถขยายโรงเรียนได้อีก ทำให้โรงเรียนคับแคบ ครูใหญ่ในขณะนั้น ครูภักดิ์ ฉวีสุข จึงได้ไปปรึกษากับ หลวงสุนทรอัศวราช (เลขานุการประจำตัวหลวงพิบูลสงคราม และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ให้ไปทำรายงานเสนอแก่อำมาตย์ตรี หลวงพิลาศวรรณสาร(พนักงานตรวจการศึกษาแขวงพระนครเหนือ) สนองต่อกระทรวงธรรมการดำเนินการเจรจาขอที่ดิน 3 แห่งจากกระทรวงกลาโหม
ในที่สุดกระทรวงกลาโหม (สมัยพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รักษาการแทนปลัดกระทรวงกลาโหม) ได้รับอนุญาตให้กระทรวงธรรมกาปลูกสร้างโรงเรียนได้บริเวณฝ่ายซ้ายของถนนสะพานแก้ว ตรงข้ามกรมทหารพันม้า (กรมทหารม้ารักษาพระองค์) โดยมีเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่เศษ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2477 ต่อมาเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการเสนอว่าที่ดินแปลงนี้กว้างขวาง ตั้งอยู่ในทำเลระหว่างกลางจากโรงเรียนวัดสะพานสูง และโรงเรียนมัธยมวัดจันทร์สโมสร จึงเห็นสมควรที่จะย้ายนักเรียนทั้ง 2 แห่งมารวมกัน เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และต่อมาได้ขยายชั้นเรียนจนถึงระดับมัธยมบริบูรณ์ (ม.8 หรือ ม.ศ.5 ปัจจุบันคือมัธยมศึกษาปีที่ 6) ด้วยเหตุที่ย้ายนักเรียนจากทั้งสองแห่งมาเรียนรวมกันในสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งได้อาศัยที่ดินของกระทรวงกลาโหม และตั้งอยู่ระหว่างกองทหารหลายหน่วยงานอีกทั้งโรงเรียนและชุมชนในเขตทหารได้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พร้อมกันนั้นได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งใหม่นี้ว่า โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะ ส่วนอาจารย์ใหญ่นั้นคือ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุข ผู้ที่ได้ออกความคิดเห็นที่จะย้ายเป็นคนแรก อาคารเรียนเป็นอาคารเรือนไม้ 3 ชั้น ชั้นละ 7 ห้อง รวม 21 ห้อง อนุมัติเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2477 เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2477 โดยโรงเรียนเพาะช่างเป็นผู้ดำเนินการในราคาทั้งสิ้น 21,000 บาท และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งเป็น โรงเรียนโยธินบูรณะ สืบมาจนปัจจุบัน ทำการเปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะแรกเริ่มเป็นนักเรียนชายล้วน จำนวน 516 คน ครู 22 คน จำนวนห้องเรียน 18 ห้อง เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบัน นักเรียนชายล้วนรุ่นสุดท้ายของโรงเรียนโยธินบูรณะ คือ รุ่นที่ 61 โดยหลังจากนั้นโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา โดยเริ่มรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2538 และรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปีการศึกษา 2541
โรงเรียนโยธินบูรณะในปัจจุบัน มุ่งมั่นจัดระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม สู่คูณภาพมาตรฐานสากล ปัจจุบันโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีนักเรียนทั้งชายและหญิงทุกระดับชั้น โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในชื่อ สัปปายะสภาสถาน บนพื้นที่ 119 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของแยกเกียกกาย จึงทำให้สถานที่ราชการต่าง ๆ ในบริเวณนั้นต้องย้ายออกไปจากบริเวณดังกล่าว ซึ่งรวมถึงโรงเรียนโยธินบูรณะด้วย แต่ว่ารัฐบาลในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช ได้มอบพื้นที่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างเป็นโรงเรียนโยธินบูรณะแห่งใหม่ให้แทน โดยได้เริ่มการเรียนการสอนในพื้นที่แห่งใหม่ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ข้อพิพาทในส่วนการบริหารงานในปี พ.ศ. 2550 นายวิชัย รูปขำดี ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนโยธินบูรณะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา และกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ตรวจสอบการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ปกครองในการรับนักเรียน ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองจำนวนมากเกี่ยวเนื่องกับการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 โดยในภาคปกติจะต้องบริจาคคนละ 30,000-50,000 บาท ส่วนภาคภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท และใบเสร็จที่ออกให้เป็นของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ซึ่ง ผอ. โรงเรียนโยธินบูรณะได้ชี้แจงว่ามีการนำเงินไปทำโครงการต่าง ๆ เช่น ปรับปรุงห้องเรียน ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ แต่นายวิชัยกล่าวต่อว่าทางโรงเรียนไม่ได้แจ้งจำนวนนักเรียนที่รับเพิ่ม รวมถึงไม่แจ้งจำนวนเงินที่ได้รับบริจาค และรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิด ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศ ศธ.ที่ไม่ให้เรียกรับเงิน[2] สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
รายนามอาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการโรงเรียน
รายนามศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ
อ้างอิง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ โรงเรียนโยธินบูรณะ แหล่งข้อมูลอื่น
|