ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
พลเอก ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย และที่ปรึกษาด้านการรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันเป็นประธานและผู้ก่อตั้งองค์กรอุณาโลม ประวัติชีวิตส่วนตัวพล.อ. ปฐมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2490 ที่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีชื่อเล่นว่า"แป๊ะ" จึงถูกสื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กแป๊ะ" เป็นบุตรชายของพล.ท. ยุทธศิลป์ เกษรศุกร์ อดีตผู้บังคับการกรม กองพลทหารอาสาสมัคร ในช่วงสงครามเวียดนาม และอดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3 กับนางมาลี เกษรศุกร์ พี่ชายชื่อ น.ต. พงษ์ณรงค์ เกษรศุกร์ อดีตนักบินเอฟ 5 เอ ที่เสียชีวิตจากการถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ยิงตกที่เขาค้อ เมื่อปี พ.ศ. 2519 พล.อ. ปฐมพงษ์ เคยผ่านการสมรสมาก่อนกับภริยาเก่า มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ แก้วฟ้า เกษรศุกร์ ก่อนจะหย่าร้างกันไป โดยในปัจจุบัน พล.อ. ปฐมพงศ์ สมรสกับ คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน[1] การศึกษาพล.อ. ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ จบการศึกษาดังนี้
รับราชการเริ่มรับราชการที่กรมผสมที่ 31 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เรื่อยมาจนถึงรองเสนาธิการทหารบก ในด้านวิชาการเป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาสิทธิประโยชน์ของกำลังพลในกองทัพเรือ ก่อนจะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย
หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การเมืองภาคประชาชนในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2551 พล.อ.ปฐมพงษ์เป็นผู้ที่นำนายทหารให้การคุ้มครอง นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จากสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะเดินทางกลับจากต่างประเทศ ให้รอดพ้นจากการจับกุมของตำรวจตามหมายจับที่ภายหลังศาลตัดสินว่า เป็นหมายจับที่มิชอบด้วยกฎหมาย จากนั้นได้แต่งเครื่องแบบเต็มยศขึ้นเวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายครั้ง พร้อมได้แสดงจุดยืนว่าอยู่ข้างพันธมิตรฯ ในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พล.อ. ปฐมพงษ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการแล้วมีบทบาทเป็นผู้เจรจากับผู้บังคับบัญชาตำรวจก่อนจะมีเหตุการณ์ และถูกผลักจนได้รับบาดเจ็บรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วย ปัจจุบัน พล.อ. ปฐมพงษ์ เป็นประธานและผู้ก่อตั้งองค์กรอุณาโลม ซึ่งเป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และให้ข้อเสนอแนะรัฐบาลด้านการทหารและการพัฒนากองทัพ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|