ไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก (อังกฤษ: Avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก โดยเริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460–2461 (ค.ศ.1918–1920) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่สเปน" (Spanish Flu) เริ่มแพร่ระบาดจากฝั่งอาร์กติก และข้ามมาสู่ฝั่งแปซิฟิกภายในระยะเวลา 2 เดือน มีการประมาณผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 50–100 ล้านคน หรือเท่ากับคนจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรของทวีปยุโรป ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500–2501 (ค.ศ.1957–1958) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่เอเซีย" (Asian Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1–4 ล้านคน ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ.1968) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1–4 ล้านคน เชื้อไข้หวัดนกแผ่ระบาดทั่วเอเชียประเทศจีนและฮ่องกงต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และต่อมาพบนกกระยางป่วยในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยพบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1[1] เดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานการระบาดที่ตลาดใหม่จินฮวาเขตลี่วาน เมืองกว่างโจว ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 114 ตัว และได้มีการฆ่าทำลายสัตว์ปีกอีก 518 ตัว[2] ประเทศเวียดนาม
ประเทศไทยมีการระบาดมาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในปีนั้นกล่าวคือป่วย 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ในปี พ.ศ. 2548 ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปี พ.ศ. 2549 ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยในปี พ.ศ. 2547 พบพื้นที่ระบาดมากที่สุดถึง 60 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พบพื้นที่ระบาดรองลงมา 21 จังหวัด ในปี พ.ศ. 2549 พบเพียงสองจังหวัด ในปี พ.ศ. 2550 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัด และปีที่พบเป็นปีสุดท้ายได้แก่ พ.ศ. 2551 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี[6] ประเทศกัมพูชาพบเด็กเสียชีวิตใน พ.ศ. 2555 หนึ่งราย[7] โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2553 พบผู้ป่วย 10 ราย เสียชีวิตอีก 8 รายในช่วงเวลาดังกล่าว[8] ประเทศญี่ปุ่นพบไวรัสไข้หวัดนก ในซาก " อินทรีเหยี่ยวภูเขา" มีผู้พบอินทรีตัวดังกล่าวมีอาการป่วย ที่หมู่บ้านซาการะ ในจังหวัดคุมาโมโตะ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2550[9] การตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกในระยะแรกต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 3–4 วันโดยวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 คือวิธีการเพาะแยกเชื้อไวรัสในไข่ไก่ฟักหรือเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อ พ.ศ. 2551 ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ครอบคลุมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ต้นทุนการตรวจต่ำและรู้ผลภายใน 1 วันได้สำเร็จ[10] นอกจากนี้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ยังได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักวิจัยชาวไทยเพื่อพัฒนาชุดตรวจวินัจฉัยไข้หวัดนกโดยใช้หลักการไบโอเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นชุดตรวจวินิจฉัยไข้หวัดนกที่มีความจำเพาะสูงกับไวรัสกลุ่ม H5 มีความไวสูงกว่าวิธีปัจจุบัน (IC) 100 เท่า ทราบผลภายใน 15 นาที และสามารถเก็บตัวอย่างได้นาน 1 เดือน ก่อนนำมาอ่านผลด้วยเครื่องตรวจวัดอีกด้วย วัคซีนป้องกันสหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550[11] ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล[12] ไข้หวัดนกในคนโดยปกติ ไข้หวัดนกไม่ติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คนจะติดไวรัส เรียกว่าไข้หวัดนกในคน มักเกิดขึ้นในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว จากอายุ 18–20 ปี และมีอัตราการตายสูงกว่า 60%[13] การป้องกันโรค
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|