อะดีโนไวรัส (อังกฤษ : adenovirus ในวงศ์ Adenoviridae ) เป็นไวรัส ขนาดกลาง (90–100 นาโนเมตร ) ไม่มีชั้นลิพิด หุ้มด้านนอก (nonenveloped) และมีเปลือกหุ้มวัสดุยีน คือแคปซิด (capsid) ทรงยี่สิบหน้า (icosahedral) ซึ่งบรรจุจีโนม อันเป็นดีเอ็นเอ สายคู่
ชื่อมาจากแหล่งที่ดั้งเดิมสะกัดเอาไวรัสได้คือจากทอนซิลคอหอย (adenoid) ของมนุษย์ในปี 1953[ 1]
ไวรัสมีสัตว์ถูกเบียน (host) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง มากมาย
ในมนุษย์ พบอะดีโนไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 50 เซโรไทป์ (serotype)[ A]
ที่เป็นเหตุให้เกิดโรคมากมายหลายหลาก เริ่มจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ แบบอ่อน ๆ ในเด็ก (คือหวัดธรรมดา) จนกระทั่งโรคที่มีผลต่อระบบอวัยวะหลายระบบและมีอันตรายถึงชีวิตในบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
วิทยาไวรัส
หมวดหมู่
วงศ์ไวรัสนี้มีสกุล ดังต่อไปนี้
สกุล Atadenovirus มีสปีชีส์ต้นแบบ คือ Ovine atadenovirus D เป็นไวรัสติดเชื้อในแกะ
สกุล Aviadenovirus มีสปีชีส์ต้นแบบ คือ Fowl aviadenovirus A เป็นไวรัสติดเชื้อในนก
สกุล Ichtadenovirus มีสปีชีส์ต้นแบบ คือ Sturgeon ichtadenovirus A เป็นไวรัสติดเชื้อในปลา
สกุล Mastadenovirus (รวมอะดีโนไวรัสของมนุษย์ ทั้งหมด) มีสปีชีส์ต้นแบบ คือ Human mastadenovirus C
สกุล Siadenovirus มีสปีชีส์ต้นแบบ คือ Frog siadenovirus A เป็นไวรัสติดเชื้อในกบ
ความหลากหลาย
การจัดหมวดหมู่ Adenoviridae อาจซับซ้อน
ปัจจุบันมีอะดีโนไวรัสของมนุษย์ (HAdVs ) 88 เซโรไทป์ [ A] โดยรวมอยู่ใน 7 สปีชีส์ คืออะดีโนไวรัสมนุษย์ A ถึง G )[ 5]
A : 12, 18, 31
B : 3, 7, 11, 14, 16, 21, 34, 35, 50, 55
C : 1, 2, 5, 6, 57[ 6]
D : 8, 9, 10, 13, 15, 17, 19, 20, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30, 32, 33, 36, 37, 38, 39, 42, 43, 44, 45, 46, 47, 48, 49, 51, 53, 54, 56,[ 7] 58, 59, 60, 62, 63,[ 8] 64, 65, 67, 69,[ 9] 70, 71, 72, 73, 74, 75
E : 4
F : 40, 41
G : 52[ 10]
เซโรไทป์ต่าง ๆ สัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ กัน คือ
ไวรัสเหล่านี้จัดเป็น Human mastadenovirus A-G โดยคณะกรรมการ International Committee on Taxonomy of Viruses (ICTV) เพราะทั้งหมดอยู่ในสกุล Mastadenovirus
เมื่อไม่จำกัดเพียงแค่ไวรัสในมนุษย์ วงศ์ Adenoviridae แบ่งออกเป็น 5 สกุลคือ Mastadenovirus , Aviadenovirus , Atadenovirus , Siadenovirus และ Ichtadenovirus [ 12]
โครงสร้าง
อะดีโนไวรัสเป็นไวรัสที่ไม่มีชั้นลิพิดหุ้มด้านนอก (nonenveloped) กลุ่มใหญ่ที่สุดซึ่งรู้จัก
จึงสามารถเข้าไปในเซลล์ผ่านเอนโดโซม ได้เลย (สำหรับไวรัสที่มีสิ่งหุ้ม สิ่งหุ้มจะหลอมเข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์ทำให้แคปซิดและจีโนมของไวรัสเข้าไปในเซลล์ได้)
อนุภาคไวรัสมีลักษณะพิเศษเป็นเดือยแหลม (spike) เป็นใย (fiber) ที่อยู่กับฐานรูปห้าเหลี่ยม (penton base) แต่ละฐานของแคปซิด (ดูรูปต่อไป) ที่ช่วยให้ยึดเข้ากับเซลล์ถูกเบียนผ่านหน่วยรับที่ผิวของเซลล์
(ดูหัวข้อ "การถ่ายแบบ" ด้านล่างเรื่องหน่วยรับต่าง ๆ)
ในปี 2010 นักวิทยาศาสตร์ ประกาศว่าได้ระบุโครงสร้างอะดีโนไวรัสของมนุษย์ในระดับอะตอม และได้สร้างแบบจำลอง อันละเอียดสุดเท่าที่เคยมี
ไวรัสประกอบด้วยเรซิดิว[ B]
กรดอะมิโน 1 ล้านเรซิดิว และหนักราว ๆ 150 ล้านดอลตัน (150 MDa)[ 13] [ 14]
จีโนม
ผังแสดงจีโนมของอะดีโนไวรัสซึ่งเป็นรูปเส้น แสดง Early genes (E) และ Late genes (L)
จีโนมของอะดีโนไวรัสมีรูปเส้น ไม่แบ่งส่วน เป็นดีเอ็นเอสายคู่ ยาวประมาณ 26–48 กิโลคู่เบส (Kbp)
ซึ่งโดยทฤษฎีสามารถรับรองยีนได้ 22–40 ยีน
แม้นี่จะใหญ่กว่าอย่างสำคัญเมื่อเทียบกับไวรัสอื่น ๆ ในกลุ่มบอลทิมอร์ของไวรัส แต่ก็ยังเป็นไวรัสง่าย ๆ และต้องอาศัยเซลล์ถูกเบียนอย่างมากเพื่อการอยู่รอดและถ่ายโอนยีน
ลักษณะที่น่าสนใจของจีโนมไวรัสนี้ก็คือมันมีโปรตีนหนัก 55 กิโลดอลตันที่ปลาย 5' ของดีเอ็นเอที่เป็นสายคู่เส้นตรง (linear dsDNA )
ซึ่งใช้เป็นไพรเมอร์ (primer)[ C]
สำหรับการถ่ายแบบไวรัส และเพื่อให้แน่นอนว่า ปลายจีโนมของไวรัสได้ทำซ้ำอย่างสมควร
การถ่ายแบบ
อะดีโนไวรัสมีจีโนมเป็นดีเอ็นเอนสายคู่เส้นตรง (linear dsDNA ) และสามารถถ่ายแบบซ้ำในนิวเคลียส ของเซลล์สัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยใช้กลไกถ่ายแบบของเซลล์ถูกเบียนและไม่ต้องรวมเข้ากับจีโนมของเซลล์ถูกเบียน
โครงสร้างของอะดีโนไวรัส (1) = penton capsomeres[ D] (2) = hexon capsomeres และ (3) จีโนมของไวรัส (linear dsDNA)
การเข้าไปในเซลล์ของอะดีโนไวรัสเป็นปฏิสัมพันธ์สองขั้นตอนระหว่างไวรัสกับเซลล์ถูกเบียน
ปฏิกิริยาโดยมากเกิดที่จุดยอด ๆ ของไวรัส
เริ่มด้วย knob domain ของโปรตีนที่เป็นใยไปเชื่อมเข้ากับหน่วยรับ ที่เซลล์
หน่วยรับที่เซลล์สองอย่างที่ระบุแล้วคือหน่วยรับ CD46 สำหรับไวรัสมนุษย์กลุ่ม B และหน่วยรับ coxsackievirus/adenovirus receptor (CAR) สำหรับเซโรไทป์[ A] อื่น ๆ ทั้งหมด
มีรายงานที่แสดงนัยว่าโมเลกุล major histocompatibility complex (MHC) และเรซิดิว[ B] ของ sialic acid ของเซลล์ก็ทำหน้าที่แบบนี้ด้วย
แล้วตามด้วยปฏิบัติการ ลำดับที่สอง ซึ่ง motif ของโปรตีนฐานมีห้าเหลี่ยมของไวรัสมีปฏิสัมพันธ์กับโมเลกุล integrin (ซึ่งเป็น transmembrane receptor) ที่จัดเป็นหน่วยรับร่วม (co-receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์
ปฏิสัมพันธ์กับหน่วยรับร่วม αv integrin นี้ทำให้อะดีโนไวรัสเข้าไปในเซลล์ได้
โดยการเข้ายึดกับ αv integrin มีผลเป็นกระบวนการ endocytosis คือการรับอนุภาคไวรัสเข้าไปในเซลล์ผ่านหลุมที่เคลือบด้วย clathrin (คือ clathrin-coated pits)
การเข้ายึดกับ αv integrin ยังกระตุ้นการส่งสัญญาณของเซลล์ (cell signaling) ซึ่งชักนำให้เกิดพอลิเมอไรเซชัน ของแอกติน แล้วมีผลให้อนุภาคไวรัสเข้าไปในเซลล์ภายในเอนโดโซม [ 16]
เมื่อไวรัสเข้าไปในเซลล์แล้ว เอนโดโซมก็จะกลายเป็นกรด ซึ่งเปลี่ยนโครงแบบของไวรัสโดยสลายองค์ประกอบของแคปซิด
แคปซิดที่สลายตัวก็จะปล่อยโปรตีน VI[ 17]
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้บวกกับความเป็นพิษของฐานรูปห้าเหลี่ยมก็จะทำลายเอนโดโซม เป็นการปล่อยอนุภาคไวรัสเข้าไปในไซโทพลาซึม
แล้วไวรัสก็จะขนส่งโดยอาศัยไมโครทิวบูล ในเซลล์ไปที่โปรตีนเชิงซ้อนรูนิวเคลียส (nuclear pore complex)[ E]
เป็นที่ที่อนุภาคไวรัสจะแตกแยกตัว ปล่อยดีเอ็นเอของไวรัสออกมา แล้วเข้าไปยังนิวเคลียสของเซลล์ ผ่านรูนิวเคลียส (nuclear pore)[ E] [ 19]
หลังจากนี้ ดีเอ็นเอของไวรัสก็จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลฮิสโตน
การแสดงออกของยีน ไวรัสก็จะสามารถเกิดได้โดยไม่ต้องรวมจีโนม ไวรัสเข้ากับโครโมโซม ของเซลล์ถูกเบียน แล้วสร้างอนุภาคไวรัสใหม่ ๆ ได้
วัฏจักรชีวิตของอะดีโนไวรัสจะแบ่งออกเป็นสองช่วงแยกโดยการถ่ายแบบดีเอ็นเอ คือ ช่วงต้นและช่วงท้าย
ในช่วงทั้งสอง primary transcript[ F]
จะผ่านกระบวนการ alternative splicing[ G]
เพื่อสร้างเอ็มอาร์เอ็นเอ แบบ monocistronic[ H]
ที่เข้ากับไรโบโซม ของเซลล์ถูกเบียนได้ จึงทำให้ไรโบโซมแปลรหัสเป็นผลิตภัณฑ์ของยีนไวรัสได้
ยีนช่วงต้น (early gene) แสดงออกโปรตีน ที่ไม่ใช่โครงสร้าง (non-structural) แต่ใช้ในการควบคุม (regulatory) โดยมาก
โดยมีเป้าหมาย 3 อย่าง คือ เพื่อเปลี่ยนการแสดงออกโปรตีนของเซลล์ถูกเบียนที่จำเป็นในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ
เพื่อก่อกัมมันต์ แก่ยีนของไวรัสอื่น ๆ (เช่น DNA polymerase ที่ไวรัสเข้ารหัส)
และเพื่อไม่ให้เซลล์ถูกเบียนตายเร็วเนื่องกับระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ถูกเบียน (เช่น โดยระงับกระบวนการอะพอพโทซิส ระงับไม่ให้อินเตอร์เฟียรอน ทำงาน และระงับการแสดงออกและการเคลื่อนย้ายของ MHC class I)
อะดีโนไวรัสบางอย่างในสถานการณ์พิเศษสามารถแปลงเซลล์โดยใช้ผลิตภัณฑ์ยีนช่วงต้น
เช่น โปรตีนของ adenovirus early region 1A (E1A) ซึ่งเข้ายึดกับโปรตีนระงับมะเร็งจอตา (Retinoblastoma tumor suppressor protein) ได้พบว่าทำให้เซลล์ถูกเบียนปฐมภูมิมีชีวิตต่อได้นอกกาย (in vitro) จึงทำให้โปรตีน E1B ซึ่งเชื่อมกับยีนระงับเนื้องอก p53 tumor suppressor ช่วยแปลงเซลล์ได้อย่างเสถียร
แต่ยีนเหล่านี้ต้องอาศัยกันและกันเพื่อให้เปลี่ยนเซลล์ถูกเบียนได้อย่างสำเร็จแล้วสร้างเนื้องอก
การถ่ายแบบดีเอ็นเอแบ่งเป็นช่วงต้นและปลาย
เมื่อยีนช่วงต้นได้ก่อโปรตีนไวรัส ก่อกลไกการถ่ายแบบ และก่อซับสเตรต ในการถ่ายแบบพอสมควร การถ่ายแบบจีโนมของอะดีโนไวรัสก็จะเริ่มได้
โปรตีนปลายที่ยึดด้วยพันธะโคเวเลนต์ เข้าที่ปลายด้าน 5’ ของจีโนมอะดีโนไวรัสทำหน้าที่เป็นไพรเมอร์[ C] ในการถ่ายแบบยีน
โดยเอนไซม์ไวรัสคือ DNA polymerase ก็จะใช้กลไก strand displacement (ไม่ได้ใช้กลไก Okazaki fragments ที่ใช้ในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) เพื่อถ่ายแบบจีโนมของไวรัส
ช่วงหลังของวัฏจักรชีวิตจะมุ่งผลิตโปรตีนโครงสร้างพอให้บรรจุวัสดุยีนที่ได้จากการถ่ายแบบดีเอ็นเอ
หลังจากองค์ประกอบไวรัสได้ทำขึ้นพอแล้ว ก็จะบรรจุใส่โปรตีนที่เป็นเปลือกหุ้มแล้วออกจากเซลล์หลังจากชักนำให้เซลล์สลายตัว (lysis)
Multiplicity reactivation
อะดีโนไวรัสสามารถรวมตัวขึ้นมาใหม่อาศัยกระบวนการ multiplicity reactivation (MR)[ 23]
เป็นกระบวนการที่จีโนมไวรัสสองตัวหรือยิ่งกว่าที่เกิดความเสียหายจนแพร่พันธุ์ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ภายในเซลล์ถูกเบียนแล้วสร้างจีโนมไวรัสใหม่ที่แพร่พันธุ์ต่อไปได้
กระบวนการ MR นี้ ได้พบในอะดีโนไวรัสเซโรไทป์ 12 หลังจากอนุภาคไวรัสฉายแล้วด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต แล้วปล่อยให้เซลล์ถูกเบียนติดเชื้อหลายครั้ง[ 23]
งานทบทวนวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ ยังแสดงตัวอย่าง MR ในไวรัสต่าง ๆ จึงได้เสนอว่า MR เป็นปฏิสัมพันธ์ทางเพศที่สามัญอย่างหนึ่งซึ่งให้ความได้เปรียบในการรอดชีวิตเพราะช่วยซ่อมความเสียหายต่อจีโนมด้วยการผสมยีน[ 24]
วิทยาการระบาด
การแพร่เชื้อ
อะดีโนไวรัสปกติจะทนต่อสารเคมี สิ่งแวดล้อม และความเป็นกรด ต่าง ๆ จึงสามารถรอดชีวิตอยู่นอกร่างกายและนอกน้ำได้นาน
โดยหลักจะแพร่กระจายไปตามหยดน้ำจากทางเดินหายใจ แต่ก็สามารถกระจายไปทางอุจจาระ ได้
งานวิจัยในเรื่องกลไกทางอณูชีวภาพของการแพร่เชื้อได้ให้หลักฐานเชิงประสบการณ์ เพื่อสนับสนุนสมมติฐาน ว่า
หน่วยรับที่ผิวเซลล์ coxsackievirus/adenovirus receptor (CAR) จำเป็นเพื่อขนส่งอะดีโนไวรัสไข้าไปในเซลล์แบบ naive/progenitor บางชนิด[ 25]
มนุษย์
มนุษย์ที่ติดเชื้ออะดีโนไวรัสจะตอบสนองในหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ไม่มีอาการอะไรเลย จนถึงติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ปกติพบในอะดีโนไวรัสเซโรไทป์ 14
สัตว์ต่าง ๆ
อะดีโนไวรัส คือ bat adenovirus TJM (Bt-AdV-TJM) เป็นสปีชีสใหม่ในสกุล Mastadenovirus ที่ได้ตัวอย่างจากค้างคาว Myotis [ I]
และ Scotophilus kuhlii [ J]
ในประเทศจีน
ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดที่สุดกับอะดีโนไวรัสของกระแต และสุนัข [ 27]
อะดีโนไวรัสของสุนัขสองชนิดรู้จักกันดีคือชนิดที่ 1 และ 2 ชนิดที่ 1 (Canine adenovirus 1 ตัวย่อ CAdV-1) ทำให้เกิดโรคตับสุนัขแบบแพร่เชื้อ (infectious canine hepatitis) ซึ่งอาจทำให้ถึงตายโดยมีอาการเป็นเส้นเลือดอักเสบ (vasculitis) และตับอักเสบ
และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อทางลมหายใจหรือที่ตา
ชนิดนี้ยังติดหมาจิ้งจอก (หมาจิ้งจอกแดง และหมาจิ้งจอกอาร์กติก ) โดยอาจก่อตับอักเสบและสมองอักเสบ
ส่วนชนิดที่ 2 (CAdV-2) อาจเป็นเหตุของโรค kennel cough (โรคไอในคอกสุนัข)
วัคซีนหลัก ๆ สำหรับสุนัขรวมวัคซีนไวรัส CAdV-2 เป็น ๆ แต่ลดฤทธิ์ โดยสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทั้ง CAdV-1 และ CAdV-2
ก่อนนี้ ไวรัส CAdV-1 ก็ใช้เป็นวัคซีนด้วยแต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนสามัญคือ กระจกตาบวมน้ำ (corneal edema)[ 28]
อะดีโนไวรัสของกระรอก (SqAdV) รายงานว่าก่อลำไส้เล็กอักเสบในกระรอกแดงในยุโรป แต่กระรอกเทาดูเหมือนจะมีภูมิต้านทาน
SqAdV เป็นญาติใกล้ชิดกับอะดีโนไวรัสของหนูตะเภา (GpAdV)
อะดีโนไวรัสในสัตว์เลื้อยคลาน (Agamid Adenovirus) ไม่ค่อยมีข้อมูล แต่ก็มีงานวิจัยอยู่ในปัจจุบัน
อะดีโนไวรัสรู้ว่าทำให้ม้า วัวควาย หมู และแพะ ติดเชื้อทางลมหายใจ
ประเภท Equine adenovirus 1 ทำให้เกิดโรคถึงตายในลูกม้าอาหรับที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โดยก่อปอดบวมและทำลายเนื้อเยื่อ ตับอ่อน และต่อมน้ำลาย [ 28]
Tupaia adenovirus (tree shrew adenovirus 1, TAV) ได้ตัวอย่างมาจากกระแต
ส่วน Otarine adenovirus 1 ได้ตัวอย่างมาจากสิงโตทะเล แคลิฟอร์เนีย[ 29]
อะดีโนไวรัสจากสัตว์ปีกเลี้ยงสัมพันธ์กับโรคสัตว์ปีกเลี้ยงมากมาย เช่น ตับอักเสบที่มีอินคลูชั่นบอดี้ (inclusion body hepatitis), ภาวะถุงหุ้มหัวใจมีน้ำ (hydropericardium syndrome)[ 30] ,
โรคไข่นิ่ม (Egg drop syndrome), Quail bronchitis, กระเพาะบดมีแผลลอกหลุด (Gizzard erosions) และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ
โดยยังได้ตัวอย่างมาจากเหยี่ยวดำ ป่า (Milvus migrans ) อีกด้วย[ 31]
อะดีโนไวรัสลิงได้จากลิงอเมริกาใต้คือ Titi monkey[ 32]
การป้องกัน
ปัจจุบัน มีแต่วัคซีนป้องกันอะดีโนไวรัสเซโรไทป์ 4 และ 7 สำหรับทหารสหรัฐเท่านั้น
ที่เฉพาะสำหรับทหารก็เพราะมีความเสี่ยงติดเชื้อสูงสุด
เป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็น ๆ ซึ่งอาจกระจายไปตามอุจจาระ และสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่อนุมัติให้ใช้กับคนทั่วไป
วัคซีนนี้ไม่ได้อนุมัติให้ใช้นอกจากทหาร เพราะไม่มีงานศึกษาที่ทำกับคนทั่วไปหรือกับคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ[ 33]
ในอดีต ทหารใหม่ของกองทัพสหรัฐได้วัคซีนต่อต้านอะดีโนไวรัสสองเซโรไทป์ จึงป่วยเป็นโรคที่สัมพันธ์กับเซโรไทป์เหล่านั้นน้อยลง
แต่ผู้ผลิตก็ไม่ทำวัคซีนเหล่านี้อีกต่อไป
การป้องกันการติดเชื้ออะดีโนไวรัสและโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ รวมการล้างมือ บ่อย ๆ ให้มากกว่า 20 วินาที ไม่แตะตา หน้า หรือจมูก ด้วยมือ ที่ไม่ได้ล้าง และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับบุคคลที่มีอาการติดเชื้ออะดีโนไวรัส
คนที่มีอาการติดเชื้อยังแนะนำให้ไอหรือจามเข้าในแขน หรือข้อศอก แทนในมือ อย่าร่วมใช้ถ้วยและอุปกรณ์การกิน และหลีกเลี่ยงจูบ คนอื่น
การใส่คลอรีน ในสระว่ายน้ำ สามารถป้องกันการระบาดโรคเยื่อตาอักเสบ เหตุอะดีโนไวรัสได้[ 33]
วินิจฉัย
โรคจะวินิจฉัยจากอาการและประวัติ
โดยจะทดสอบตรวจเพิ่มก็ต่อเมื่ออาการรุนแรง
การทดสอบตรวจเพิ่มรวมการตรวจเลือด การป้ายกวาดตรวจสารคัดหลั่งที่ตา จมูก และคอ การตรวจอุจจาระ และการเอกซเรย์ปอด [ 34]
ในห้องปฏิบัติการ อะดีโนไวรัสระบุได้โดยตรวจแอนติเจน ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR ) การแยกไวรัส และการตรวจทางวิทยาเซรุ่ม
ซึ่งแม้จะพบอะดีโนไวรัส แต่ก็อาจไม่ใช่เหตุของอาการ
คนไข้มีภูมิอ่อนแอบางคนอาจกระจายไวรัสเป็นสัปดาห์ ๆ โดยไม่มีอาการอะไร[ 35]
การติดเชื้อ
การติดเชื้ออะดีโนไวรัสโดยมากเป็นการติดเชื้อทางเดินลมหายใจด้านบน
มักมีอาการเป็นเยื่อตาอักเสบ ทอนซิลอักเสบ (ซึ่งอาจเหมือนกับคอหอยอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ทุกอย่างโดยไม่สามารถแยกแยะได้ยกเว้นตรวจเชื้อ) การติดเชื้อในหู หรือกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup)
อะดีโนไวรัสเซโรไทป์ 40 และ 41 ยังอาจเป็นเหตุแก่กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ [ 36]
การมีทั้งเยื่อตาอักเสบและทอนซิลอักเสบสามัญเป็นพิเศษในการติดเชื้ออะดีโนไวรัส
เด็กบางคน (โดยเฉพาะที่อายุน้อยสุด) สามารถเกิดหลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม เหตุอะดีโนไวรัส ได้ โดยทั้งสองอาจมีอาการรุนแรง
ในทารก อะดีโนไวรัสอาจทำให้ไออย่างรุนแรงเหมือนกับโรคไอกรน เลย
อะดีโนไวรัสยังอาจก่อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบ
และน้อยครั้ง อาจก่อกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบตกเลือด (hemorrhagic cystitis)
คนโดยมากฟื้นสภาพจากการติดเชื้ออะดีโนไวรัสเอง แต่คนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องบางครั้งอาจเสียชีวิต คนสุขภาพดีก็พบเสียชีวิตเหมือนกันแต่น้อยครั้ง[ 37]
ซึ่งอาจเป็นเพราะการติดเชื้ออะดีโนไวรัสบางครั้งทำให้เกิดโรคหัวใจ
ตัวอย่างเช่น ในงานศึกษาหนึ่ง คนไข้บางคนที่มีอาการ dilated cardiomyopathy[ K]
ได้ตรวจพบอะดีโนไวรัสเซโรไทป์ 8[ 38]
อะดีโนไวรัสมักจะแพร่ไปตามเสมหะ/น้ำลาย แต่ก็อาจติดเมื่อสัมผัสบุคคลที่ติดเชื้อ หรือติดจากอนุภาคไวรัสที่เหลืออยู่บนสิ่งต่าง ๆ เช่น ผ้าเช็ดตัวหรือก๊อกน้ำ
ผู้ที่มีโรคกระเพาะอักเสบเหตุอะดีโนไวรัสอาจกระจายไวรัสในอุจจาระเป็นเดือน ๆ ก่อนจะหายดี
ไวรัสอาจจะไปตามน้ำในสระน้ำถ้าไม่ใส่คลอรีนพอ
เหมือนกับโรคหลายอย่างอื่น ๆ การล้างมือให้สะอาดเป็นวิธีหนึ่งในการยับยั้งการแพร่เชื้อ
ความร้อนและน้ำยาฟอกขาวสามารถฆ่าไวรัสบนวัตถุต่าง ๆ ได้[ 39]
การรักษา
ยังไม่มียาต้านไวรัสที่พิสูจน์ว่ารักษาการติดเชื้ออะดีโนไวรัสได้ ดังนั้น การรักษาปกติจะมุ่งแก้อาการต่าง ๆ (เช่น ให้พาราเซตามอล เมื่อเป็นไข้ )
ยาต้านไวรัสคือ cidofovir ได้ช่วยคนไข้อาการหนักบางคน
แต่จำนวนคนไข้ที่ช่วย ช่วยแค่ไหน ช่วยภาวะแทรกซ้อนหรืออาการอะไร เมื่อไรและที่ไหนที่เกิด ก็ไม่ได้กล่าวไว้[ 40]
หมออาจให้ยาหยอดตาปฏิชีวนะเพื่อแก้เยื่อตาอักเสบ เมื่อกำลังรอผลเพาะเชื้อโรค และเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นต่างหาก
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนอะดีโนไวรัสสำหรับบุคคลทั่วไป แต่วัคซีนสำหรับไวรัสเซโรไทป์ 4 และ 7 เคยมีสำหรับทหารสหรัฐ
การใช้ในยีนบำบัดและวัคซีน
ยีนบำบัด
อะดีโนไวรัสเป็นเวกเตอร์ไวรัส ที่นิยมสำหรับยีนบำบัด เป็นเวลานานเพราะสามารถติดเซลล์ทั้งที่แบ่งตัวและไม่แบ่งตัว มีจีโนม ใหญ่พอรองรับยีนที่ต้องการจะผสม (transgene) และสามารถสร้างโปรตีน โดยไม่รวมเข้ากับจีโนม ของเซลล์ถูกเบียน[ 41]
โดยเฉพาะก็คือ ไวรัสสามารถใช้เป็นพาหะในวิธีการรักษามะเร็งที่เรียกว่า targeted therapy[ L] [ 43]
ในรูปแบบของดีเอ็นเอลูกผสม (recombinant DNA) หรือโปรตีนลูกผสม (recombinant protein)
วิธีนี้มีประโยชน์เป็นพิเศษในการรักษาโรคเหตุยีนเดียว (monogenic เช่น ซิสติกไฟโบรซิส , X-linked severe combined immunodeficiency , Alpha 1-antitrypsin deficiency) และมะเร็ง [ 41]
ประเทศจีน ได้อนุมัติให้ใช้อะดีโนไวรัสสลายเนื้องอก (oncolytic adenovirus) เพื่อรักษามะเร็ง[ 44]
โปรตีนใย (fibre protein) จะดัดแปลงโดยเฉพาะ ๆ เพื่อเล็งอะดีโนไวรัสไปที่เซลล์เป้าหมายโดยเฉพาะ[ 45]
โดยความพยายามหลักอย่างหนึ่งก็คือจำกัดความเป็นพิษต่อตับและป้องกันอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว
อะดีโนไวรัสทรงสิบสองหน้า (dodecahedron) อาจเป็นวิธีการส่งแอนติเจน แปลกปลอมเข้าไปยัง myeloid dendritic cells (MDC)
ที่ดี โดย MDC ก็จะแสดงแอนติเจนให้กับลิมโฟไซต์ แบบ M1-specific CD8+ T อย่างมีประสิทธิภาพ[ 46]
อะดีโนไวรัสได้ใช้ส่งระบบการตัดต่อยีนคือ CRISPR /Cas9 gene editing systems แต่การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างเข้มแข็งต่อการติดเชื้อไวรัสก็เป็นอุปสรรคในการใช้กับคนไข้
ดูเหมือนว่า การใช้ adeno-associated virus (AAV) ซึ่งเป็นไวรัสต่างประเภทกัน จะมีอนาคตในการแก้ปัญหาการก่อภูมิคุ้มกัน แม้จะสามารถบรรจุยีนที่ต้องการได้น้อยกว่า[ 41]
วัคซีน
เวกเตอร์อะดีโนไวรัสแบบแปลง/ลูกผสม (recombinant) รวมทั้งแบบขยายพันธุ์ต่อไม่ได้ (replication incompetent) โดยทฤษฎีสามารถใช้ส่งรหัสดีเอ็นเอสำหรับแอนติเจน หนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ ๆ แต่จนกระทั่งถึงเดือนพฤษภาคม 2020 เมื่อกล่าวถึงการใช้เป็นวัคซีนโควิด-19 นักวิชาการคนหนึ่งยังสรุปว่า "ยังไม่สามารถให้ผลผลิตเป็นวัคซีนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพได้"[ 47]
วัคซีนอะดีโนไวรัสชนิด 5 ลูกผสม (Ad5-nCoV [ 48] ,
ImmunityBio, UQ-CSL V451)
และชนิด 26 (Ad26.COV2.S ) ต่างก็กำลังวิจัยเป็นวัคซีนโควิด-19 [ 49]
ส่วนวัคซีน Gam-COVID-Vac (หรือสปุตนิกวี ของรัสเซีย) เป็นนวัตกรรมใหม่เพราะใช้อะดีโนไวรัสชนิดที่ 26 ในการฉีดครั้งแรกวันแรก แล้วใช้วัคซีนชนิดที่ 5 ในการฉีดครั้งที่ 2 ในวันที่ 21[ 49]
"ในวัคซีนโควิด-19 แคนดิเดต 4 อย่าง Ad5 ได้ใช้เป็นเวกเตอร์ ในการส่งยีนโปรตีนผิวของไวรัส SARS-CoV-2 "[ 50]
เป้าหมายก็คือเพื่อให้เซลล์แสดงออกยีนไกลโคโปรตีน แบบ spike ของไวรัสโควิด-19
วัคซีนที่ใช้เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัสของชิมแปนซีที่ขยายพันธุ์ไม่ได้ (ChAdOx1 ) ก็กำลังทดลองใช้เป็นวัคซีนโควิด-19 ด้วย[ 51]
โดยเรียกว่า ChAdOx1 nCoV-19 (มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด) หรือ AZD1222 (บริษัทแอสตราเซเนกา )
วัคซีนอีกอย่างก็คือ ChAd-SARS-CoV-2-S ซึ่งได้รายงานว่าป้องกันหนูไม่ให้ติดไวรัสโควิด-19 เป็นหนูที่ได้แปลงพันธุกรรมให้มีหน่วยรับ แบบ ACE2 ของมนุษย์ (hACE2) ซึ่งเป็นหน่วยรับที่เชื่อว่าทำให้ไวรัสเข้าไปในเซลล์ได้[ 52] [ 53]
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้วัคซีนมีอะดีโนไวรัสเป็นเวกเตอร์ก็คือ มนุษย์อาจสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเวกเตอร์เอง แล้วทำให้วัคซีนโดสที่สองไม่ได้ผล[ 54]
ในบางกรณี คนที่มีภูมิต้านทานต่ออะดีโนไวรัส อยู่แล้ว ก็จะทำให้วัคซีนไม่ได้ผลเลย[ 55]
การใช้วัคซีนมี Ad5 เป็นเวกเตอร์สำหรับโควิด-19 ยังก่อความกังวลแก่นักวิจัยที่ทดลองวัคซีน Ad5 แล้วล้มเหลว เพราะวัคซีนได้เพิ่มโอกาสติดไวรัส HIV-1 แก่คนไข้ชายบางกลุ่ม[ 56]
ในเดือนตุลาคม 2020 นักวิจัยเหล่านี้ถึงได้กับตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนซิต ว่า "อาศัยข้อค้นพบเหล่านี้ พวกเราเป็นห่วงว่า การใช้เวกเตอร์ Ad5 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อ SARS-CoV-2 อาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV-1 ในบรรดาชายที่ได้รับวัคซีนนี้เช่นกัน"[ 57] [ 58]
ในนัยกลับกัน บทความในวารสารวิทยาศาสตร์ ไซเอินซ์ รายงานว่า ประเทศจีน ได้อนุมัติวัคซีนอีโบลาที่ใช้เวกเตอร์ Ad5
วัคซีนเป็นของบริษัทจีนคือ CanSino Biologics และได้ทดสอบในประเทศเซียร์ราลีโอน ซึ่งมีความชุก เอชไอวี สูง ซึ่งควรทำให้ปัญหาเยี่ยงนี้ปรากฏได้ง่าย
แต่ประธานบริหาร ของบริษัทก็กล่าวว่า บริษัทไม่เห็นอะไรผิดปกติกับวัคซีนอีโบลาของบริษัท และคาดว่า การไวติดเชื้อเอชไอวีอาจจำกัดกับวัคซีน Ad5 ที่สร้างโปรตีนของเอชไอวี
อนึ่ง ในรายงานที่ตีพิมพ์ในเดอะแลนซิต เช่นกันในเดือนพฤษภาคม นักวิจัยของบริษัทยอมรับว่ามีข้อกังวลซึ่งยัง "เป็นเรื่องโต้เถียงกันอยู่" นี้ และตนจะระวังเมื่อทดสอบวัคซีนโควิด-19 (Ad5-nCoV) ของบริษัท[ 50] [ 48]
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 1.2 เซโรไทป์ (อังกฤษ : serotype, serovar ) เป็นรูปแบบต่าง ๆ กันของแบคทีเรีย หรือไวรัส สปีชีส์ หนึ่ง ๆ หรือเซลล์ภูมิคุ้มกันต่อต้านแบคทีเรียหรือไวรัสหนึ่ง ๆ
จุลชีพ ไวรัส หรือเซลล์เหล่านี้จัดเข้าหมวดด้วยกันโดยอาศัยแอนติเจน ซึ่งอยู่ที่ผิว เป็นการจัดหมวดหมู่ตามวิทยาการระบาด ในระดับต่ำกว่าสปีชีส์ [ 2] [ 3] [ 4]
↑ 2.0 2.1 สำหรับโปรตีน มอนอเมอร์ กรดอะมิโน หน่วยหนึ่งอาจเรียกว่า เรซิดิว (อังกฤษ : residue ) เพื่อระบุว่าเป็นหน่วยที่มีซ้ำ ๆ ในพอลิเมอร์
↑ 3.0 3.1 ไพรเมอร์ (อังกฤษ : primer ) เป็นสายกรดนิวคลีอิกเส้นเดี่ยวที่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต ทั้งหมด
เพราะเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ถ่ายแบบดีเอ็นเอ คือ DNA polymerase สามารถเพียงแค่เติมนิวคลีโอไทด์ ใหม่ ๆ เข้าที่ปลาย 3' ของกรดนิวคลีอิก ที่มีอยู่แล้ว จึงต้องมีไพรเมอร์ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกอยู่ที่แบบดีเอ็นเอก่อนจะสามารถเริ่มสร้างสายดีเอ็นเอที่คู่กัน
↑ แคปโซเมียร์ (อังกฤษ : capsomere ) เป็นหน่วยย่อยของแคปซิด (capsid) เป็นตัวปกคลุมด้านนอกของโปรตีนที่ป้องกันยีนของไวรัส แคปโซเมียร์จะรวมตัวเป็นแคปซิด[ 15]
↑ 5.0 5.1 รูนิวเคลียส (อังกฤษ : nuclear pore ) เป็นคอมเพล็กซ์โปรตีนขนาดใหญ่ซึ่งทอดข้ามเยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) อันเป็นเยื่อสองชั้นรอบ ๆ นิวเคลียสของเซลล์ยูแคริโอต
เยื่อหุ้มนิวเคลียสของเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉลี่ยจะมีคอมเพล็กซ์รูนิวเคลียส (อังกฤษ : nuclear pore complex ตัวย่อ NPC) 2,000 ช่อง แต่ก็ต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับชนิดเซลล์และกับช่วงชีวิตของเซลล์[ 18]
↑ primary transcript เป็นอาร์เอ็นเอ สายเดี่ยวที่สังเคราะห์จากการถอดรหัส ดีเอ็นเอ แล้วผ่านกระบวนต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาร์เอ็นเอต่าง ๆ รวมทั้ง mRNA , tRNA และ rRNA
↑ alternative splicing หรือ differential splicing เป็นกระบวนการ RNA splicing ทางเลือกในช่วงการแสดงออกของยีน ที่ทำให้ยีน เดี่ยว ๆ สามารถเข้ารหัสโปรตีนได้หลายอย่าง
ในกระบวนการนี้ exon ของยีนโดยเฉพาะ ๆ อาจรวมเข้าหรือคัดออกจากผลิตภัณฑ์คือเอ็มอาร์เอ็นเอที่ทำมาจากยีนนั้น ๆ[ 20]
ดังนั้น โปรตีนที่แปลรหัสจากเอ็มอาร์เอ็นเอที่ได้จากกระบวนการนี้อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จะมีลำดับกรดอะมิโนที่ต่างกันกับที่ได้จากกระบวนการ splicing อื่น ๆ และมักจะมีหน้าที่ทางชีวภาพต่างกัน
กระบวนการนี้จึงทำให้จีโนมมนุษย์ สามารถใช้สังเคราะห์โปรตีนมากชนิดยิ่งกว่าที่จะคาดได้จากยีนที่เข้ารหัสโปรตีนเพียง 20,000 ชนิด
↑ โมเลกุลเอ็มอาร์เอ็นเอ หนึ่ง ๆ จัดว่าเป็น monocistronic ต่อเมื่อมันมีข้อมูลยีนให้แปลรหัสเป็นโซ่โปรตีน (polypeptide ) เพียงอย่างเดียว
ซึ่งก็เป็นเช่นนี้สำหรับเอ็มอาร์เอ็นเอของเซลล์ยูแคริโอต โดยมาก[ 21] [ 22]
↑ ค้างคาว Myotis หรือ mouse-eared bat (ค้างคาวหูหนู) เป็นสกุลค้างคาวในวงศ์ Vespertilionidae ที่มีสมาชิกหลากหลากและอยู่อย่างกว้างขวาง
↑ lesser Asiatic yellow bat (ค้างคาวเพดานเล็ก, Scotophilus kuhlii ) เป็นสปีชีส์ ค้างคาวในวงศ์ Vespertilionidae ที่พบในประเทศบังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และไต้หวัน [ 26]
↑ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นภาวะที่หัวใจโตและไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งอาจมีผลต่อปอด ตับ และระบบในร่างกายอื่น ๆ
↑ targeted therapy หรือ molecularly targeted therapy เป็นวิธีหลักอย่างหนึ่งในการรักษามะเร็งด้วยยา วิธีอื่น ๆ รวมฮอร์โมนบำบัดและเคมีบำบัด ที่เป็นพิษต่อเซลล์
เป็นยาในสาขา molecular medicine การบำบัดจะยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยขัดขวางโมเลกุลเป้าหมายหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะที่จำเป็นในการก่อมะเร็งและการเติบโตของเนื้องอก[ 42]
ไม่ได้ขัดขวางการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วทั้งหมดเหมือนกับเคมีบำบัดทั่วไป
อ้างอิง
↑ Rowe, WP; Huebner, RJ; Gilmore, LK; Parrott, RH; Ward, TG (December 1953). "Isolation of a cytopathogenic agent from human adenoids undergoing spontaneous degeneration in tissue culture". Proceedings of the Society for Experimental Biology and Medicine . 84 (3): 570–3. doi :10.3181/00379727-84-20714 . PMID 13134217 . S2CID 3097955 .
↑
Baron, EJ (1996). Baron, S; และคณะ (บ.ก.). Classification . Baron's Medical Microbiology (4th ed.). Univ of Texas Medical Branch. ISBN 0-9631172-1-1 .
↑
Ryan, KJ; Ray, CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. ISBN 0-8385-8529-9 .
↑
"serovar" . The American Heritage Medical Dictionary . Houghton Mifflin Company. 2007.
↑ Dhingra, Akshay; Hage, Elias; Ganzenmueller, Tina; Böttcher, Sindy; Hofmann, Jörg; Hamprecht, Klaus; Obermeier, Patrick; Rath, Barbara; Hausmann, Fabian; Dobner, Thomas; Heim, Albert (2019-01-31). "Molecular Evolution of Human Adenovirus (HAdV) Species C" . Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 9 (1): 1039. doi :10.1038/s41598-018-37249-4 . ISSN 2045-2322 .
↑ Walsh, MP; Seto, J; Liu, EB; Dehghan, S; Hudson, NR; Lukashev, AN; Ivanova, O; Chodosh, J; Dyer, DW; Jones, MS; Seto, D (October 2011). "Computational analysis of two species C human adenoviruses provides evidence of a novel virus" . Journal of Clinical Microbiology . 49 (10): 3482–90. doi :10.1128/JCM.00156-11 . PMC 3187342 . PMID 21849694 .
↑ Robinson, CM; Singh, G; Henquell, C; Walsh, MP; Peigue-Lafeuille, H; Seto, D; Jones, MS; Dyer, DW; Chodosh, J (January 2011). "Computational analysis and identification of an emergent human adenovirus pathogen implicated in a respiratory fatality" . Virology . 409 (2): 141–7. doi :10.1016/j.virol.2010.10.020 . PMC 3006489 . PMID 21056888 .
↑ Singh, G; Robinson, CM; Dehghan, S; Schmidt, T; Seto, D; Jones, MS; Dyer, DW; Chodosh, J (February 2012). "Overreliance on the hexon gene, leading to misclassification of human adenoviruses" . Journal of Virology . 86 (8): 4693–5. doi :10.1128/jvi.06969-11 . PMC 3318657 . PMID 22301156 .
↑ Singh, G; Zhou, X; Lee, JY; Yousuf, MA; Ramke, M; Ismail, AM; Lee, JS; Robinson, CM; Seto, D; Dyer, DW; Jones, MS; Rajaiya, J; Chodosh, J (November 2015). "Recombination of the Epsilon Determinant and Corneal Tropism: Human Adenovirus Species D Types 15, 29, 56, and 69" . Virology . 485 : 452–459. doi :10.1016/j.virol.2015.08.018 . PMC 4619159 . PMID 26343864 .
↑ Jones, MS; Harrach, B; Ganac, RD; Gozum, MM; WP, Dela Cruz; Riedel, B; Pan, C; Delwart, EL; Schnurr, DP (June 2007). "New adenovirus species found in a patient presenting with gastroenteritis" . Journal of Virology . 81 (11): 5978–84. doi :10.1128/JVI.02650-06 . PMC 1900323 . PMID 17360747 .
↑ Voss, JD; Atkinson, RL; Dhurandhar, NV (November 2015). "Role of adenoviruses in obesity" . Reviews in Medical Virology . 25 (6): 379–87. doi :10.1002/rmv.1852 . PMID 26352001 .
↑ Martin, Malcolm A.; Knipe, David M.; Fields, Bernard N.; Howley, Peter M.; Griffin, Diane; Lamb, Robert (2007). Fields' virology . Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 2395 . ISBN 978-0-7817-6060-7 .
↑
"Scientists Unveil Structure of Adenovirus, the Largest High-Resolution Complex Ever Found" . Science Daily. August 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30 .
↑
Harrison, SC (August 2010). "Virology. Looking inside adenovirus". Science . 329 (5995): 1026–7. Bibcode :2010Sci...329.1026H . doi :10.1126/science.1194922 . PMID 20798308 . S2CID 206528739 .
↑ Weeks, Benjamin S (2012). Alcamo's Microbes and Society . Jones & Bartlett. pp. 113 . ISBN 978-0-7637-9064-6 .
↑ Wu, E; Nemerow, GR (April 2004). "Virus yoga: the role of flexibility in virus host cell recognition" . Trends in Microbiology . 12 (4): 162–9. doi :10.1016/j.tim.2004.02.005 . PMID 15051066 .
↑ Flint, Jane; Skalka, Anna Marie; Rall, Glenn F.; Racaniello, Vincent R. (2015). Principles of Virology . Vol. Volume I: Molecular Biology. doi :10.1128/9781555818951 . ISBN 9781555819330 .
↑ Maul, Gerd G; Deaven, Larry (June 1977). "Quantitative Determination of Nuclear Pore Complexes in Cycling Cells with Differing DNA Content" (PDF) . Journal of Cell Biology . 73 (3): 748–760. doi :10.1083/jcb.73.3.748 . eISSN 1540-8140 . PMID 406262 . สืบค้นเมื่อ 12 December 2014 .
↑ Meier, O; Greber, UF (February 2004). "Adenovirus endocytosis". The Journal of Gene Medicine . 6 Suppl 1 (Suppl 1): S152-63. doi :10.1002/jgm.553 . PMID 14978758 .
↑ Black, Douglas L. (2003). "Mechanisms of alternative pre-messenger RNA splicing". Annual Review of Biochemistry . 72 (1): 291–336. doi :10.1146/annurev.biochem.72.121801.161720 . PMID 12626338 .
↑
Kozak, M. (March 1983). "Comparison of initiation of protein synthesis in procaryotes, eucaryotes, and organelles" . Microbiological Reviews . 47 (1): 1–45. PMC 281560 . PMID 6343825 .
↑
Niehrs C; Pollet N (December 1999). "Synexpression groups in eukaryotes". Nature . 402 (6761): 483–7. doi :10.1038/990025 . PMID 10591207 .
↑ 23.0 23.1 Yamamoto, H; Shimojo, H (August 1971). "Multiplicity reactivation of human adenovirus type 12 and simian virus 40 irradiated by ultraviolet light". Virology . 45 (2): 529–31. doi :10.1016/0042-6822(71)90355-2 . PMID 4328814 .
↑ Michod, RE; Bernstein, H; Nedelcu, AM (May 2008). "Adaptive value of sex in microbial pathogens" (PDF) . Infection, Genetics and Evolution . 8 (3): 267–85. doi :10.1016/j.meegid.2008.01.002 . PMID 18295550 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2020-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-01-19 .
↑ Wan, Y. Y.; Leon, R. P.; Marks, R.; Cham, C. M.; Schaack, J.; Gajewski, T. F.; DeGregori, J. (2000). "Transgenic expression of the coxsackie/adenovirus receptor enables adenoviral-mediated gene delivery in naive T cells". Proceedings of the National Academy of Sciences . 97 (25): 13784–13789. doi :10.1073/pnas.250356297 . ISSN 0027-8424 .
↑ Chen, LH; Wu, ZQ; Hu, YF; Yang, F; Yang, J; Jin, Q (June 2012). "[Genetic diversity of adenoviruses in bats of China]". Bing du Xue Bao = Chinese Journal of Virology . 28 (4): 403–8. PMID 22978165 .
↑ Li, Y; Ge, X; Zhang, H; Zhou, P; Zhu, Y; Zhang, Y; Yuan, J; Wang, LF; Shi, Z (April 2010). "Host range, prevalence, and genetic diversity of adenoviruses in bats" . Journal of Virology . 84 (8): 3889–97. doi :10.1128/JVI.02497-09 . PMC 2849498 . PMID 20089640 .
↑ 28.0 28.1 Fenner, Frank J.; Gibbs, E. Paul J.; Murphy, Frederick A.; Rott, Rudolph; Studdert, Michael J.; White, David O. (1993). Veterinary Virology (2nd ed.) . Academic Press, Inc. ISBN 978-0-12-253056-2 .
↑ Goldstein, T; Colegrove, KM; Hanson, M; Gulland, FM (May 2011). "Isolation of a novel adenovirus from California sea lions Zalophus californianus". Diseases of Aquatic Organisms . 94 (3): 243–8. doi :10.3354/dao02321 . PMID 21790072 .
↑ "Inclusion Body Hepatitis and Hepatitis Hydropericardium Syndrome in Poultry - Poultry" . Veterinary Manual (ภาษาอังกฤษ).
↑ Kumar, R; Kumar, V; Asthana, M; Shukla, SK; Chandra, R (January 2010). "Isolation and identification of a fowl adenovirus from wild Black Kites (Milvus migrans)". Journal of Wildlife Diseases . 46 (1): 272–6. doi :10.7589/0090-3558-46.1.272 . PMID 20090043 .
↑ Chen, EC; Yagi, S; Kelly, KR; Mendoza, SP; Tarara, RP; Canfield, DR; Maninger, N; Rosenthal, A; Spinner, A; Bales, KL; Schnurr, DP; Lerche, NW; Chiu, CY (July 2011). Nemerow, GR (บ.ก.). "Cross-species transmission of a novel adenovirus associated with a fulminant pneumonia outbreak in a new world monkey colony" . PLOS Pathogens . 7 (7): e1002155. doi :10.1371/journal.ppat.1002155 . PMC 3136464 . PMID 21779173 .
↑ 33.0 33.1 "Adenovirus | Prevention and Treatment | CDC" . 2019-09-03.
↑ "Default - Stanford Children's Health" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-04-03. สืบค้นเมื่อ 2021-01-19 .
↑ "Adenovirus | Clinical Diagnosis | CDC" . 2019-08-29.
↑ Wadell G.; และคณะ (1987). Whelan, Julie; Bock, Gregory (บ.ก.). Novel diarrhoea viruses . New York: Wiley. p. 63 . ISBN 978-0-471-91094-7 .
↑ Amy Burkholder (2007-12-19). "A killer cold? Even the healthy may be vulnerable" . CNN . สืบค้นเมื่อ 2007-12-19 .
↑ Hosseini, SM; Mirhosseini, SM; Taghian, M; Salehi, M; Farahani, MM; Bakhtiari, F; Ghasemi-Pirbaluti, M; Motaghi, E (October 2018). "First evidence of the presence of adenovirus type 8 in myocardium of patients with severe idiopathic dilated cardiomyopathy". Archives of Virology . 163 (10): 2895–2897. doi :10.1007/s00705-018-3942-3 . PMID 30022238 . S2CID 49870344 .
↑ "Chemical Disinfectants, Guideline for Disinfection and Sterilization in Healthcare Facilities" . National Center for Emerging and Zoonotic Infectious Diseases. 2008. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30 .
↑ Fox, Maggie (2018-01-28). "Adenovirus looks like flu, acts like flu, but it's not influenza" . NBC News.
↑ 41.0 41.1 41.2 Lee, CS; Bishop, ES; Zhang, R; Yu, X; Farina, EM; Yan, S; Zhao, C; Zheng, Z; Shu, Y; Wu, X; Lei, J; Li, Y; Zhang, W; Yang, C; Wu, K; Wu, Y; Ho, S; Athiviraham, A; Lee, MJ; Wolf, JM; Reid, RR; He, TC (June 2017). "Adenovirus-Mediated Gene Delivery: Potential Applications for Gene and Cell-Based Therapies in the New Era of Personalized Medicine" . Genes & Diseases . 4 (2): 43–63. doi :10.1016/j.gendis.2017.04.001 . PMC 5609467 . PMID 28944281 .
↑ "Definition of targeted therapy" . NCI Dictionary of Cancer Terms.
↑ Thacker, EE; Nakayama, M; Smith, BF; Bird, RC; Muminova, Z; Strong, TV; Timares, L; Korokhov, N; O'Neill, AM; de Gruijl, TD; Glasgow, JN; Tani, K; Curiel, DT (November 2009). "A genetically engineered adenovirus vector targeted to CD40 mediates transduction of canine dendritic cells and promotes antigen-specific immune responses in vivo" . Vaccine . 27 (50): 7116–24. doi :10.1016/j.vaccine.2009.09.055 . PMC 2784276 . PMID 19786146 .
↑ Harrington, KJ; Vile, RG; Pandha, HS, บ.ก. (May 2008). Viral Therapy of Cancer . Hoboken, N.J.: Wiley. pp. 1 -13. ISBN 9780470019221 .
↑ Xin, KQ; Sekimoto, Y; Takahashi, T; Mizuguchi, H; Ichino, M; Yoshida, A; Okuda, K (May 2007). "Chimeric adenovirus 5/35 vector containing the clade C HIV gag gene induces a cross-reactive immune response against HIV". Vaccine . 25 (19): 3809–15. doi :10.1016/j.vaccine.2007.01.117 . PMID 17386962 .
↑ Naskalska, A; Szolajska, E; Chaperot, L; Angel, J; Plumas, J; Chroboczek, J (December 2009). "Influenza recombinant vaccine: matrix protein M1 on the platform of the adenovirus dodecahedron". Vaccine . 27 (52): 7385–93. doi :10.1016/j.vaccine.2009.09.021 . PMID 19766576 .
↑ Cross, Ryan (2020-05-12). "Adenoviral vectors are the new COVID-19 vaccine front-runners. Can they overcome their checkered past?" . Chemical & Engineering News . 98 (19). สืบค้นเมื่อ 2020-12-15 .
↑ 48.0 48.1 Zhu, FC; Li, YH; Guan, XH; Hou, LH; Wang, WJ; Li, JX; และคณะ (June 2020). "Safety, tolerability, and immunogenicity of a recombinant adenovirus type-5 vectored COVID-19 vaccine: a dose-escalation, open-label, non-randomised, first-in-human trial" . Lancet . 395 (10240): 1845–1854. doi :10.1016/s0140-6736(20)31208-3 . PMC 7255193 . PMID 32450106 .
↑ 49.0 49.1 "An Open Study of the Safety, Tolerability and Immunogenicity of the Drug "Gam-COVID-Vac" Vaccine Against COVID-19" . Clinical Trials . 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2020-12-22 .
↑ 50.0 50.1 Cohen, Jon (2020-10-19). "Could certain COVID-19 vaccines leave people more vulnerable to the AIDS virus?" . American Association for the Advancement of Science. Science (magazine). สืบค้นเมื่อ 2020-12-15 .
↑ Folegatti, PM; Ewer, KJ; Aley, PK; Angus, B; Becker, S; Belij-Rammerstorfer, S; และคณะ (2020-08-15). "Safety and immunogenicity of the ChAdOx1 nCoV-19 vaccine against SARS-CoV-2: a preliminary report of a phase 1/2, single-blind, randomised controlled trial" . Lancet . 396 (10249): 467–478. doi :10.1016/S0140-6736(20)31604-4 . PMC 7445431 . PMID 32702298 .
↑
"Experimental Nasal Vaccine Protects Upper and Lower Respiratory Tracts against SARS-CoV-2" . Sci News . 2020-08-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28 .
↑
Hassan, AO; Kafai, NM; Dmitriev, IP; Fox, JM; Smith, BK; Harvey, IB; และคณะ (2020-10-01). "A Single-Dose Intranasal ChAd Vaccine Protects Upper and Lower Respiratory Tracts against SARS-CoV-2" . Cell . 183 (1): 169-184.e13. doi :10.1016/j.cell.2020.08.026 . PMC 7437481 . PMID 32931734 .
↑ Logunov, DY; Dolzhikova, IV; Zubkova, OV; Tukhvatullin, AI; Shcheblyakov, DV; Dzharullaeva, AS; และคณะ (2020-09-26). "Safety and immunogenicity of an rAd26 and rAd5 vector-based heterologous prime-boost COVID-19 vaccine in two formulations: two open, non-randomised phase 1/2 studies from Russia" . Lancet . 396 (10255): 887–897. doi :10.1016/S0140-6736(20)31866-3 . PMC 7471804 . PMID 32896291 .
↑ Fausther-Bovendo, H; Kobinger, GP (2014). "Pre-existing immunity against Ad vectors: humoral, cellular, and innate response, what's important?" . Hum Vaccin Immunother . 10 (10): 2875–8284. doi :10.4161/hv.29594 . PMC 5443060 . PMID 25483662 .
↑ Collins, Simon (2020-12-09). "HIV risk from some COVID-19 vaccines might be unlikely due to rarity of vector viruses involved" . HIV i-BASE. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15 .
↑
Rosenberg, Jaime (2020-10-25). "Researchers Warn of Heightened Risk of HIV With Certain COVID-19 Vaccines" . AJMC. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15 .
↑
Buchbinder, SP; McElrath, MJ; Dieffenbach, C; Corey, L (2020-10-31). "Use of adenovirus type-5 vectored vaccines: a cautionary tale" . Lancet . 396 (10260): e68–e69. doi :10.1016/S0140-6736(20)32156-5 . PMC 7571904 . PMID 33091364 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ไวรัสก่อมะเร็ง ดีเอ็นเอไวรัส :
ไวรัสตับอักเสบ บี (
มะเร็งเซลล์ตับ )
· ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (
มะเร็งปากมดลูก ,
มะเร็งทวารหนัก ,
มะเร็งองคชาต ,
มะเร็งปากช่องคลอด ,
มะเร็งช่องคลอด ,
มะเร็งคอหอยส่วนบน )
· KSHV (
Kaposi's sarcoma )
· ไวรัส
เอ็ปสไตน์-บาร์ (
Nasopharyngeal carcinoma ,
Burkitt's lymphoma ,
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน ,
Follicular dendritic cell sarcoma ,
Extranodal NK/T-cell lymphoma, nasal type )
· MCPyV (
Merkel-cell carcinoma )
ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคระบบประสาทส่วนกลาง จากไวรัส
โรคหัวใจร่วมหลอดเลือดอักเสบจากไวรัส โรคระบบหายใจจากไวรัส /โรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน /ปอดอักเสบจากไวรัส
โรคระบบทางเดินอาหารจากไวรัส
โรคระบบทางเดินปัสสาวะจากไวรัส