Share to:

 

กองทัพนิวซีแลนด์

New Zealand Defence Force
Te Ope Kaatua o Aotearoa
ก่อตั้งพ.ศ. 2388
รูปแบบปัจจุบันพ.ศ. 2410
เหล่า กองทัพบกนิวซีแลนด์
Naval flag of นิวซีแลนด์ ราชนาวีนิวซีแลนด์
Flag of the กองทัพอากาศนิวซีแลนด์ กองทัพอากาศนิวซีแลนด์
กองบัญชาการเวลลิงตัน
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดผู้สำเร็จราชการ เคว็นทิน ไบรซ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแอนดรูว์ ลิทเทิล
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุรับอาสาสมัครอายุขั้นต่ำ 17 ปีแต่ไม่สามารถเข้าประจำการได้จนกว่าจะอายุ 18 ปี
ประชากร
วัยบรรจุ
1,009,298 ชาย, อายุ 15–49,
997,134 หญิง, อายุ 15–49
ยอดประจำการ9,215 (มิถุนายน 2022)[1] (อันดับที่ 129)
ยอดสำรอง2,321 นาย (สำรวจเมื่อ มิถุนายน 2016)
ยอดกำลังนอกประเทศ672 นาย (สำรวจเมื่อ 9 ธันวาคม 2008)
รายจ่าย
งบประมาณแม่แบบ:A$ (2013–14)[2]
ร้อยละต่อจีดีพี1.56 percent[3]
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตนอกประเทศสหภาพยุโรป
สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลีย
มูลค่าส่งออกต่อปี$600 ล้าน[4]
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติประวัติศาสตร์ทหารของนิวซีแลนด์
ยศยศทหารในกองทัพนิวซีแลนด์
เครื่องอิสริยาภรณ์

กองทัพนิวซีแลนด์ (คำย่อ: NZDF) (อังกฤษ: New Zealand Defence Force) (เมารี: Te Ope Kaatua o Aotearoa, "Line of Defence of New Zealand") เป็นองค์การทางทหารซึ่งรับผิดชอบการป้องกันประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบด้วยกองทัพบกนิวซีแลนด์ กองทัพเรือนิวซีแลนด์ และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์

ประวัติ

โครงสร้าง

งบประมาณ

บุคลากร

กำลังพลประจำการ

กำลังพลสำรอง

การศึกษา

ศาลทหาร

ความสัมพันธ์ทางทหาร

พันธมิตร

กองทัพนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับกองทัพออสเตรเลียในฐานะความสัมพันธ์ที่เปรียบดั่งบ้านพี่เมืองน้อง เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรทางทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Australian and New Zealand Army Corps) หรือที่รู้จักในนามว่า ANZAC ร่วมกับออสเตรเลีย รวมถึงยังเป็นหนึ่งในอดีตสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization) หรือ SEATO ที่ปัจจุบันถูกยุบไปแล้ว และถือเป็นหนึ่งในพันธมิตรนอกนาโต้ของสหรัฐอเมริกา

กองทัพนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มสนธิสัญญา Australia, New Zealand, United States Security Treaty หรือ ANZUS ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือพันธมิตรทางทหารของสามชาติคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา

กองทัพนิวซีแลนด์ยังเป็นหนึ่งในสมาชิกสนธิสัญญาพันธมิตรทางทหารแห่งเครือจักรภพ Five Power Defence Arrangements หรือ FPDA ซึ่งกำหนดให้มีการฝึกวงรอบประจำปีกับชาติสมาชิกเครือจักรภพทั้ง 5 ชาติได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ อีกทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล บุคลากร และการฝึกทางทหารกับมิตรประเทศนอกเครือจักรภพกับ ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย บรูไน ตองงา ปาปัวนิวกินี ร่วมถึงไทยด้วย

นอกประเทศ

กองทัพนิวซีแลนด์มีบทบาทเป็นอย่างมากฐานะกองกำลังรักษาสันติภาพ ในอดีตเคยส่งกองกำลังทหารไปในฐานะกองกำลังรักษาสันติภาพภายในมติของสหประชาชาติในพื้นที่ขัดแย้งต่างๆในอดีตทั่วโลก เช่น แองโกลา กัมพูชา โซมาเลีย เลบานอน และ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย มีส่วนร่วมในฐานะส่วนหนึ่งกองกำลังนานาชาติติมอร์ตะวันออกภายใต้มติของสหประชาชาติ International Force in East Timor หรือ INTERFET ในวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออกตั้งแต่ปี ค.ศ.1999-2002 ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่รักษาสันติภาพในหมู่เกาะโซโลมอน ติมอร์ตะวันออก และอัฟกานิสถาน ในฐานะส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาปลอดภัยนานาชาติอัฟกานิสถาน International Security Assistance Force หรือ ISAF ภายใต้มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในฐานะผู้ฝึกสอนยุทธวิธีทางทหารให้แก่บุคลากรกองทัพอิรักในการสู้รบกับกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม ISIS ในตะวันออกกลาง


อ้างอิง

  1. "NZDF Website About". 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2022.
  2. "Minister for Defence – Budget 2013-14: Defence Budget Overview". Department of Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  3. Thomson (2012), p. vi
  4. "Defence and Security Overview". Austrade. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya