Share to:

 

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเวียดนาม

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศเวียดนาม
ตามเข็มนาฬิกา จากบน: ร้านอาหารถูกปิดจากการกักตัวทั่งประเทศ; ตำรวจใส่หน้ากากให้คนหนึ่งในเมือง Soc Trang; ผู้ซื้อและผู้ขายลงทะเบียนทดสอบการติดเชื้อโควิด-19 แบบรวดเร็วในตลาดขายส่งที่Lĩnh Nam, ฮานอย; กองทัพประชาชนเวียดนามแผนกเคมีเริ่มฆ่าเชื้อในโรงพยาบาล Bach Mai
แผนที่เมืองและจังหวัดที่มีการยืนยันคนติดเชื้อโควิด-19 (ณ วันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2021):
  ยืนยันติดเชื้อ 1–9 คน
  ยืนยันติดเชื้อ 10–99 คน
  ยืนยันติดเชื้อ 100–999 คน
  ยืนยันติดเชื้อ 1,000–9,999 คน
  ยืนยันติดเชื้อ 10,000 คนหรือมากกว่า
โรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สายพันธุ์ไวรัสไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
สถานที่เวียดนาม
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยต้นปัญหานครโฮจิมินห์
ผู้ป่วยยืนยันสะสมNegative increase 1,914,393 คน[1]
ผู้ป่วยปัจจุบันNegative increase 289,772 คน[1][a]
หายเพิ่มขึ้น 1,590,090 คน[1]
เสียชีวิตNegative increase 34,531 คน[1]
อัตราการเสียชีวิตNegative increase 1.8038%
การฉีดวัคซีน
เว็บไซต์ของรัฐบาล
ncov.moh.gov.vn
cdc.kcb.vn/covid
(เวียดนาม)

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดทั่วโลกที่ยังดำเนินอยู่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ข้อมูลเมื่อ 29 เมษายน ค.ศ. 2021 (2021 -04-29) กระทรวงอนามัยประกาศว่ามีผู้ติดเชื้อยืนยัน 2,910 ราย หายแล้ว 2,516 ราย และเสียชีวิต 35 ราย ซึ่งได้ปฏิบัติการการตรวจแล้วเกือบ 2.9 ล้านคน[3] ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน จังหวัดหายเซืองเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน 762 รายและไม่มีผู้เสียชีวิต[1]

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ประเทศจีนได้ประกาศพบกลุ่มผู้ติดเชื้อปอดบวมที่อู่ฮั่น ตัวไวรัสเข้ามายังประเทศเวียดนามในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2020 ผ่านชาวจีนสองคนในนครโฮจิมินห์ที่มีผลตรวจเป็นบวก[4][5] เคสช่วงแรกมาจากต่างประเทศ จนกระทั่งมีการแพร่เชื้อในประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม โดยพบกลุ่มผู้ติดเชื้อในหวิญฟุก[6] ต่อมาพบผู้เสียชีวิตรายแรกในฮานอย, นครโฮจิมินห์, ดานัง และจังหวัดหายเซืองในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2020[7]

เวียดนามระงับการเข้ามาของชาวต่างชาติตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563 จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโควิด-19 มาตรการนี้จะไม่ใช้กับนักการทูต, เจ้าหน้าที่, นักลงทุนต่างชาติ, ผู้เชี่ยวชาญ และแรงงานที่มีทักษะ ในช่วงตรุษญวน ค.ศ. 2021 ทุกคนที่เข้าไปในประเทศเวียดนามจะต้องกักตัวเองอย่างน้อย 14 วันที่สถานกักกันของเจ้าหน้าที่ โดยยกเว้นเพียงนักการทูตพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศ[8][9][10]

เวียดนามได้รับการอ้างถึงจากสื่อระดับโลกว่าเป็นหนึ่งในโครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ดีที่สุดในโลก[11][12][13] พร้อมกับเกาหลีใต้, สิงคโปร์ และไต้หวัน[14][15] หลายคนชื่นชมการตอบสนองของเวียดนามเมื่อเปรียบเทียบกับความสำเร็จในปี พ.ศ. 2546 เมื่อเวียดนามกลายเป็นประเทศแรกที่ทำให้หมดโรคซาร์ส[14] แม้จะมีความสามารถทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ด้อยกว่า แต่การตอบสนองของประเทศต่อการระบาดของโรคก็ได้รับเสียงไชโยโห่ร้องสำหรับความฉับไว, ประสิทธิภาพ และความโปร่งใส ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อกล่าวหาที่ปกปิดในประเทศจีน และการเตรียมการที่ไม่ดีในสหรัฐรวมถึงประเทศในยุโรป[14][16][17][18]

ถึงแม้ว่าโรคระบาดทั่วจะทำลายเศรษฐกิจของประเทศอย่างหนัก[19] อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในประเทศยังคงเป็นหนึ่งในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกที่มีค่าสูงสุด[20] โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.91 ใน ค.ศ. 2020 และประมาณการว่าจะเติบโตเป็นร้อยละ 6.6 ภายใน ค.ศ. 2021[21][22]

การฉีดวัคซีนเริ่มขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2021[23] จนถึงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2021 มีผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งอันรวม 506,435 ราย[24] จนถึงตอนนี้ ทางกระทรวงอนามัยได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกาและสปุตนิก วีในช่วงฉุกเฉิน มีการคาดการณ์ว่าจะมีวัคซีนรวม 150 ล้านโดสให้ใช้ในช่วงปลาย ค.ศ. 2021[25]

ภูมิหลัง

เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าไวรัสโคโรนาตัวใหม่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยทางเดินหายใจในกลุ่มคนในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ซึ่งได้รายงานต่อองค์การอนามัยโลกในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[26][27]

อัตราการตายของผู้ป่วยโควิด-19 นั้นต่ำกว่าโรคซาร์สปี พ.ศ. 2546 มาก[28][29] แต่การแพร่เชื้อน่าสังเกตมากกว่า ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีความหมาย[28][30]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "TRANG TIN VỀ DỊCH BỆNH VIÊM ĐƯỜNG HÔ HẤP CẤP COVID-19" (ภาษาเวียดนาม). BỘ Y TẾ (Ministry of Health). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-13. สืบค้นเมื่อ 4 August 2021.
  2. Lê, Nga (12 May 2021). "Bệnh nhân tử vong do suy thận sau ba lần âm tính nCoV" [Man dies of kidney failure after having thrice tested negative for Covid-19]. VnExpress (ภาษาเวียดนาม).
  3. "COVID-19 in Viet Nam Situation Report 38". WHO. 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 22 April 2021.
  4. Coleman, Justine (23 January 2020). "Vietnam reports first coronavirus cases". The Hill. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
  5. Lê, Phương (2020-01-23). "Hai người viêm phổi Vũ Hán cách ly tại Bệnh viện Chợ Rẫy". VnExpress.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Thúy Quỳnh (2020-02-15). "Tại sao một bệnh nhân Vĩnh Phúc lây virus corona 6 người?". VnExpress.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Lê Hiệp; Liên Châu (31 July 2020). "Việt Nam có ca Covid-19 đầu tiên tử vong, là bệnh nhân 428". Thanh Niên.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Nguyen Quy (20 January 2021). "Vietnam mandates 14-day quarantine for all foreign experts, flight crew". VnExpress. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  9. Lan Anh (20 January 2021). "Ngưng cách ly tại nhà, luôn chuẩn bị cho tình huống phát hiện COVID-19 tại cộng đồng" (ภาษาเวียดนาม). Tuổi Trẻ. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  10. THIÊN LAM (2021-01-20). "Phát động toàn dân phát hiện người nhập cảnh trái phép trở về không cách ly". Nhân Dân (ภาษาเวียดนาม).{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Reed, John; Pham, Hai Chung (2020-03-24). "Vietnam's coronavirus offensive wins praise for low-cost model". Financial Times.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Walden, Max (13 May 2020). "How has Vietnam, a developing nation in South-East Asia, done so well to combat coronavirus?". ABC News. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  13. "Covid Performance Index". Lowy Institute. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
  14. 14.0 14.1 14.2 Humphrey, Chris; Pham, Bac (14 April 2020). "Vietnam's response to coronavirus crisis earns praise from WHO". 7News. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. Barron, Laignee (13 March 2020). "What We Can Learn From Singapore, Taiwan and Hong Kong About Handling Coronavirus". Time.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. Le, Trien Vinh; Nguyen, Huy Quynh (17 April 2020). "How Vietnam Learned From China's Coronavirus Mistakes". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "[Op-ed] Why Vietnam has been the world's number 1 country in dealing with coronavirus". 4 March 2020.
  18. Sullivan, Michael (16 April 2020). "In Vietnam, There Have Been Fewer Than 300 COVID-19 Cases And No Deaths. Here's Why". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. Dat Nguyen; Hoang Phuong (17 June 2020). "With jobs lost to Covid-19, Vietnamese struggle to make ends meet". VnExpress. สืบค้นเมื่อ 23 June 2020.
  20. "Vietnam growth among Asia's highest despite Covid-19 slump: ADB". VnExpress. 4 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 June 2020.
  21. "Vietnam's economy is set to grow 6.6% in 2021: WB". Nhân Dân. 27 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-05. สืบค้นเมื่อ 29 March 2021.
  22. "VIET NAM ECONOMY IN 2020 THE GROWTH OF A YEAR WITH FULL OF BRAVERY". General Statistics Office of Vietnam. 2021-01-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "Người Việt Nam đầu tiên tiêm vaccine COVID-19: Không có gì phải lo sợ!" (ภาษาเวียดนาม). VTV. 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  24. "Thêm 3 ca lây nhiễm từ bệnh nhân Covid-19 ở Hà Nam". VnExpress. 30 April 2021.
  25. "Vietnam records two more severe reactions after COVID-19 vaccination". Tuổi Trẻ. 2021-03-15.
  26. Elsevier. "Novel Coronavirus Information Center". Elsevier Connect. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  27. Reynolds, Matt (4 March 2020). "What is a coronavirus and how close is it to becoming a pandemic?". Wired UK. ISSN 1357-0978. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  28. 28.0 28.1 "Crunching the numbers for coronavirus". Imperial News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  29. "High consequence infectious diseases (HCID); Guidance and information about high consequence infectious diseases and their management in England". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  30. "World Federation Of Societies of Anaesthesiologists – Coronavirus". www.wfsahq.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

Kembali kehalaman sebelumnya