Share to:

 

บางจาก ศรีราชา

บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน)
ประเภทพลังงานและสาธารณูปโภค
การซื้อขาย
SET:BSRC
อุตสาหกรรมทรัพยากร
รูปแบบบริษัทมหาชนจำกัด
ก่อนหน้าเอสโซ่แห่งประเทศไทย
ก่อตั้ง12 มกราคม พ.ศ. 2508 (59 ปี)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 3195/17-29 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร[1]
ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักกึ่งเบา น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์ [2]
เว็บไซต์http://www.bsrc.co.th

บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Bangchak Sriracha Public Company Limited ชื่อย่อ:BSRC) [3] เป็นบริษัทของไทย ผู้ประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบครบวงจร (integrated) อีกทั้งบริษัทยังทำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่นโดยช่องทางขายผ่านทางลูกค้ารายย่อยและทางเครือข่ายที่กว้างขวางของสถานีบริการน้ำมันค้าปลีกภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่ รวมทั้งขายโดยตรงให้แก่ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ค้าส่ง การบินและการเดินเรือ [4]

ประวัติ

ปี๊มน้ำมันเอสโซ่บนถนนเพชรบุรี

บริษัทได้เริ่มจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2508 โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทได้เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2514 และต่อมาบริษัทได้รับอนุญาตให้ขยายโรงงานและประกอบกิจการโรงงานกลั่นน้ำมันแร่ขนาดใช้น้ำมันดิบวันละไม่เกิน 35,000 บาร์เรล ภายใต้สัญญาประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับบริษัท ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลได้อนุมัติให้บริษัทเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบเป็นวันละ 63,000 บาร์เรล จากการปรับเพิ่มปริมาณการผลิต หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้อนุมัติการเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบที่ได้รับอนุญาตของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทเป็นวันละ 185,000 บาร์เรล บริษัทได้ทยอยเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทด้วยการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีกำลังกลั่นน้ำมันดิบในปัจจุบันอยู่ที่วันละ 174,000 บาร์เรล

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2539 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในปี พ.ศ. 2541 บริษัทเริ่มก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ในพื้นที่โรงกลั่นน้ำมันศรีราชาของบริษัท การก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ของบริษัทได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 โดยมีกำลังการผลิตพาราไซลีนปีละ 350,000 ตัน บริษัทได้เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[4]

ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 บางจาก คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของเอสโซ่จากเอ็กซอนโมบิล ในสัดส่วนร้อยละ 65.99 โดยมีมูลค่ากิจการ 55,000 ล้านบาท การดำเนินการซื้อขายแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยหลังจากการเข้าซื้อกิจการเอสโซ่ เอ็กซอนโมบิลจะยังเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและเคมีภัณฑ์ในประเทศไทยต่อไป[5] ทั้งนี้เอ็กซอนโมบิลได้ให้บางจากใช้สิทธิ์ในตราสินค้า เอสโซ่ ต่อไปอีก 2 ปี[6] แต่ทว่าหลังจากวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 บางจากได้ดำเนินการทยอยปลดเครื่องหมายการค้า เอสโซ่ ออกจากปั๊มเอสโซ่เดิมและใช้เครื่องหมายการค้า บางจาก แทน[7] ก่อนที่ประชุมบริษัทฯ มีมติให้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[8]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับพระราชทานคืนตราตั้ง ที่บริษัทฯ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2541[9]

การประกอบธุรกิจ

บริษัทเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือบางจาก คอร์ปอเรชั่น โดยบริษัทเป็นเจ้าของและผู้ประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (complex refinery) ซึ่งมีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ 174,000 บาร์เรลต่อวัน และเป็นเจ้าของและผู้ประกอบการโรงงานอะโรเมติกส์ (aromatics plant) ซึ่งมีกำลังการผลิตพาราไซลีน 500,000 ตันต่อปี และหน่วยผลิตสารทำละลายซึ่งมีกำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี โดยโรงงานแต่ละแห่งนี้ได้เชื่อมโยงเข้ากับหน่วยกลั่นน้ำมันและกระบวนการกลั่นน้ำมันของบริษัทแบบครบวงจร มีที่ตั้งใกล้กับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี [4]

รายนามประธานกรรมการ

  1. นายอรุณ ทัพพะรังสี (พ.ศ. 2508-2512)
  2. นายถวิล สุนทรศารทูล (พ.ศ. 2512-2517)
  3. นายมนูญ บริสุทธิ์ (พ.ศ. 2518-2521)
  4. พลเอก บุลฤทธิ์ ทรรทรานนท์ (พ.ศ. 2521-2524)
  5. เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ (พ.ศ. 2524-2527)
  6. นายบัณฑิต บุณยะปานะ (พ.ศ. 2527-2531)
  7. พลอากาศเอก วาทิต โหละสุต (2531-2535)
  8. พลเอก วันชัย จิตต์จำนงค์ (พ.ศ. 2535-2540)
  9. นายนิคม จันทรวิทุร (พ.ศ. 2540-2544)
  10. นายการุณ กิตติสถาพร (พ.ศ. 2544-2548)
  11. นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต (พ.ศ. 2548-2552)
  12. พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ (พ.ศ. 2552-2554)
  13. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ (พ.ศ. 2554-2558)
  14. นางวัชรี วิมุกตายน (พ.ศ. 2558-2562)
  15. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์ (พ.ศ. 2562-2566)
  16. นายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ (พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2566 [10]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 2,642,157,198 76.34%
2 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 141,311,700 4.08%
3 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 141,311,700 4.08%
4 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 90,696,920 2.62%
5 South East Asia UK Nominees Limited 41,115,777 1.19%

ผลิตภัณฑ์และบริการ

น้ำมันเชื้อเพลิง

แก๊สโซฮอล์

  • เอสโซ่ แก๊สโซฮอล์ 91
  • เอสโซ่ แก๊สโซฮอล์ 95
  • เอสโซ่ ซูพรีม พลัส แก๊สโซฮอล์ 95
  • เอสโซ่ แก๊สโซฮอล์ E20

ดีเซล

  • เอสโซ่ ดีเซล
  • เอสโซ่ ซูพรีม พลัส ดีเซล

น้ำมันหล่อลื่น

ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเครื่องยนต์

  • โมบิล 1 0W-40
  • โมบิล 1 5W-30
  • โมบิล 1 5W-50
  • โมบิล 1 เทอร์โบ ดีเซล ปิคอัพ 5W-40
  • โมบิล ซูเปอร์ 2000 10W-40
  • โมบิล ซูเปอร์ 2000 เทอรโบสปีด 10W-30
  • โมบิล ซูเปอร์ 1000 20W-50
  • โมบิล ซูเปอร์ 1000 เทอรโบสปีด 15W-40
  • โมบิล เอ็กซ์ตร้า 4T 10W-40
  • โมบิล สเปเชียล 4T 20W-50
  • โมบิล เอ็กซ์ตร้า 2T

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ

น้ำมันระบบเกียร์อัตโนมัติและระบบพวงมาลัยพาวเวอร์
  • โมบิล ATF 220
  • โมบิลมัลติเพอร์เพิส ATF
จารบี
  • โมบิลกรีส สเปเชียล
  • โมบิลกรีส XHP 220 Series
  • โมบิล โรเน็กซ์ MP
ระบบเกียร์และเฟืองท้าย
  • โมบิล เดลแวค Synthetic Gear 75W-90
  • โมบิลลู้บ HD 80W-90, 85W-140
  • โมบิลลู้บ GX 80W-90
  • โมบิลลู้บ HD LS 80W-90
น้ำมันเบรก
  • โมบิล เบรกฟูลอิด DOT 4
น้ำมันหล่อเย็น
  • โมบิล คูลแล้นท์

ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเครื่องยนต์เชิงพาณิชย์

  • โมบิล เดลแวค 1 5W-40
  • โมบิล เดลแวค MX 15W-40
  • โมบิล เดลแวค ซูเปอร์ 1400 15W-40
  • โมบิล เดลแวค ซูเปอร์ 20W-50
  • โมบิล เดลแวค 1340 SAE 40
  • โมบิล เดลแวค 1640 SAE 40
  • โมบิล เดลแวค GEO 15W-40

บริการ

  • ร้านสะดวกซื้อบิ๊กซีมินิ
  • ร้านสะดวกซื้อโลตัส โก เฟรซ
  • ศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร B-Quik
  • ศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง Mobil 1 Center

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 รายละเอียดบริษัท/หลักทรัพย์เซ็ทเทรดดอตคอม
  2. การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ แบบรายงาน56-1 เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555
  3. แจ้งการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ตราประทับของบริษัท วัตถุประสงค์ของบริษัท ข้อบังคับของบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท การเปลี่ยนแปลงชื่อย่อหลักทรัพย์ของบริษัท และเลขที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทฯ - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. 4.0 4.1 4.2 ลักษณะการประกอบธุรกิจแบบรายงาน56-1 เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555
  5. "บางจากฯ ประกาศเทกโอเวอร์ "เอสโซ่" ปิดดีลจ่ายค่าหุ้นได้ครึ่งหลังปี 66". mgronline.com. 2023-01-12.
  6. อีไฟแนนซ์ไทย, สำนักข่าว. "`บางจาก` ประกาศซื้อกิจการปั๊ม`เอสโซ่` พร้อมตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นทั้งหมด". efinancethai.com.
  7. "เริ่มแล้ว! ปลดป้าย ESSO ทยอยเปลี่ยนเป็นปั๊ม 'บางจาก'​ หลังเข้าซื้อกิจการ 22,605 ล้าน". Brand Buffet. 2023-09-08. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 53 (help)
  8. "'เอสโซ่' เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น 'บางจาก ศรีราชา' ใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า BSRC". The Standard. 2023-11-15.
  9. ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับพระราชทานคืนตราตั้ง
  10. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เซ็ทเทรดดอตคอม
Kembali kehalaman sebelumnya