ประชาไท
ประชาไท เป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 โดย จอน อึ๊งภากรณ์[2] นำเสนอข่าวสารทั่วไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน บทสัมภาษณ์และข้อเขียนของนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว องค์กรสิทธิ และองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้อำนวยการปัจจุบันคือ จีรนุช เปรมชัยพร บรรณาธิการคือ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข[3] และบรรณาธิการบริหารคือ เทวฤทธิ์ มณีฉาย[4] ประชาไท (เฉพาะ prachathai.com) เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3,889 (19 กันยายน 2557) จากการจัดอันดับโดยอะเล็กซา[5] ประวัติประชาไทริเริ่มโดยแนวคิดของ จอน อึ๊งภากรณ์ ซึ่งต้องการทำสื่อที่เป็นอิสระไม่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานภาครัฐ หลังจากได้เห็นตัวอย่างสื่อในประเทศฟิลิปปินส์ ชื่อ มินดานิวส์ จอนจึงเริ่ม โครงการวารสารข่าวทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสุขภาวะของชุมชน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในภายหลังยังได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ และ Open Society Institue[3] ประชาไทเริ่มเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ครั้งแรกเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2547[3] ในระยะเริ่มต้นประชาไทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ คณะบุคคล ร่วมดำเนินโครงการวารสารข่าวทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสุขภาวะของชุมชน ในภายหลังได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิชื่อว่า "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน" มีนายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็นประธานมูลนิธิ ชื่อประชาไทในภาษาไทยมักถูกสะกดผิดเป็น "ประชาไทย"[6] ส่วนชื่อในภาษาอังกฤษใช้ว่า "Prachatai" ส่วนต่าง ๆ
บุคคลแห่งปีเว็บไซต์ประชาไทตีพิมพ์รายงานพิเศษที่เขียนขึ้นครั้งแรกในปี 2559
เว็บบอร์ดประชาไทเว็บบอร์ดประชาไท เป็นพื้นที่แยกต่างหากจากหนังสือพิมพ์ประชาไท ที่ www.prachataiwebboard.com เปิดเพื่อให้สาธารณะแลกเปลี่ยนกันเรื่องสังคมและการเมือง[13] เว็บบอร์ดประชาไทปิดตัวลงเมื่อ 31 กรกฎาคม 2553 โดยจีรนุช เปรมชัยพร ให้เหตุผลในจดหมายถึงผู้อ่านและสมาชิกเว็บบอร์ดว่าเป็นเพราะสถานการณ์การจับกุมผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นในพื้นที่ออนไลน์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงดังกล่าว ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวจากข้อกล่าวหา “เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ” ด้วยพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมายอาญามาตรา 112[14] ทุนสนับสนุนตลอดการดำเนินงาน ประชาไทได้แจ้งบนเว็บไซต์ว่าได้รับเงินบริจาคจากหลายแหล่ง[15] สำนักข่าวอิศราอ้างว่า ประชาไทได้รับเงินบริจาคส่วนหนึ่งจากกองทุนเงินบริจาคเพื่อประชาธิปไตย (National Endowment for Democracy) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ[16] นอกจากนี้ ยังรับเงินบริจาคจากมูลนิธิโอเพนโซไซตีของจอร์จ โซรอส อีกด้วย[17] ดูเพิ่มวิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ คำพิพากษาศาลแพ่ง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1612/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ประชาไท) อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|