ไฟเย็น (วงดนตรี)
ไฟเย็น เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตสัญชาติไทย ซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงการเมืองไทยและในยุคหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และเนื้อหาเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์ สมาชิกสมาชิกปัจจุบัน
อดีตสมาชิก
ประวัติวงไฟเย็นเริ่มต้นจากการเป็นสมาชิกวงท่าเสา นำโดย วัฒน์ วรรลยางกูร ร่วมแสดงดนตรีบนเวทีการเมืองฝ่ายซ้ายหลายครั้ง[1] วงไฟเย็นเปิดตัวใน พ.ศ. 2554 และร่วมกิจกรรมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ โดยแสดงดนตรีสดบนเวที ตลอดจนแสดงตามเวทีเสวนาการเมือง หรืองานรำลึก เช่น กิจกรรมรำลึกวันครบรอบเหตุการณ์ 14 ตุลา[2] ใน พ.ศ. 2556 วงถูกต่อต้านจากกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งไม่ให้แสดงดนตรีในสถานที่ราชการ[3] หลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 สมาชิกวงไฟเย็นส่วนหนึ่งถูกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 5/2557 ให้ไปรายงานตัว[4] ทางวงจึงไม่ได้แสดงอีกในช่วงนี้[5] ศาลทหารออกหมายจับ นายวัฒน์ วรรลยางกูร นายไตรรงค์ สินสืบผล นายชฤต โยนกนาคพันธุ์ และนายนิธิวัต วรรณศิริ ฐานความผิดขัดคำสั่งให้ไปรายงานตัว[6] ไฟเย็นได้ลี้ภัยทางการเมืองไปผลิตผลงานเพลงและรายการสตรีมต่อต้านเผด็จการทหารในแถบประเทศในภูมิภาคอาเซียน[7] เมื่อปี พ.ศ. 2559 ไฟเย็นได้ทำเพลง ขันแดงแสลงใจ ที่ได้แปลงทำนองมาจาก โบว์แดงแสลงใจ ทำให้มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาเพลง ด้านพลโท ชัยณรงค์ ประกาศไล่ล่านักร้องหญิงในคลิปให้ได้ โดยถือว่าเป็นภัยทางความมั่นคงภายในประเทศชาติ[8] 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 กลุ่ม ACT4DEM นำโดยจรรยา ยิ้มประเสริฐ ได้ทำแคมเปญ #SaveFaiyen ล่าชื่อเรียกร้อง UNHCR และรัฐบาลลาว-ฝรั่งเศส ช่วยคุ้มครองให้สมาชิกวงออกไปจากพื้นที่เสี่ยง โดยแฮชแท็ก #SaveFaiyen ได้รับการพูดถึงจนติดเทรนด์อันดับหนึ่งบนทวิตเตอร์ในวันเดียวกัน[9] ปัจจุบันได้ลี้ภัยไปประเทศฝรั่งเศส[10] 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับแจ้งว่าพอร์ทถูกจับกุมตัวที่บ้านพักในย่านอุดมสุข และถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 3 โพสต์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2559[11] ผลงานอัลบั้ม บทเพลง ปฏิวัติประชาธิปไตย (พ.ศ. 2556)ในรูปแบบซีดี
แผ่นที่ 1
แผ่นที่ 2
ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลด
อัลบั้ม บทเพลงของมิตรสหายท่านหนึ่ง (พ.ศ. 2559)ในรูปแบบซีดี และดิจิตอลดาวน์โหลด
อัลบั้ม บทเพลงสู่การเปลี่ยนแปลง (2011-2020) (พ.ศ. 2563)ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลด
เพลงอื่นๆ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |