มกรสังกรานติ
มกรสังกรานติ หรือ อุตตรายัน หรือ มาฆี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สังกรานติ เป็นเทศกาลในปฏิทินฮินดูที่บูชาพระสุรยะ มีการเฉลิมฉลองทุกปีในเดือนตามจันทรคติ เดือนมาฆะซึ่งเทียบเท่าเดือนมกราคมในปฏิทินกริกอเรียน มกรสังกรานติเป็นวันเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวในอินเดียและเนปาล[1][2][3] และเป็นวันที่ที่ฉลองการโยกย้ายของดวงอาทิตย์เข้าสู่มกรราศี (ราศีมังกร), และเป็นวันสิ้นสุดของทักษิณายัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่เวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน[1][4] มกรสังกรานติ เป็นหนึ่งในเทศกาลโบราณ[5] ของอินเดียและเนปาลไม่กี่เทศกาลที่มีการฉลองตามวัฏจักรของดวงอาทิตย์ ในขณะที่เทศกาลส่วนใหญ่จะอิงตามวัฏจักรดวงจันทร์ตามในปฏิทินแบบสุริยจันทรคติของฮินดู[4] เนื่องด้วยเป็นเทศกาลตามสุริยคติจึงทำให้ตรงกับช่วงวันเดียวกันตามปฏิทินเกรเกอเรียนทุกปี ซึ่งคือวันที่ 14 หรือ 15 มกราคม[2] ยกเว้นในบางปีเท่านั้น[6] มกรสังกรานติยังมีเทศกาลเทียบเท่าอื่น ๆ ทั่วทั้งในแถบอนุทวีปอินเดีย เช่น มาฆะสังกรานติในเนปาล, มาฆพิฆุในรัฐอัสสัม, มาฆี (ซึ่งต่อเนื่องจากโลหรี) ในปัญจาบ หรยาณา และหิมาจัลประเทศ, Sukarat ในอินเดียตอนกลาง, ไตโปงคัล ในทมิฬนาฑู, อุตตรายัน ในคุชราต อุตตราขัณฑ์ และอุตตรประเทศ, Ghughuti ในอุตตรขัณฑ์, มกรสังกรานติ ในโอริสา กรณาฏกะ มหาราษฏระ กัว และแถบเบงกอล (ที่ซึ่งเรียกว่าปูศสังกรานติ) และสังกรานติ ในอานธรประเทศกับเตลังคานา[7][8] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มกรสังกรานติ วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ มกรสังกรานติ |