ท่าอากาศยานแพร่
ท่าอากาศยานแพร่ หรือ สนามบินแพร่[1] (อังกฤษ: Phrae Airport) (IATA: PRH, ICAO: VTCP) ตั้งอยู่ที่ 72 หมู่ที่ 5 ถนนช่อแฮ ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่[2] ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[3] ประวัติท่าอากาศยานแพร่ เป็นท่าอากาศยานที่สร้างขึ้นในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งพื้นผิวทางวิ่งในช่วงแรกเป็นพื้นดินลูกรัง ภายหลังจากที่สงครามสงบลง จึงมอบหมายให้กองทัพอากาศดูแลและใช้ประโยชน์ ต่อมา สำนักงานการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ในขณะนั้น ได้ดำเนินการพัฒนาเป็นท่าอากาศยานขนส่งผู้โดยสารและพัสดุในปี พ.ศ. 2495 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นผิวทางวิ่งให้มีขนาด 30 x 1,200 เมตร และสร้างอาคารท่าอากาศยานเพื่อใช้ในกิจการการบินพลเรือน ในปี พ.ศ. 2514 - 2516 กรมการบินพาณิชย์ ในขณะนั้น ได้ปรับปรุงผิวทางวิ่ง ทางขับและ ลานจอดเป็นพื้นผิวแอสฟัลท์ติคคอนกรีต (asphaltic-concrete) ทำให้ทางวิ่งมีขนาดกว้าง 30 เมตร และยาว 1,500 เมตร และ พ.ศ. 2517 - 2518 ได้สร้างอาคารท่าอากาศยานแพร่ในพื้นที่ปัจจุบัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2524 - 2525 ได้ต่อเติมอาคารท่าอากาศยานให้มีขนาด 250 ตารางเมตร และในปี พ.ศ. 2533 กรมการบินพาณิชย์ได้ปรับปรุงต่อเติมอาคารผู้โดยสารพร้อมเครื่องปรับอากาศ พื้นที่ 432 ตารางเมตร และในปี พ.ศ. 2539 ได้สร้างหอบังคับการบินใหม่แยกออกจากอาคารผู้โดยสาร มีความสูง 7 ชั้น[4] อาคารสถานที่อาคารผู้โดยสารอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานแพร่เป็นอาคาร 3 ชั้น ใช้งานจริง 1 ชั้น มีพื้นที่ 1,550 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 374 คน/ชั่วโมง โดยแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังนี้[5]
ลานจอดเครื่องบิน มีขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 180 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาด เอทีอาร์ 72 ได้จำนวน 3 ลำ และมีหลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมด 6 หลุม[5][6] ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)ท่าอากาศยานแพร่มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 1,500 เมตร[5] พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 45 เมตร และความยาวข้างละ 75 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่เหมาะสมต่อเครื่องบินขนาดใหญ่ กรมท่าอากาศยานจึงได้มีแผนที่จะขยายทางวิ่งให้มีความกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร ซึ่งจะช่วยให้มีสายการบินเปิดเส้นทางบินมายังแพร่เพิ่มมากขึ้น[7] เนื่องจากเป็นขนาดทางวิ่งที่สามารถรองรับเครื่องบินขนาด โบอิง 737 และ แอร์บัส เอ320 ที่สายการบินหลายสายในประเทศไทยนิยมใช้ ทางขับมีทั้งหมด 1 ทางขับ พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 145 เมตร รายชื่อสายการบินรายชื่อสายการบินที่ให้บริการในปัจจุบันไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ
สถิติข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
การเดินทางสู่ท่าอากาศยานท่าอากาศยานแพร่ตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดิน 1022 เข้าไปประมาณ 330 เมตร โดยมีลานจอดรถยนต์กลางแจ้งหน้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งมีความจุ 60 คัน และที่ท่าอากาศยานมีบริการรถสาธารณะเข้าเมือง และบริการรถเช่า[5] ดูเพิ่มวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ท่าอากาศยานแพร่ อ้างอิง
|