ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี หรือ สนามบินอุบลราชธานี (อังกฤษ: Ubon Ratchathani International Airport) (IATA: UBP, ICAO: VTUU) ตั้งอยู่ที่ 297 ถนนเทพโยธี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยตั้งอยู่ในเขตทหารกองทัพอากาศ (กองบิน 21 อุบลราชธานี) ซึ่งท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] สร้างขึ้นในปี 2464[2] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[3] ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 1 กิโลเมตร โดยได้ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร และแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี มีรันเวย์ขนาดมาตรฐาน สามารถรองรับผู้โดยสารจากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ รวมถึงผู้โดยสารจากประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศลาวตอนใต้) ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการบินพาณิชย์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประวัติท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีได้มีการบินครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2464 ซึ่งขณะนั้นได้เกิดไข้ทรพิษและอหิวาตกโรคโรคระบาดในท้องที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ทางการได้ส่งนายแพทย์และเวชภัณฑ์ โดยทางเครื่องบินไปยังจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบรรเทาทุกข์ของราษฏร จากนั้นเป็นท่าอากาศยานที่ใช้งานในสงครามเวียดนาม โดยเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้เป็นฐานในการโจมตีเวียดนาม ตั้งอยู่ในบริเวณกองบิน 21 กองทัพอากาศ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ตามมติของคณะรัฐมนตรี (เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า) ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีเป้าหมายที่จะให้ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคอินโดจีน และท่าอากาศยานนานาชาติแห่งแรกของภาคอีสาน โดยต่อมาคณะรัฐมนตรีคราวประชุมเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2532 ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานีให้เป็นท่าอากาศยานพาณิชย์สากล ในปี พ.ศ. 2533 กรมการบินพาณิชย์ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่ม และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หอบังคับการบิน และลานจอดเครื่องบิน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2535[4] ในปี พ.ศ. 2561 กรมท่าอากาศยานได้เริ่มปรับปรุงภายในอาคารผู้โดยสารหลังจากไม่ได้มีการปรับปรุงอาคารหลังนี้มานานกว่า 20 ปี โดยทยอยปิดทีละส่วน จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562[5][6] อาคารสถานที่ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีและกองบิน 21 มีพื้นที่ท่าอากาศยานรวมกันทั้งหมด 3,876 ไร่[7] อาคารผู้โดยสาร
ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีมี 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และมีความยาว 3,000 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 70 เมตร โดยการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน สามารถรองรับอากาศยาน CODE E ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีมีทางขับสู่ลานจอดอีก 2 เส้น โดยมีความกว้างเส้นละ 30 เมตร และมีความยาวเส้นละ 230 เมตร แผนการพัฒนาท่าอากาศยานปลายปี พ.ศ. 2563 กรมท่าอากาศยานมีแผนที่จะก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสาร และปรับปรุงลานจอดรถยนต์ภายในท่าอากาศยานต่างๆ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางจากทางอากาศไปทางบกแบบไร้รอยต่อ โดยในปี พ.ศ. 2564 ได้มีแผนนำร่องก่อสร้างก่อนที่ท่าอากาศยาน 2 แห่ง ได้แก่ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี และท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี[8] รายชื่อสายการบินรายชื่อสายการบินที่ให้บริการ
บริการ Fly’n’Ride service ของนกแอร์ (Nok Air) สู่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่
รายชื่อสายการบินบริการขนส่งสินค้า
รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ
สถิติข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
การเดินทางสู่ท่าอากาศยานท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีตั้งอยู่ห่างจากถนนอุปลีสานประมาณ 1,200 เมตร หรือห่างจาก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-เดชอุดม) ประมาณ 2 กิโลเมตร มีลานจอดสามารถจอดรถจักรยานยนต์ได้ประมาณ 100 คัน และลานจอดรถยนต์ทั้งหมด 2 ลานจอด สามารถจุรถยนต์ได้ประมาณ 700 คัน คือ[11]
ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่า และบริการแท็กซี่มิเตอร์ราคาเริ่มต้น 40 บาท และรถ Smart Bus เส้นทาง สนามบิน – ขนส่ง – สนามบิน อัตราค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย[11] ดูเพิ่มวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
อ้างอิง
|