ท่าอากาศยานหัวหิน
ท่าอากาศยานหัวหิน-ชะอำ หรือ สนามบินบ่อฝ้าย (IATA: HHQ, ICAO: VTPH) ตั้งอยู่ในตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542[2] นอกจากนี้ท่าอากาศยานหัวหินยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน และ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน ซึ่งดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน หัวทางวิ่งของท่าอากาศยานหัวหินด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะอยู่คร่อมทางรถไฟสายใต้และถนนเพชรเกษม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผู้ใช้เส้นทางจากชะอำเข้าตัวเมืองหัวหินทั้งทางถนนและทางรถไฟ จะต้องลอดผ่านอุโมงค์ใต้ทางวิ่ง ประวัติท่าอากาศยานหัวหินเดิมมีชื่อว่าสนามบินบ่อฝ้าย แต่เดิมมีเพียงเครื่องบินที่ใช้ในการทหารเท่านั้น สร้างในปี 2478[3] ซึ่งมีกองทัพอากาศเพียงสังกัดหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินหรือการขนส่งทางอากาศ ทางกองทัพอากาศได้มีการสำรวจพื้นที่ซึ่งเป็นของทางราชการ และมีการปรับปรุงให้สามารถใช้ประโยชน์กับพื้นที่นั้นๆ จึงได้มีการย้ายสนามบินของกองทัพอากาศ จากที่สนามบินหนองบ้วย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากพื้นที่นั้นไม่สามารถขยายให้เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น-ลงได้ มาใช้พื้นที่สนามบินบ่อฝ้าย ตำบลบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ตั้งปัจจุบัน ที่ได้มีการปรับปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในระยะแรกเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สนามบินเพื่อทางการทหารเท่านั้น หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2498 การขนส่งทางอากาศได้เป็นที่แพร่หลาย บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบินแบบ DC-3 หรือ DAKOTA มาทำการบินขึ้น-ลง ณ สนามบินบ่อฝ้าย เฉพาะฤดูฤดูร้อนเท่านั้น โดยมีกองทัพอากาศคอยควบคุมดูแล และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกของท่าอากาศยาน เป็นท่าอากาศยานหัวหิน โดยมีการส่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบจากของกองทัพอากาศ มาเป็นพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) กระทรวงคมนาคม[4] อาคารสถานที่ท่าอากาศยานหัวหินมีพื้นที่ทั้งหมด 492 ไร่ มีอาคารผู้โดยสารหลังเดียว สูง 2 ชั้น ขนาด 7,200 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คน/ชั่วโมง[5] และพื้นที่ลานจอดเครื่องบินขนาด 11,000 ตารางเมตร รองรับเครื่องบิน แอร์บัส เอ 320 ได้ประมาณ 3 ลำ ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)ท่าอากาศยานหัวหินมีทางวิ่ง 1 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) กว้าง 35 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และยาว 2,100 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ในด้านทิศเหนือ ขนาดกว้าง 65 เมตร และยาว 60 เมตร และมีทางขับทั้งหมด 3 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) มีความยาวรวมกัน 155 เมตร และกว้าง 23 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 5 เมตร[5] อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่งอุโมงค์บ่อฝ้าย หรือที่มักเรียกกันว่า "อุโมงค์ทางลอดสนามบินบ่อฝ้าย"[6] เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดและอุโมงค์ถนนลอดของถนนเพชรเกษม ที่มีลักษณะลอดผ่านทางวิ่งของสนามบินซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายทางวิ่งที่ขยายระยะความยาวออกมาจนกระทั่งข้ามเส้นทางรถไฟสายใต้และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตัวอุโมงค์รถไฟเป็นทางลอดที่สร้างขึ้นโดยใช้ท่อคอนกรีตสำเร็จรูปสี่เหลี่ยม ใต้ทางวิ่งของสนามบินหัวหิน รายชื่อสายการบินการใช้งานในปัจจุบันท่าอากาศยานหัวหินในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน เป็นสถานที่ฝึกสอนหลักสูตรภาคอากาศ(นักบิน) โดยใช้ทางวิ่งของท่าอากาศยานในการขึ้น-ลงของอากาศยานฝึกบิน มีอาคารและโรงจอดอากาศยานของศูนย์ฝึกการบินตั้งอยู่บริเวณใกล้กับหัวทางวิ่งฝั่งที่ติดกับทะเล รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ
รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ
สถิติข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
การเดินทางสู่ท่าอากาศยานท่าอากาศยานหัวหินตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) โดยหน้าอาคารผู้โดยสารมีลานจอดรถยนต์ที่มีความจุประมาณ 40 คัน และไม่สามารถจอดรถยนต์ค้างคืนได้[9] บริเวณพื้นที่รองรับผู้โดยสารขาเข้าหลังศุลกากร มีบริษัทรถเช่าอยู่ 1 บริษัท อ้างอิงวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ท่าอากาศยานหัวหิน
|