บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัดตราสัญลักษณ์ของบริษัท |
ชื่อท้องถิ่น | Dhanarak Asset Development Company Limited |
---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
---|
อุตสาหกรรม | การจัดการสินทรัพย์ |
---|
ก่อตั้ง | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-05-25) |
---|
สำนักงานใหญ่ | 120 หมู่ 3 อาคารธนพิพัฒน์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ |
---|
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย |
---|
บุคลากรหลัก | ว่าง (ประธานกรรมการบริษัท) ทวารัฐ สูตะบุตร (ประธานกรรมการบริหาร) นาฬิกอติภัค แสงสนิท (กรรมการผู้จัดการ) |
---|
บริการ | การลงทุน การก่อสร้างอาคารในโครงการต่าง ๆ และบริหารจัดการทรัพย์สิน |
---|
รายได้จากการดำเนินงาน | 2,907.23 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
รายได้สุทธิ | 5,055.56 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
สินทรัพย์ | 37,956.28 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 5,005.39 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
พนักงาน | 227 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
บริษัทแม่ | กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง |
---|
บริษัทในเครือ | บริษัท ดีเอดี เอสพีวี จำกัด |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของบริษัท |
---|
บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ลงทุน ก่อสร้างอาคารและบริหารโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร และบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นของรัฐตามนโยบายรัฐบาล
ประวัติ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 อนุมัติให้กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์ ดำเนินการโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียนของ ธพส. และให้กรมธนารักษ์เป็นหน่วยงานกำกับดูแล ธพส.
บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียนจำนวน 258,338,120 บาท โดยแบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ ทั้งสิ้นจำนวน 25,833,812 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดเป็นจำนวน 25,833,805 หุ้น
ต่อมาบริษัทฯ ได้รับโอนศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ มาจากสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)[2] และได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของ ให้ดำเนินการตกแต่งภายในอาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานใหม่ของกระทรวงการคลัง[3]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
พลังงาน | | |
---|
ขนส่ง | |
---|
สื่อสาร | |
---|
สาธารณูปการ | |
---|
อุตสาหกรรม | |
---|
เกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติ | |
---|
พาณิชย์และบริการ | |
---|
สังคมและเทคโนโลยี | |
---|
สถาบันการเงิน | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทอื่น ๆ* | |
---|
* หมายเหตุ: เป็นองค์กรที่กองทุน FIDF เคยถือหุ้น หรือถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบ ซึ่งภายหลังในปี 2563 มีการตีความว่ากองทุนฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรที่กองทุนฯ ถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบ (ธนาคารกรุงไทย) สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ |