โทรคมนาคมแห่งชาติ
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: National Telecom Public Company Limited) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อย่อว่า เอ็นที (NT) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทยในรูปแบบบริษัทมหาชนจำกัด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง กสท โทรคมนาคม และทีโอที เพื่อลดการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกัน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ตามมติของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัยที่ 2 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นในสัดส่วน 100%[3] ประวัติก่อนการควบรวมกิจการแนวคิดในการควบรวมทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปัจจุบันคือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) โดยเห็นควรให้ทั้ง 2 หน่วยงานควบรวมกิจการกัน เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน เพิ่มศักยภาพขององค์กรในการแข่งขันกับเอกชน และเพื่อความอยู่รอดขององค์กร แต่แนวคิดนี้ถูกคัดค้านอย่างหนักจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้ง 2 หน่วยงานที่เล็งเห็นผลประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ จึงยุติโครงการไปชั่วคราว[4][5] ต่อมาในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัยที่ 1 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติให้ทั้ง 2 หน่วยงานจัดตั้งบริษัทย่อย เพื่อแยกธุรกิจบางส่วนที่ทั้ง 2 หน่วยงานดำเนินงานซ้ำซ้อนกันออกมาต่างหาก ดังนี้
แต่มติดังกล่าวก็ยังคงถูกคัดค้านจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้ง 2 หน่วยงานเช่นเดิม เนื่องจากเห็นว่าจะมีผลกระทบหลายด้าน และไม่ได้แก้ปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 หน่วยงานอย่างจริงจัง รวมถึงเป็นการเพิ่มบริษัทสำหรับดำเนินงานโทรคมนาคมของรัฐโดยไม่จำเป็น[7] แต่หลังจากจัดตั้งบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งแล้ว ทั้งทีโอทีและ กสท โทรคมนาคม ก็ได้ทยอยโอนย้ายพนักงานไปทำงานที่บริษัทย่อยทั้ง 2 แห่ง การควบรวมกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2561 จึงมีการเสนอให้กลับมาใช้แนวทางเดิมของปี พ.ศ. 2545 โดยการควบรวมกิจการของทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เข้าด้วยกัน[4] ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานก็เห็นตรงกันกับข้อเสนอดังกล่าว แต่ก็ยังมีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับวิธีการควบรวมและระยะเวลา จนกระทั่งวันที่ 12 กันยายน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้มีมติให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 หน่วยงานควบรวมกิจการกันแล้วตั้งเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และทั้ง 2 หน่วยงาน จัดทำรายละเอียดในการควบรวมกิจการให้ครบถ้วนเพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป พร้อมทั้งให้เลิกบริษัทย่อยทั้ง NBN และ NGDC และให้พนักงานของทั้ง 2 บริษัทกลับเข้าทำงานที่ต้นสังกัดเดิม[8] ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเห็นชอบในหลักการควบรวมกิจการของทีโอที และ กสท โทรคมนาคม และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป[9] และในที่สุด วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้ ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ควบรวมกิจการเป็นบริษัทเดียวในชื่อ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ (National Telecom; NT) และมีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด และให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งถือเป็นการเลิกบริษัทย่อยทั้ง NBN และ NGDC อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำกับดูแลดำเนินการควบรวมกิจการของทีโอทีและ กสท โทรคมนาคม ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนดคือภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ ครม. มีมติ คือวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[10] แต่ต่อมาก็มีแนวโน้มที่จะขอเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ขยายเวลาควบรวมออกไปอีก 6 เดือน คือเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 เนื่องจากการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้เกิดการติดขัดของกระบวนการด้านเอกสารบางอย่างที่จำเป็นต้องจัดส่งไปยังต่างประเทศ เช่น การแจ้งหนังสือถึงเจ้าหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น[11] ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติรับทราบความคืบหน้าในการควบรวมกิจการ และการใช้ชื่อบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการคือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: National Telecom Public Co., Ltd.; NT Plc.) และเห็นชอบในการที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขอขยายเวลาการควบรวมกิจการออกไป โดยให้เวลาเพิ่มจากวันครบกำหนดเดิมไม่เกิน 6 เดือน คือภายในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องขอขยายเวลาการดำเนินการควบรวมกิจการ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเร่งรัดการดำเนินการเสนอเรื่องการขอขยายเวลาดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีล่วงหน้าก่อนครบกำหนด[12] ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้พูดคุยกับพนักงานและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้งทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เพื่อสื่อสารการขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องให้พนักงานรับทราบ และ/หรือ ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์กรใหม่สำหรับการรับมือการหยุดชะงักของอุตสาหซึ่งกันและกัน เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 ทีโอทีจึงประกาศปิดปรับปรุงระบบการชำระเงินของศูนย์บริการลูกค้าทุกแห่งทั่วประเทศในเช้าวันที่ 7 มกราคม[13] จากนั้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม กสท โทรคมนาคม ก็ได้ประกาศปิดปรับปรุงระบบการชำระเงินของสำนักงานบริการลูกค้าและจุดรับชำระเงินในช่วงเช้าของวันที่ 7 มกราคมเช่นกัน[14] ต่อมาในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นทั้งหมดของทั้งทีโอที กสท โทรคมนาคม และ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้เห็นชอบการควบรวมกิจการระหว่างทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เป็น บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ[15] โดยรวมทุนจดทะเบียนจากทั้ง 2 หน่วยงานเดิม ประกอบด้วย จาก กสท โทรคมนาคม 10,000 ล้านบาท[16] และจากทีโอที 6,000 ล้านบาท[17] รวมทุนจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 16,000 ล้านบาท[18] ต่อจากนั้นในวันที่ 7 มกราคม คณะกรรมการของทั้งทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ได้เดินทางไปจดทะเบียนจัดตั้ง บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ถัดมาในเวลา 10:00 น. พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้แถลงข่าวเปิดตัว บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ แก่สื่อมวลชนภายในหอประชุม และในเวลา 15:00 น. ได้ทำพิธีเปิด บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) อย่างเป็นทางการที่หน้าห้องจัดเลี้ยง อาคารสโมสร ภายในสำนักงานใหญ่ของ กสท โทรคมนาคมเดิม เป็นการเสร็จสิ้นการควบรวมกิจการของทีโอที และ กสท โทรคมนาคม[19][20][21] หลังการควบรวมกิจการหลังจากควบรวมกิจการและจัดตั้ง บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อแข่งขันกับเอกชนสู่การเป็น 1 ใน 3 อันดับผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[21] โดยได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่อย่างเป็นทางการเป็นชุดแรก มีหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร เป็นประธานกรรมการ และนาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานกรรมการของทีโอทีเดิม รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่[21] ส่วนการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่คนแรกนั้นต้องใช้เวลาถึง 2 ครั้ง[22] ระหว่างนี้หม่อมหลวงชโยทิตได้ลาออกจากประธานกรรมการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564[23] โดยต่อมา พลเอก สุชาติ ผ่องพุฒิ อดีตประธานกรรมการของ กสท โทรคมนาคมเดิม มาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ จนกระทั่งได้ พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ อดีตกรรมการผู้จัดการของ กสท โทรคมนาคมเดิม เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่อย่างเป็นทางการคนแรกของ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ และเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[1] ผู้บริหารองค์กรประธานกรรมการ
กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทคู่ค้า
อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น |