สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (Office of the Rubber Replanting Aid Fund) หรือ สกย. (ORRAF) เป็นอดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหากำไร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ปรับปรุง พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2530)[2] เพื่อดำเนินกิจการให้การสงเคราะห์การทำสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรรงบประมาณสร้างโรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้ สกย. จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี ให้ นอกจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จัดตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และราคาที่เป็นธรรม
วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 หน่วยงานนี้ได้ยุบรวมกับ องค์การสวนยาง และ สถาบันวิจัยยาง เป็น การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ตาม พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558[3]
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
- ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นทดแทนยางเก่า และส่งเสริมให้เกษตรกร ที่ไม่มียางมาก่อน ได้ปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดี โดยให้ทุนสงเคราะห์รวมทั้งคำแนะนำทางวิชาการ เพื่อให้มีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น
- พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีเหมาะสม
- พัฒนาระบบ และกลไกตลาด ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ได้รับ ความเป็นธรรม ในด้านราคา
- จัดตั้ง และ พัฒนาองค์เกษตรกรชาวสวนยาง ให้เข้มแข็ง มีศักยภาพ ในการพัฒนา และอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น
แหล่งรายได้
เงินทุนที่นำมาใช้ในการดำเนินงานของ สกย. ได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
- เงินสงเคราะห์ (CESS) เก็บจากผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร ในอัตราที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยการอนุมัติของ คณะรัฐมนตรี ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรากิโลกรัมละ 5 บาท เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้แต่ละปีไม่เกินร้อยละ 5 ให้กรมวิชาการเกษตร นำไปค้นคว้าวิจัยงานยาง ไม่เกินร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของ สกย. และ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ส่งคืนกลับสู่เกษตรกรที่ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ในรูป ของ การช่วยเหลือ ทางด้านวิชาการ และปัจจัยการผลิต เงินสงเคราะห์นี้จะจ่ายเพื่อการอื่นไม่ได้
- เงินงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- เงินสมทบ เพื่อการสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายปี ภายใต้แผนวิสาหกิจ สกย.
- เงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์
การแบ่งส่วนบริหารองค์กร
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร แบ่งการบริหารงานออกเป็น 12 ฝ่าย และมีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด 46 แห่ง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ 56 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัด 12 แห่ง และศูนย์เรียนรู้ยางพารา 4 แห่ง[4] ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา ครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำเนียบประธานคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประธานคณะกรรมการ
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
1. พลเอก สุรจิต จารุเศรนี
|
5 ธ.ค. 2503 – 16 มี.ค. 2507
|
2. พลเอก ไสว ไสวแสนยากร
|
16 มี.ค. 2507 – 27 มิ.ย. 2511
|
3. นายปรีดา กรรณสูต
|
27 มิ.ย. 2511 – 17 ต.ค. 2516
|
4. หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่
|
17 ต.ค. 2516 – 17 มี.ค. 2521
|
5. พันเอก สุรินทร์ ชลประเสริฐ
|
17 มี.ค. 2521 – 18 ส.ค. 2524
|
6. นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
|
18 ส.ค. 2524 – 18 มี.ค. 2527
|
7. นายทรงยศ นาคชำนาญ
|
18 มี.ค. 2527 – 16 ก.ย. 2532
|
8. คุณหญิงสุหร่าย สีวะรา
|
16 ก.ย. 2532 – 17 ม.ค. 2535
|
9. นายเสงี่ยม มาหมื่นไวย
|
17 ม.ค. 2535 – 16 ต.ค. 2537
|
10. คุณหญิงศรีประไพ ผ่องอักษร
|
16 ต.ค. 2537 – 25 มิ.ย. 2540
|
11. พลตำรวจตรี รังสิต ญาโณทัย
|
25 มิ.ย. 2540 – 16 ต.ค. 2544
|
12. พลโท ไพศาล กตัญญู
|
16 ต.ค. 2544 – 17 ธ.ค. 2546
|
13. พลตำรวจโท วิโรจน์ จันทรังษี
|
17 ธ.ค. 2546 – 18 มี.ค. 2549
|
14. พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
|
18 มี.ค. 2549 – 19 มิ.ย. 2550
|
15. นายศุภชัย บานพับทอง
|
19 มิ.ย. 2550 – 17 ส.ค. 2552
|
16. นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์
|
17 ส.ค. 2552 – 4 ต.ค. 2554
|
17. นายชวลิต ชูขจร
|
4 ต.ค. 2554 – 4 ม.ค. 2556
|
18. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล
|
4 ม.ค. 2556 – 15 ก.ค. 2558
|
อ้างอิง
|
---|
พลังงาน | | |
---|
ขนส่ง | |
---|
สื่อสาร | |
---|
สาธารณูปการ | |
---|
อุตสาหกรรม | |
---|
เกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติ | |
---|
พาณิชย์และบริการ | |
---|
สังคมและเทคโนโลยี | |
---|
สถาบันการเงิน | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ | |
---|
อดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทอื่น ๆ* | |
---|
* หมายเหตุ: เป็นองค์กรที่กองทุน FIDF เคยถือหุ้น หรือถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบ ซึ่งภายหลังในปี 2563 มีการตีความว่ากองทุนฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรที่กองทุนฯ ถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบ (ธนาคารกรุงไทย) สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ |