นิพัทธ์ ทองเล็ก
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก เป็นอดีตนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) และเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประวัติชีวิตส่วนตัวพล.อ. นิพัทธ์ เกิดเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของ พ.อ. สนอง และนางไพเราะ ทองเล็ก พล.อ. นิพันธ์ สมรสกับ ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก อดีตนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีบุตร 2 คน การศึกษาพล.อ. นิพัทธ์ สำเร็จการศึกษา ดังนี้[1]
รวมถึงปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ การทำงานพล.อ. นิพัทธ์ เริ่มชีวิตราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ต่อมาได้ปรับย้ายเป็น ผู้บังคับกองร้อยฝึก ร.21 พัน.3 รอ. ปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี โดยในช่วงที่เกิดเหตุกบฎเมษาฮาวาย ซึ่ง พล.อ. นิพัทธ์ ในขณะนั้นครองยศร้อยโท ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการ ได้รับคำสั่งให้นำกำลังชุดปฏิบัติการพิเศษ เข้าควบคุมตัว พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตร และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายก่อการยึดอำนาจ[2] หลังจากนั้น พล.อ. นิพัทธ์ได้ศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้รับตำแหน่งเป็นรองอาวุโสหัวหน้าภารกิจควบคุมการหยุดยิงในอาเจห์ อินโดนีเซีย (Principal Deputy Head of Mission of the Aceh Monitoring Mission) จนเกิดความสงบในจังหวัดอาเจห์ อินโดนีเซีย และชีวิตราชการของเขาก็ก้าวหน้าเป็นลำดับ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยผลงานสำคัญคือเป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ[3]ระหว่าง 21 มกราคม พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม 2557 จากนั้นหลังรัฐประหาร พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. มีคำสั่งให้ย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4], ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม[5] และแต่งตั้งเขาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามลำดับ[6] ในปี พ.ศ. 2563 พล.อ. นิพัทธ์ เคยได้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่กรรมการสรรหาฯ วินิจฉัยว่าเขามีลักษณะต้องห้ามเพราะเพิ่งพ้นจากการดำรงตำแหน่ง สนช.[7] ได้เป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2556[8] ในปี พ.ศ. 2565 พล.อ.นิพัทธ์เป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[9] เขาเสนอให้ปรับปรุงโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพฯ จำนวน 437 แห่ง และแนะนำให้เพิ่มศักยภาพเทศกิจ ให้สามารถช่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินในช่วงเวลากลางคืน[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[11] เป็นคีย์แมนคนสำคัญที่นำไปสู่การจับกุม แป้ง นาโหนด ได้ที่อินโดนีเซีย โดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว สมัยที่เป็นนายทหารกระบวนการสันติภาพที่อาเจะห์ อินโดนีเซีย ประสานงานกับอดีตรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย นายยูซุฟ คัลลา ซึ่งสนิทสนมกันในตอนนั้น ยกหูไปเล่าให้ฟัง จนนำไปสู่การตามล่า แป้ง นาโหนด ร่วมกัน แบบไม่ต้องมีเอกสารทางการแม้แต่ใบเดียว[12] และในปี พ.ศ. 2567 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) และยังได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์มติชน ทุกวันจันทร์ ในคอลัมน์ "ภาพเก่าเล่าตำนาน" อีกทั้งยังมีการทำสารคดีทั้งในยูทูป[13] และ tiktok ช่อง ปู่แป๊ะTIKTOK เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
|