Share to:

 

ประพันธ์ กุลพิจิตร

ประพันธ์ กุลพิจิตร
หัวหน้าพรรคเสรีชน
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มกราคม พ.ศ. 2449
เสียชีวิต3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (88 ปี)
พรรคการเมืองเสรีชน
คู่สมรสคุณหญิงประพิศ กุลพิจิตร

พลเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 และอดีตหัวหน้าพรรคเสรีชน

ประวัติ

พล.อ. ประพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2449 เป็นบุตรของ ร.ต. โพ กับนางเรือน กุลพิจิตร สมรสกับคุณหญิงประพิศ กุลพิจิตร (สกุลเดิม บุนนาค) มีบุตรธิดา 4 คน

ราชการทหาร

พล.อ. ประพันธ์ กุลพิจิตร รับราชการทหาร เคยดำรงตำแหน่งอดีตผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 4 ในกรณีพิพาทกับอินโดจีนของฝรั่งเศส พ.ศ. 2483 และ สงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2485 แม่ทัพภาคที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2501-2506[1] และเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ในระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2510

งานการเมือง

พล.อ. ประพันธ์ กุลพิจิตร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[3]

พล.อ. ประพันธ์ กุลพิจิตร ได้ร่วมกับสมาชิกจำนวนหนึ่งก่อตั้งพรรคเสรีชนขึ้น ในปี พ.ศ. 2517[4] และนำสมาชิกลงสมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 แต่ได้รับเลือกตั้งเพียง 1 ที่นั่ง คือ สมชาย อินทราวุธ จากจังหวัดแพร่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. ทำเนียบผู้บังคับบัญชา กองทัพภาคที่ 3
  2. แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502
  3. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๐, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๒๑๖๑, ๒๒ มิถุนายน ๒๔๘๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๙, ๗ ตุลาคท ๒๔๗๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๒๔, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๘, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๑๘, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 62 หน้า 2249, 12 สิงหาคม 2501
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2510/D/073/2236.PDF
Kembali kehalaman sebelumnya