ปริญญา นาคฉัตรีย์
ปริญญา นาคฉัตรีย์ (เกิด 24 มีนาคม พ.ศ. 2484) ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น[1] อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารการเลือกตั้ง เป็นหนึ่งในกรรมการการเลือกตั้งที่ถูกศาลอาญา พิพากษาให้จำคุก 4 ปี จากการปฏิบัติหน้าที่ ประวัตินายปริญญา เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2484 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ (การบริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา การทำงานปริญญา นาคฉัตรีย์ เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ชุมพร สระบุรี เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน กรมการปกครอง กรมการผังเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ฝ่ายบริหารการเลือกตั้ง จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากศาลอาญา มีคำพิพากษาให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง และให้จำคุก คดีความกรณีจัดการเลือกตั้งศาลอาญา มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง เขาพร้อมกับ พล.ต.อ.วาสนา และนายวีระชัย แนวบุญเนียร เป็นเวลา 10 ปี และให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี ในคดีที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ฟ้องในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งปี 2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อาญามาตรา 83 (ร่วมกันทำผิด)[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น[3] แต่ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ศาลฎีกาพิพากษากลับ เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง จึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงการว่าจ้างพรรคเล็กศาลฎีกา มีคำพิพากษาในการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง เขาพร้อมกับ พล.ต.อ.วาสนา และนายวีระชัย แนวบุญเนียร (เสียชีวิต) ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และ 42 กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ข้อร้องเรียนกล่าวหาพรรคไทยรักไทย ว่าจ้างพรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ลงรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 2549 โดยพลันตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัย พ.ศ. 2542 มาตรา 37, 48 โดยให้จำคุก 2 ปี[4] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|