พรรคประชาธรรมไทย
พรรคประชาธรรมไทย พรรคการเมืองของไทยที่ได้ยื่นจดจองชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นลำดับที่ 53/2561 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยมีนาย พิเชษฐ สถิรชวาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, อดีตผู้อำนวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก., อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และอดีตผู้แทนการค้าไทย เป็นผู้ยื่นคำร้องขอ[1] และเคยได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2562 จำนวน 1 ที่นั่ง ประวัติพรรคประชาธรรมไทย ได้รับหนังสือรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคจาก กกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ที่ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เพื่อรับรองระเบียบ ข้อบังคับ อุดมการณ์และนโยบายของพรรครวมถึงเพื่อทำการเลือกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคโดยในงานได้มีนักร้องลูกทุ่ง นักแสดง และนักแต่งเพลงลูกทุ่งเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกพรรคเช่น รังษี เสรีชัย ไกรลาศ เกรียงไกร รุ่งเพชร แหลมสิงห์ และ ณพนรรจ์ ขวัญประภา โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายพิเชษฐ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ส่วนนายปณชัย แดงอร่าม เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก[2] และได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[3] แต่ในเวลาต่อมาทางพรรคได้ถอนคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคหลังจากคณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 6 คนได้ขอลาออกจากตำแหน่งและสมาชิกพรรคประชาธรรมไทย โดยได้มีการยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเป็นครั้งที่ 2 ต่อ กกต. เมื่อวันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561 กระทั่งวันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ 58/2561 (22) ที่ประชุมมีมติรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาธรรมไทย[4] ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธรรมไทยเมื่อวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติให้ยุบเลิกพรรคและได้ยื่นเรื่องการยุบเลิกพรรคไปยัง กกต. ซึ่งทาง กกต. ก็อนุมัติรับรองการยุบเลิกพรรคแล้ว ซึ่ง นายพิเชษฐ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชารัฐ ตามรอยนาย ไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตหัวหน้า พรรคประชาชนปฏิรูป และพลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์ อดีตหัวหน้า พรรคประชานิยม ที่ยุบเลิกพรรคและย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[5] คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธรรมไทย
ประวัติการทำงานในรัฐสภา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |