พรรคมาตุภูมิ
พรรคมาตุภูมิ (อังกฤษ: Matubhum Party) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2551 โดยมีชื่อเดิมว่า "พรรคราษฎร" และเริ่มมีบทบาททางการเมืองในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังการเข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคของกลุ่มวาดะห์ และกลุ่มปากน้ำ นำโดยวัฒนา อัศวเหม และสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าพรรค ประวัติพรรคมาตุภูมิ หรือพรรคราษฎร ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เดิมชื่อพรรคราษฎร และเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคมาตุภูมิ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[2] ในระยะแรกพรรคราษฎร ยังไม่มีบทบาททางการเมือง เนื่องจากไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด ต่อมากิจการของพรรคมาตุภูมิ ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค ดร.มั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยสมาชิก ส.ส.กลุ่มวาดะห์ และกลุ่มปากน้ำของนายวัฒนา อัศวเหม ย้ายเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรค[3] จากนั้นได้มีการเชิญ พลเอก ดร.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธาน คมช. เป็นประธานพรรค[4] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา[5] โดยมี ดร.มั่น พัธโนทัย เป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติเลือกพลเอก ดร.สนธิ บุณยรัตนกลิน เป็นหัวหน้าพรรค และนายอุดมศักดิ์ ศรีสุทิวา เป็นเลขาธิการพรรค[6] ในปี พ.ศ. 2561 พรรคมาตุภูมิถูกยุบเนื่องจากไร้ผู้สนับสนุนพรรคที่เข้มแข็ง และ พลเอก ดร.สนธิ บุญยรัตกลินได้แก้ปัญหาโดยการนำสมาชิกพรรคที่เหลือเข้าร่วมพรรคชาติไทยพัฒนา[7][8] โดยพรรคมาตุภูมิได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลิกพรรคมาตุภูมิและได้ส่งเรื่องให้ กกต. พิจารณาซึ่งที่ประชุม กกต. ครั้งที่ 70/2561 (34) วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เห็นชอบให้ยุบเลิกพรรคมาตุภูมิพร้อมกับพรรคการเมืองอีก 2 พรรคคือ พรรคเสรีนิยม และ พรรคพลังพลเมือง โดยได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอน 111 ก หน้า 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ประวัติการทำงานในรัฐสภา
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ที่ประชุมได้เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเพื่อให้สมาชิกลงมติเลือก จำนวน 2 คน คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 6 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ผลการลงมติในครั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคมาตุภูมิ ทั้ง 3 คน ลงมติสนับสนุนพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี การเข้าร่วมรัฐบาลอภิสิทธิ์ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคเพื่อแผ่นดิน) บางส่วนลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากพรรคภูมิใจไทย ให้ขับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากการร่วมรัฐบาล ทำให้นายกรัฐมนตรี ต้องมีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยการตัดโควตารัฐมนตรีของกลุ่ม ส.ส. พรรคเพื่อแผ่นดิน และดึงพรรคมาตุภูมิมาเข้าร่วมรัฐบาลแทน ซึ่งรัฐมนตรีในโควตาของพรรคมาตุภูมิ คือ ดร.มั่น พัธโนทัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (แทนนายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์) การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554พรรคมาตุภูมิ เข้าร่วมเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคมาตุภูมิ ได้ลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย ซึ่งเป็นการลงมติที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน บุคคลสำคัญและ ส.ส. ของพรรค
คณะกรรมการบริหารพรรค
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|