พรรคไทยก้าวหน้า (พ.ศ. 2565)
พรรคไทยก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งพรรคเมื่อ พ.ศ. 2565 ปัจจุบันมีนายวัชรพล บุษมงคล เป็นหัวหน้าพรรค, นายภูชิสส์ ศรีเจริญ เป็นเลขาธิการพรรค[2] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 คน ประวัติพรรคไทยก้าวหน้าจดทะเบียนก่อตั้งพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นลำดับที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีนายวัชรพล บุษมงคล อดีตเลขาธิการพรรคแทนคุณแผ่นดิน และนายภูมินทร์ วรปัญญา ญาติของนายนิยม วรปัญญา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี (ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเคยเป็นเลขานุการ ส.ส. ของนายนิยม อดีตคณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรกตามลำดับ มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 57 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี[3] โดยใช้เครื่องหมายมีลักษณะเป็นริ้วสีน้ำเงิน และริ้วสีแดงซ้อนกัน ในลักษณะช้อนขึ้นรองรับอักษรภาษาไทยสีน้ำเงินคําว่า “พรรคไทยก้าวหน้า” ทั้งหมดอยู่บนพื้นสีขาว ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยก้าวหน้าได้จับมือกับพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ไม่ได้ที่นั่งในสภาอีก 4 พรรคคือพรรคทางเลือกใหม่, พรรคภาคีเครือข่ายไทย, พรรคประชากรไทย และพรรคไทยชนะ ออกแถลงการณ์ร่วมกันเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วที่สุด[4] พรรคไทยก้าวหน้าเป็นที่ถูกพูดถึงหลังจากที่นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครของพรรคก้าวไกลที่ถูกขับออกจากพรรคจากกรณีคุกคามทางเพศย้ายเข้ามาสังกัดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ทำให้นายไชยามพวานกลายเป็น ส.ส. คนแรกของพรรค[2] ต่อมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 พรรคไทยก้าวหน้าได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคโดยมีนายไชยามพวาน ส.ส. คนแรกของพรรคเข้าร่วมงาน พร้อมกับชูอุดมการณ์ทางการเมือง "ประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุด"[5]
บุคลากรหัวหน้าพรรค
เลขาธิการพรรค
การเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคไทยก้าวหน้าส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งสิ้น 13 คน แบบแบ่งเขตจำนวน 5 คนและเสนอชื่อแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรคจำนวน 2 คน คือนายวัชรพล หัวหน้าพรรค และพลเอกสิทธิ์ สิทธิมงคล ประธานที่ปรึกษาพรรค[6] ผลปรากฏว่าทางพรรคได้คะแนนเพียง 34,559 คะแนนและไม่ได้ที่นั่งในสภาแม้แต่ที่นั่งเดียว[4] ผลการเลือกตั้งทั่วไป
อ้างอิง
|