พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451) พระนามเดิม หม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ ภาณุพันธุ์ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ที่ต่อมาได้เสกสมรสเป็นพระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยเป็นพระมารดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 8[1] พระประวัติพระชนม์ชีพช่วงต้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับหม่อมเลี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศุภสุทธิ์) สตรีชาวเพชรบุรี[2] เมื่อแรกประสูติทรงฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้า พระบิดาทรงออกพระนามว่า หญิงทิพย์ ประสูติ ณ วังบูรพาภิรมย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428[3] ส่วนพระนามหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ ภาณุพันธุ์ นั้นได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งยังทรงมีความใกล้ชิดกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เพราะโปรดให้ตามเสด็จประพาสหัวเมืองด้วยเสมอ[3] เสกสมรสหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์เสกสมรสกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2444) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ กรุณาพระราชทานน้ำสังข์ในพิธีเสกสมรส ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ในตอนค่ำวันเดียวกันนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย และเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ออกไปส่งตัวท่านหญิงที่วังนางเลิ้ง[4] อันเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเป็นที่ประทับ[5] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์และหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ มีพระโอรส 3 องค์ คือ
สิ้นชีพิตักษัยขณะที่หม่อมเจ้ารังษิยากรพระโอรสองค์เล็กมีพระชันษาเพียง 1 ปี ก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เมื่อหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ได้เสวยยาพิษปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451[11] และได้สิ้นชีพิตักษัยเวลา 10.50 นาฬิกา[12] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบันทึกไว้ในจดหมายราชกิจรายวัน มีความบางตอนเกี่ยวกับการสิ้นชีพิตักษัยของท่านหญิงทิพย์ ความว่า[13]
ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก 127 (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชได้ทูลเกล้าฯ ถวายลายพระหัตถ์พร้อมร่างกำหนดการแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมแม้น และพระศพพระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช และหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ในคราวเดียวกันที่วัดเทพศิรินทราวาส[13] ความว่า[14]
แต่เมื่อได้รับลายพระหัตถ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงไม่เห็นด้วย ด้วยทรงวิตกเกี่ยวกับพระพลานามัยของพระอนุชาที่กำลังทรุดโทรมเพราะตรอมพระทัยจากการสูญเสียพระโอรสธิดาในเวลาไล่เลี่ยกัน จึงพระราชทานพระราชกระแสไม่เห็นด้วย ปรากฏในพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 1 ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ความว่า[14]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสเช่นนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนภาณุพันธุวงศ์วรเดชต้องทรงน้อมรับ และเลื่อนงานพระศพออกไปในเดือนกุมภาพันธ์ โดยงานพระราชทานเพลิงได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 ซึ่งได้มีการขุดหลุมบรรจุพระศพขึ้นมา เพื่ออัญเชิญไปพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[15] ส่วนพิธีพระราชทานเพลิงพระศพก็ได้จัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธาน[15] และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ได้อัญเชิญพระสรีรังคารไปประดิษฐานที่อนุสาวรีย์ของราชสกุลภาณุพันธุ์หลังตึกแม้นนฤมิตร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ส่วนพระอัฐินั้นได้อัญเชิญไปตั้งไว้ในวังนางเลิ้งของพระสวามี[15] หลังการสิ้นพระชนม์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้เป็นบิดา ได้นิพนธ์กลอนขึ้นมาบทหนึ่ง จากการที่ทรงเศร้าเสียพระทัยในการสูญเสียพระธิดาอันเป็นที่รัก ความว่า[16]
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอัฐิเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ แม้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จะไม่สามารถลืมความสูญเสียครั้งนี้ได้ แต่ด้วยทรงร่วมงานกระทรวงทหารเรือกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์โดยไม่คำนึงถึงเหตุการณ์ในอดีต ด้วยทรงตระหนักดีถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ พระองค์จึงได้ให้การสนับสนุนพระดำริของกรมหลวงชุมพรฯ ในฐานะที่ทรงเป็นเสนาธิการทหารเรือเสมอมา[17] พระจริยวัตรกล่าวกันว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์เป็นกุลสตรีที่มีพระสิริโฉมงดงามและเพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติที่ฝ่ายในพึงมี หลังการเกศากันต์ได้ไม่นานพระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ก็ได้เข้าไปฝึกหัดอย่างชาววังในสำนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี[1] ภายหลังการถึงแก่กรรมของหม่อมแม้นในปี พ.ศ. 2439 พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ได้ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือน ดูแลความเรียบร้อยของวังบูรพาภิรมย์แทน[1] เมื่อครั้งที่พระบิดาประชวรหนักในวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ซึ่งขณะนั้นได้เสกสมรสและย้ายมาประทับที่วังนางเลิ้งแล้ว ได้ทูลลาพระสวามีมาประทับที่วังบูรพาภิรมย์เพื่อเฝ้าปฐมพยาบาลบิดาโดยมิได้พักผ่อน ทำให้พระวรกายอ่อนแอลงหลังจากนั้น[18] จึงถือว่าพระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์เป็นพระธิดาคู่ทุกข์คู่ยากของพระบิดาโดยแท้จริง[1] จากความผูกพันดังกล่าวทำให้พระบิดามีพระเมตตาต่อพระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์มากเป็นพิเศษ ดังคำกล่าวของพระบิดา ซึ่งได้กล่าวถึงท่านหญิงในลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพิธีเกศากันต์ ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2439 ตอนหนึ่ง ความว่า[19]
พระเกียรติยศพระอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
อ้างอิง
|