สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; 20 กันยายน พ.ศ. 2310 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือประชาชนเรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระโสทรเชษฐภคินีพระองค์รองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระชายา[1]ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า "บุญรอด" เสด็จพระราชสมภพในเวลาเช้าของวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2310[2] ณ ตำบลอัมพวา เมืองราชบุรี (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระโสทรเชษฐภคินีพระองค์รองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) บิดาคือเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน เศรษฐีเชื้อสายจีนย่านถนนตาล ในอาณาจักรอยุธยา[3] เมื่อแรกเริ่มเจ้าคุณชีโพ (พระขนิษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ได้ให้การอุปถัมภ์บำรุง คุณบุญรอดจึงนับถือเจ้าคุณชีโพเป็นพระมารดาเลี้ยงเสมอมา[3] พระองค์มีพระภราดาและพระภคินี รวม 6 พระองค์ ได้แก่
เมื่อคุณทองด้วงได้เข้าถวายตัวรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตามคำชักชวนของพระมหามนตรี (บุญมา) ผู้เป็นน้องชาย โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น พระราชริน (พระราชวรินทร์) เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และย้ายมาอาศัยอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2311 คุณสาพร้อมสามีและบุตรได้ตามเข้ามาตั้งนิวาสสถานและโรงแพที่ตำบลกุฎีจีน (ปัจจุบันคือพระวิหารและหอไตรวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร) ส่วนแพอยู่ในคลองบางกอกใหญ่ตรงวัดโมฬีโลกข้างใต้[3] รับราชการฝ่ายในเมื่อเกิดการผลัดแผ่นดินขึ้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ คุณบุญรอดก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้ามีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด ประทับอยู่ ณ พระตำหนักแดงในพระบรมมหาราชวัง ทรงสนิทสนมกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าประไพวดี พระโสทรขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร[4] ครั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ทรงพระประชวร เหล่าพระประยูรญาติทั้งหลายจึงได้เข้าเยี่ยมพระอาการ การนี้กรมหลวงอิศรสุนทร (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) มีจิตปฏิพัทธ์ หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้เสด็จมาหาเจ้าฟ้าบุญรอดบ่อยครั้ง กระทั่งเจ้าฟ้าบุญรอดทรงพระครรภ์ได้ 4 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกริ้วนัก กรมหลวงอิศรสุนทรจึงทรงขอความช่วยเหลือจากเจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งใช้ความเป็นพระสนมเอกคลายพระกริ้วของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลง[5] แม้จะไม่ทรงลงพระอาญากระนั้นก็ทรงห้ามไม่ให้เข้าเฝ้าและไม่ให้ค้าขายด้วยสำเภาเป็นการตัดรายได้กรมหลวงอิศรสุนทร เพราะขัดเคืองพระทัยและทรงห่วงว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโสทรเชษฐาของเจ้าฟ้าบุญรอด จะน้อยพระทัย อีกทั้งเกรงว่าจะทำให้วังหน้าและวังหลังจะดูถูกฝ่ายวังหลวงได้ จึงมีรับสั่งให้แยกจากกันโดยให้เจ้าฟ้าบุญรอดเสด็จไปประทับที่วังของกรมหลวงเทพหริรักษ์[4] เมื่อเวลาผ่านไปได้ 3 เดือน กรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ให้ทรงพาพระองค์เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอรับพระราชทานพระอภัยโทษ กระทั่งทรงให้เข้าเฝ้าและค้าขายสำเภาได้ตามเดิม จากนั้นจึงเสด็จเข้าเฝ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เพื่อขอรับเจ้าฟ้าบุญรอดกลับ แต่กรมหลวงเทพหริรักษ์ไม่ไว้พระทัยที่กรมหลวงอิศรสุนทรมีเหล่าพระสนม นางใน และบาทบริจาริกามากมายอยู่แล้ว จึงทรงให้กรมหลวงอิศรสุนทรทรงปฏิญาณว่า "จะมิให้บุตรและภริยาทั้งปวงเป็นใหญ่กว่าฤๅเสมอเท่าเจ้าฟ้าบุญรอด" จึงทรงยอมมอบเจ้าฟ้าบุญรอดให้[4] ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ระบุว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยได้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เปนพระอรรคชายา"[6] แต่กระนั้นเมื่อพระราชสวามีเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เจ้าฟ้าบุญรอดไม่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศให้สูงขึ้นแต่อย่างใดในรัชกาล แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าเป็นพระมเหสี ดังปรากฏความว่า "...[ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย] ท่านได้เจ้าฟ้าหญิง ซึ่งเปนพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เปนพระชายา ...ครั้นเมื่อท่านเปนเจ้าแผ่นดินขึ้น ก็มิได้แต่งตั้งยศศักดิ์อันใดอีก แต่คนทั้งปวงเข้าใจว่าท่านเป็นพระมเหสี เรียกว่า สมเด็จพระพันพรรษาฯ นี้คำเดียวกับพันปี เปนคำให้พร..."[1] แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องพระทัยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระขนิษฐาต่างพระมารดา เป็นเหตุทำให้เจ้าฟ้าบุญรอดน้อยพระทัย ไม่เข้าเฝ้าและไม่ถวายเครื่องเสวยที่โปรดปรานแด่พระราชสวามีอีกเลย[7] แม้ว่าพระราชสวามีจะเสด็จไปหาที่พระตำหนักบ่อยครั้ง แต่ก็แข็งพระทัยไม่ยินยอมให้พบจนกระทั่งวันที่พระราชสวามีเสด็จสวรรคต[4] ปลายพระชนม์ชีพหลังการเสด็จสวรรคตของพระราชสวามี พระองค์ทรงนำพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ไปมอบให้แด่พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พร้อมกับตรัสว่า "พระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว น้องยังเล็กนัก ปกครองบ้านเมืองไม่ได้ เจ้าจงรับราชการปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้เป็นสุขเถิด"[4][8] เนื่องจากในขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ในรัชกาลก่อนยังทรงพระเยาว์นัก ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ ราชสมบัติจึงควรกับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ด้วยวัยวุฒิ แล้วพระองค์จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จออกไปประทับกับเจ้าฟ้าน้อย พระราชโอรสพระองค์เล็กที่พระราชวังเดิม แต่ต่างตำหนักกัน[9] และดำรงพระองค์ในปลายพระชนม์ชีพอย่างสงบด้วยการเข้าหาพระพุทธศาสนา พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ด้วยพระโรคชรา สิริพระชนมายุได้ 69 พรรษา ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 3 ความว่า "วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ เวลาเช้า ๔ โมง สมเด็จพระพันวัสสาประชวรพระโรคชราสวรรคตในวันนั้น"[10] ส่วนในหนังสือ จดหมายเหตุโหร ฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ บันทึกไว้ว่า "ปีวอก จ.ศ. ๑๑๙๘ วันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ พันวษานิพพาน เพลาเช้า ๒ โมงเศษ พระชนมายุได้ ๖๙ พรรษา"[11] พระบรมศพประดิษฐานที่พระราชวังเดิม จนกระทั่งพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวงสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2380 จึงได้เชิญพระบรมศพข้ามฟากมาขึ้นที่ท่าวัดพระเชตุพนและเชิญพระบรมศพขึ้นพระยานุมาศเพื่อนำพระบรมศพไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ แห่ไปยังพระเมรุมาศแล้วเชิญขึ้นพระเบญจา ครั้นถึงวันที่ 16 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งใหญ่น้อย ถวายพระเพลิงในวันต่อมา ได้แจงพระรูปลอยพระอังคารเก็บพระบรมอัฐิไว้ในโกศทองคำ ทำการสมโภชอีกวันหนึ่งรวมเป็นสี่วันสี่คืน ครั้นรุ่งขึ้นจึงแห่พระบรมอัฐิลงเรือเอกชัยที่ท่าพระมาสู่พระราชวังเดิม[12] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์แล้ว ในวันพุธที่ 10 มีนาคม จ.ศ. 1213 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2395) จึงทรงตั้งพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชชนนีเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์[13] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ตามที่เป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชกรณียกิจในปี พ.ศ. 2324 ขณะที่คุณบุญรอด มีอายุได้ 14 ปี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ส่งเธอไปเป็นราชทูตยังเมืองกวางตุ้ง พร้อมด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช และพระมหานุภาพ ทั้งนี้ได้สันนิษฐานว่าคุณบุญรอดคงสามารถเจรจาด้วยภาษาจีนได้ดี เนื่องด้วยเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ผู้บิดามีเชื้อสายจีน ในการทูตดังกล่าวนี้ได้รับการพระราชทานเลี้ยงอย่างดีจากจักรพรรดิเฉียนหลง ทั้งยังได้จัดซื้ออาวุธ และอุปกรณ์การก่อสร้างกลับมายังกรุงสยามในปี พ.ศ. 2325[8] เจ้าฟ้าบุญรอดทรงรับหน้าที่กิจการด้านเครื่องต้นรับใช้พระราชสวามีสืบต่อจากพระมารดา[14] ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้กล่าวถึงพระเกียรติคุณของพระองค์ความว่า "...พระองค์เป็นอัจฉริยะนารีรัตน์ พิเศษพระองค์หนึ่ง ทรงชำนิชำนาญในกิจการของสตรีที่อย่างดีมีปากศิลปวิธีการชั่งทำกับเข้าของกินเป็นเลิศอย่างเอก..."[15] ชีวิตส่วนพระองค์พระองค์มีเชื้อสายจีนจากบิดาคือเจ้าขรัวเงิน และมีการสันนิษฐานว่าพระองค์จึงน่าจะสามารถใช้ภาษาจีนได้เป็นอย่างดี[8] แม้จะมีเชื้อสายจีนแต่พระองค์มีฉวีค่อนข้างคล้ำ พระองค์มักถูกเปรียบเปรยว่าเป็น "จินตะหรา" จากวรรณคดีเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ของพระราชสวามี ด้วยนางจินตะหรามีพระฉวี "ดำแดงแน่งน้อยนวลระหง"[16] ทั้งนี้พระองค์มีฝีมือในกิจการเครื่องต้น ทรงประกอบอาหารคาวหวานได้อย่างประณีตและมีรสโอชา ทรงใส่พระทัยในรายละเอียดของอาหารเป็นอย่างดี ดังปรากฏความว่า[15]
พระองค์ทรงถือธรรมเนียมโบราณอยู่หลายประการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจำไว้ และรวบรวมในหนังสือ ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย เช่น "...ต้นข้าวเหนียว ต้นข้าวเจ้า สารพัดต้นข้าว ไม่ให้ปลูกลงในดินหรือในท้องร่องหรือในสระแลในที่น้ำขังทั้งปวงที่อยู่ในกำแพงบ้าน จะปลูกได้แต่ในอ่างในถังที่เป็นของยกได้ไม่ห้าม" และ "ถ้ามีการมงคลสองอย่างคือ โกนจุก ๑ ลงท่า ๑ อย่าให้มีเทศนา ให้มีแต่สวดมนต์แลเลี้ยงพระสงฆ์ตามธรรมเนียมการโกนจุกลงท่า โดยมีศรัทธาจะทำการฉลองพระต่อไปจะใคร่มีเทศนาเป็นการบุญก็ได้ไม่ห้ามขาด แต่ขอให้ไว้ระยะเริ่มงานเป็นการบุญต่างหาก อย่าให้เอามาปะปนระคนกับการโกนจุกลงท่า" เป็นต้น[17] พระราชบุตรสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระประสูติการพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จำนวน 5 พระองค์ คือ[18]
พระอิสริยยศ
พระราชานุสรณ์
พลับพลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทราฯ ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ปลูกอยู่ในสวนพระราชวังเดิม กล่าวกันว่า เป็นพลับพลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงพระผนวชอยู่) ประทับเฝ้าเยี่ยมพระราชมารดา หลังจากสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเสด็จสวรรคตแล้ว โปรดให้รื้อมาปลูกที่ริมคูด้านหน้าออกถนนพระสุเมรุ หน้าพระตำหนัก วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นอาสนศาลา ต่อมาจึงย้ายมาปลูกใหม่ในบริเวณตำหนักจันทร์ [20]
สะพานสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ ตั้งอยู่ ณ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองเชื่อมระหว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา กับเขตเทศบาลตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กรมศิลปากรได้พิจารณาเสนอชื่อสะพานตามพระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เนื่องจากพระองค์เสด็จพระราชสมภพ ณ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อ สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าและสะพานสมเด็จพระอมรินทร์ ซึ่งได้ตั้งชื่อเป็นพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยย่อเช่นเดียวกัน[21] ในวัฒนธรรมสมัยนิยมมีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ได้แก่
พงศาวลี
อ้างอิง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
|