ฟุตบอลทีมชาติเลบานอน
ฟุตบอลทีมชาติเลบานอน (อาหรับ: المنتخب اللبناني لكرة القدم; ฝรั่งเศส: Équipe du Liban de football) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเลบานอน[2] มีฉายาคือ "ต้นซีดาร์" อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลเลบานอน (LFA) ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) อันดับโลกฟีฟ่าที่สูงที่สุดคืออันดับที่ 85 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 สนามเหย้าของเลบานอนคือสนามกีฬาคามิลล์ ชามูน สปอร์ตซิตี ในเบรุต และสนามกีฬานานาชาติไซดาในไซดอน เลบานอนไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก แต่เคยเป็นเจ้าภาพ เอเชียนคัพ 2000 ซึ่งพวกเขาจบด้วยอันดับสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม เลบานอนเข้าร่วมเอเชียนเกมส์หนึ่งครั้งในปี 1998 และถูกน็อคตกรอบที่สอง เลบานอนเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตกและอาหรับเนชันส์คัพเป็นประจำ โดยเคยเป็นเจ้าภาพอาหรับเนชันส์คัพ 1963 ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่สาม และเคยจบอันดับที่สี่ในปี 1964 และ 1966 เลบานอนยังเคยจบอันดับที่สามในการแข่งขันแพนอาหรับเกมส์ปี 1957 และ 1997 และเคยจบอันดับที่สี่ในปี 1961 สนามสนามกีฬาคามิลล์ ชามูน สปอร์ตซิตีสนามกีฬาคามิลล์ ชามูน สปอร์ตซิตี (อาหรับ: ملعب مدينة كميل شمعون الرياضية) มีพื้นที่ 47,700 ตารางเมตร ความจุ 48,837 ที่นั่ง[3] ตั้งอยู่ในย่าน Bir Hassan เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปัจจุบันใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลและกรีฑา ก่อสร้างในปี ค.ศ. 1957 และสร้างใหม่ในปี ค.ศ. 1997 ในสภาพที่ต้านทานแผ่นดินไหวได้ ที่จอดรถรองรับได้ 2,590 คัน ในปี ค.ศ. 1998 สนามแห่งนี้ใช้จัดงานแพนอาหรับเกมส์ และในปี ค.ศ. 1999 ก็ใช้จัดงานฟุตบอลชิงแชมป์อาหรับ สนามแห่งนี้ยังเป็นสนามหลักในเอเชียนคัพ 2000 และเคยใช้จัดการแข่งขันแฟรงโคโฟนเกมส์ในปี ค.ศ. 2009 สนามกีฬานานาชาติไซดาสนามกีฬานานาชาติไซดา (อาหรับ: إستاد صيدا الدولي) มีความจุ 22,600 ที่นั่ง ตั้งอยู่ที่เมืองไซดอน ประเทศเลบานอน โดยสนามแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อขยายพื้นที่ของสนามกีฬาเทศบาลไซดาแห่งเก่า และใช้จัดการแข่งขันเอเชียนคัพ 2000 ปกติแล้วสนามแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลทั่วไปและกรีฑา สนามแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมือง และเป็นสนามที่ตั้งอยู่ใกล้กับทะเลมากที่สุดในโลก สถิติการแข่งขันฟุตบอลโลก
เอเชียนคัพ
ผลงานอื่น ๆอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|