Share to:

 

ภาษาคุชราต

ภาษาคุชราต
ગુજરાતી
ศัพท์ "คุชราต" ในอักษรคุชราต
ออกเสียง[ɡudʒəˈɾɑːtiː]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย
ภูมิภาครัฐคุชราต
ชาติพันธุ์ชาวคุชราต
จำนวนผู้พูด56 ล้านคน  (2011)[1][2]
ผู้พูดภาษาที่สอง: 4 ล้านคน[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน แอฟริกาใต้ (ภาษาที่ได้รับการป้องกัน)[4]
ผู้วางระเบียบGujarat Sahitya Akademi, รัฐบาลรัฐคุชราต
รหัสภาษา
ISO 639-1gu
ISO 639-2guj
ISO 639-3guj
Linguasphere59-AAF-h
แผนที่ขอบเขตภาษาคุชราต สีแดงอ่อนคือบริเวณที่เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย และสีแดงเข้มมีประชากรที่ผู้ภาษานี้จำนวนมาก

ภาษาคุชราต (คุชราต: ગુજરાતી, อักษรโรมัน: Gujarātī, คุชราตี, ออกเสียง: [ɡudʒˈɾɑːtiː]) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย โดยหลักพูดโดยชาวคุชราต ภาษาคุชราตสืบต้นตอจากภาษาคุชราตเก่า (ป. ค.ศ. 1100–1500) โดยมีสถานะเป็นภาษาราชการในรัฐคุชราตและดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู ณ ค.ศ. 2011 ภาษาคุชราตเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศอินเดียตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ (55.5 ล้านคน ซึ่งเท่ากับประมาณ 4.5% ของประชากรทั้งประเทศ)[2] ณ ค.ศ. 2007 ภาษานี้เป็นภาษาที่มีผู้พูดมากในอันดับที่ 26 ของโลกตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่[5]

ภาษาคุชราตมีอายุมากกว่า 1,000 ปี และมีผู้พูดมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลก[6] มีผู้อพยพชาวคุชราตที่ใช้ภาษานี้ในเอเชียใต้ส่วนอื่น โดยเฉพาะในมุมไบและปากีสถาน (ส่วนใหญ่อยู่ในการาจี)[7] และยังมีหลายประเทศนอกเอเชียใต้ที่ผู้พลัดถิ่นชาวคุชราตใช้ภาษานี้ ในทวีปอเมริกาเหนือ ภาษาคุชราตถือเป็นหนึ่งในภาษากลุ่มอินเดียที่เติบโตเร็วที่สุดและใช้พูดมากที่สุดในสหรัฐและแคนาดา[8][9] ในทวีปยุโรป ภาษาคุชราตเป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากเป้นอันดับ 2 ในชาวอังกฤษเอเชียใต้ และเป็นภาษาที่มีผู้พูดในลอนดอนมากเป้นอันดับที่ 4[10] นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในแอริกาตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเคนยา, ยูกันดา, แทนซาเนีย, แซมเบีย และแอฟริกาใต้[11][12][13] ส่วนทที่เหลือ มีจำนวนผู้พูดน้อยในฮ่องกง, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย และประเทศแถบตะวันออกกลางอย่างบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[11][14][15]

ประวัติ

เอกสารตัวเขียนใน ค.ศ. 1666 ที่มีข้อความภาษาปรากฤตไชนะในคริสต์ศตวรรษที่ 6 กับคำอธิบายภาษาคุชราตเก่าใน ค.ศ. 1487

ภาษาคุชราตเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากภาษาสันสกฤตโดยทั่วไปแบ่งภาษาในกลุ่มนี้ออกเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาคือ:[16]

  1. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันโบราณ ได้แก่ภาษาพระเวทและภาษาสันสกฤตคลาสสิก
  2. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางได้แก่ภาษาปรากฤตสำเนียงต่างๆ และภาษาอปพราหมศัส
  3. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาเบงกอล

จากทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมา ภาษาคุชราตมีพัฒนาการแยกจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ:[17]

  1. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันแยกเป็นกลุ่มเหนือ กลุ่มตะวันออกและตะวันตกขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะ เช่นเปลี่ยนเสียงกักเป็นเสียงก้องในกลุ่มเหนือ (ภาษาสันสกฤต ทันตะ เป็นภาษาปัญจาบ ทานต์) และเสียงจากฟันและเสียงม้วนลิ้นรวมกับเสียงเพดานแข็ง (เช่น ภาษาสันสกฤต สันธยา เป็น ภาษาเบงกอล สาฌ)[18]
  2. กลุ่มตะวันตกแยกเป็นกลุ่มกลางและกลุ่มใต้
  3. กลุ่มกลางแยกเป็นภาษาคุชราต/ราชสถาน ภาษาฮินดีตะวันตก และภาษาปัญจาบ/ลหันทะ/สินธี ตามลักษณะการเปลี่ยนกริยาช่วยและปรบทในภาษาคุชราต/ราชสถาน[16]
  4. ภาษาคุชราต/ราชสถาน แยกเป็นภาษาคุชราตและภาษาราชสถานโดยการพัฒนาของลักษณะบางอย่าง เช่นเครื่องหมายความเป็นเจ้าของ -n- ในพุทธศตวรรษที่ 20[19]

การเปลี่ยนแปลงจากภาษาสันสกฤตที่สำคัญที่พบในภาษาคุชราตได้แก่:[17]

  • สัทวิทยา ได้แก่ ตัดเสียงสระที่ตัวสุดท้ายออก เปลี่ยนกลุ่มพยัญชนะเป็นพยัญชนะตัวเดียวที่มีเสียงสระยาวขึ้น
สันสกฤต ปรากฤต คุชราต ไทย อ้างอิง
hasta hattha hāth มือ [20]
sapta satta sāt เจ็ด [21]
aṣṭā aṭṭha āṭh แปด [22]
sarpa sappa sāp งู [23]
  • ด้านลักษณะคำ ได้แก่ ลดจำนวนคำประสม รวมทวิพจน์ เข้ากับพหูพจน์ เปลี่ยนปัจจัยแบบการกเป็นแบบปรบท พัฒนาโครงสร้างของกาล การกระทำ มาลาที่อ้อมค้อม
  • การเรียงประโยค ได้แก่ตัดสัมพันธการก มีระบบการตกลงที่ซับซ้อน

ภาษาคุชราตเองแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้:[16]

คุชราตเก่า

  • ภาษาคุชราตเก่า (જૂની ગુજરાતી; พ.ศ. 1643 - 2043) บรรพบุรุษของภาษาคุชราตและภาษาราชสถาน[24] ใช้พูดโดยคุรชารส์ที่อาศัยและปกครองในรัฐคุชราต, ปัญจาบ, ราชปุตนะ และอินเดียตอนกลาง[25][26] เอกสารในยุคนี้แสดงลักษณะของภาษาคุชราต เช่นรูปแบบของนามแบบกรรมตรง ปรบท[27]และกริยาช่วย มี 3 เพศ เช่นเดียวกับภาษาคุชราตในปัจจุบัน และในราว พ.ศ. 1843 มีการจัดมาตรฐานภาษาขึ้น ในขณะที่ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อภาษาคุชราตโบราณ แต่มีนักวิชาการบางคนเรียกภาษาราชสถานตะวันตกโบราณ โดยถือว่าภาษาคุชราตและภาษาราชสถานไม่แยกออกจากกันในเวลานั้น ไวยากรณ์ที่เป็นทางการของภาษาเริ่มต้นของภาษานี้เขียนโดยนักบวชในศาสนาเชนและนักวิชาการ เหมาจันทระ สุรี ในสมัยกษัตริย์ราชบุตร สิทธราช ชยสิญแห่งฮัญ อญิลลวธะ (ปาตาน) งานเขียนที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่
    • ราสะ เป็นเรื่องเล่าที่เป็นคำสอน
    • ผาคุ
    • พัรมาสี อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติทั้ง 12 เดือน
    • อาขยานะ เป็นบทร้อยกรอง
  • ภาษาคุชราตยุคกลาง (พุทธศตวรรษ 20 -23)แยกออกจากภาษาราชสถาน ปรากฏเสียง ɛ และ ɔ ตัวช่วย -ch และเครื่องหมายความเป็นเจ้าของ -h- ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างภาษาคุชราตยุคโบราณกับยุคปัจจุบันได้แก่
    • u เป็น ə ในพยางค์เปิด
    • เสียงกล้ำ əi, əu เปลี่ยนเป็น ɛ และ ɔ ในพยางค์แรกและเป็น e และ o ในที่อื่น
    • əũ เป็น ɔ̃ ในพยางค์แรกและเป็น ű ในพยางค์สุดท้าย

การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อไวยากรณ์ในลำดับต่อมา ตัวอย่างเช่น ภาคุชราตโบราณมีรูปการกเครื่องมือ-สถานที่ เอกพจน์เป็น -i กลายมาซ้ำกับ การกประธาน-กรรมตรง เอกพจน์ ซึ่งเป็น -ə

คุชราตใหม่

  • ภาษาคุชราตสมัยใหม่ (ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา) ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสัทวิทยาที่สำคัญตัดเสียงท้าย ə's มีคำที่ลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะ มีเครื่องหมายพหูพจน์ใหม่ ลงท้ายด้วย -o[28]

การแพร่กระจาย

ทั้งมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์และมหาตมา คานธีพูดภาษาคุชราตเป็นภาษาแม่ ถึงแม้ว่าจินนาห์ไม่ได้มาจากรัฐคุชราตก็ตาม[29][30] และสนับสนุนให้ใช้ภาษาอูรดู

ในจำนวนผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนใน ค.ศ. 1997 เกือบ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนอยู่ในยูกันดา 50,000 อยู่ในแทนซาเนีย 50,000 คนในเคนยา และเกือบ 100,000 คนในการาจี ประเทศปากีสถาน ซึ่งไม่รวมชาวเมโมนแสนกว่าคนที่ไม่ได้ระบุตนเองเป็นชาวคุชราต แต่อาศัยอยู่ในรัฐคุชราต[31] อย่างไรก็ตาม ผู้นำชุมชนคุชราตในปากีสถานอ้างว่ามีผู้พูดภาษาคุชราตในการาจี 3 ล้านคน[32] และยังพบผู้พูดในแคว้นปัญจาบตอนล่าง[33] ภาษาคุชราตปากีสถานน่าจะเป็นภาษาย่อยของ Gamadia[33]

มหาตมา คานธีใช้ภาษาคุชราตเป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางวรรณกรรม เขาช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการขยายวรรณกรรมภาษานี้[34] และใน ค.ศ. 1936 เขาเสนอแบบการสะกดคำในการประชุมครั้งที่ 12 ของ Gujarati Literary Society[35][36]

ชาวมอริเชียสและเรอูว์นียงหลายคนเป็นลูกหลานชาวคุชราต และมีบางส่วนสามารถพูดภาษานี้ได้[37]

สหราชอาณาจักรมีผู้พูดมากกว่า 200,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลอนดอน โดยเฉพาะในนอร์ธเวสต์ลอนดอน มีชาวคุชราตจำนวนหนึ่งที่มาจากแอฟริกาตะวันออกที่มีการเลือกปฏิบัติและนโยบายการทำให้เป็นแอฟริกาในประเทศที่กลายเป็นเอกราช (โดยเฉพาะในยูกันดาที่อีดี อามินขับไล่ชาวเอเชีย 50,000 คน) ถูกขับออกไปโดยที่มีอนาคตและสิทธิพลเมืองไม่แน่นอน คนที่มีพาสพอร์ตอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานในสหราชอาณาจักร[34][38]

นอกจากชาวคุชราตแล้ว พลเมืองที่ไม่ใช่ชาวคุชราตในรัฐคุชราตสามารถพูดภาษานี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นชาว Kutch (ในฐานะภาษาวรรณกรรม)[34] ปาร์ซิส (รับเป็นภาษาแม่) และผู้อพยพชาวสินธ์ที่นับถือศาสนาฮินดูจากปากีสถาน[39]

สถานะทางการ

ภาษาคุชราตเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการและ 14 ภาษาประจำภูมิภาคของอินเดีย และหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยในปากีสถาน[40] ภาษานี้มีสถานะทางการในรัฐคุชราตและดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู

ภาษาคุชราตได้รับการยอมรับและการสอนในฐานะภาษาชนกลุ่มน้อยในรัฐราชสถาน, รัฐมัธยประเทศ, รัฐมหาราษฏระ และรัฐทมิฬนาฑู และดินแดนสหภาพเดลี[41]

สถานะการเป็นภาษาทางการ

ภาษาคุชราตเป็นภาษาทางการหนึ่งใน 22 ภาษาของอินเดีย และเป็น 1 ใน 14 ภาษาประจำถิ่นของอินเดีย และเป็นภาษาทางการของรัฐคุชราต

สำเนียง

หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยภาษาคุชราตสำเนียงปาร์ซี เมื่อราว พ.ศ. 2435 [42]

สำเนียงที่ถือเป็นมาตรฐานของภาษาคุชราตคือสำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณพโรทะจนถึงอะห์เมดาบัดและทางเหนือ.[43] สำเนียงอื่นๆของภาษาคุชราตได้แก่

  • สำเนียงมาตรฐาน แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงมาตรฐานเสารัตตระ สำเนียงนครี สำเนียงคุชราตบอมเบย์ สำเนียงปัตนุลี
  • สำเนียงกะมะเดีย แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงครัมยะ สำเนียงสุรตี สำเนียงอนาละ สำเนียงพรเดละ สำเนียงคุชราตพรอชตะวันออก สำเนียงจโรตรี สำเนียงปติทรี สำเนียงวโททรี สำเนียงอะห์เมดาบัด สำเนียงปตนี
  • สำเนียงปาร์ซี
  • สำเนียงกถิยวดี แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงฌลวดี สำเนียงโสรถี สำเนียงโหลดี สำเนียงโคหัลวดี สำเนียงภัพนครี
  • สำเนียงบัรวา
  • สำเนียงบกรี
  • สำเนียงตริมุขี แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงฆิสดี

ภาษาใกล้เคียง

ภาษากุจจิหรือภาษากัจฉิหรือภาษาโขชกีเป็นภาษาที่มักจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นสำเนียงของภาษาคุชราต แต่นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่าภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาสินธี

ระบบการเขียน

เขียนด้วยอักษรคุชราตซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรเทวนาครี ต่างกันแต่อักษรคุชราตไม่มีเส้นขีดด้านบนของอักษร ภาษากัจฉิเขียนด้วยอักษรคุชราตด้วยเช่นกัน และทั้งสองภาษานี้เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับแบบเปอร์เซียด้วย

คำศัพท์

โดยทั่วไป ภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่แบ่งคำศัพท์โดยทั่วไปเป็น 3 กลุ่มคือ ตัตสัม ตัคภัพ และคำยืม[44]

ตัคภัพ

ภาษาคุชราตเป็นภาษากลุ่มอินโดอารยันสมัยใหม่ที่เป็นลูกหลานของภาษาศัพท์ในหมวดนี้เกี่ยวข้องกับภาษาสันสกฤต เป็นศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และศัพท์ทางศาสนา

อินโด-อารยันเก่า คุชราต อ้างอิง
ข้า ahám [45]
ตก, ลื่น khasati khasvũ เคลื่อนตัว [46]
ทำให้เคลื่อน arpáyati āpvũ ให้ [47]
รับ, ได้รับ prāpnoti pāmvũ [48]
เสือ vyāghrá vāgh [49]
เท่ากัน, คล้ายกัน, ระดับ samá samũ ขวา, เสียง [50]
ทั้งหมด sárva sau/sav [51]

ตัตสัม

เมื่อเลิกใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาพูด และเปลี่ยนมาสู่ยุคของภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง มีการจัดมาตรฐานให้เป็นภาษาเขียนและภาษาสำหรับศาสนาในยุคนั้น ศัพท์ในหมวดนี้จึงเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตในรูปแบบที่เป็นทางการ ศัพท์เทคนิค มีการผันคำและใช้เครื่องหมายตามแบบภาษาสันสกฤต ตัตสัมโบราณบางคำมีการเปลี่ยนความหมายไปในภาษาสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น ปรสาระหมายถึงการแพร่ ทำให้กระจาย แต่ในปัจจุบันหมายถึงการออกอากาศ คำบางคำเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่เช่น โทรศัพท์ ในภาษาคุชราตใช้ว่าทุรภาษ หมายถึงการพูดในระยะไกล แต่ชาวคุชราตมักใช้ว่า โฟนมากกว่า

ตัตสัม ไทย คุชราต
lekhak นักเขียน lakhnār
vijetā ผู้ชนะ jītnār
vikǎsit ได้รับการพัฒนา vikǎselũ
jāgǎraṇ การทำให้ตื่น jāgvānũ

คำยืมจากภาษาอื่น

นอกจากศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตแล้ว ยังมีศัพท์ที่มาจากภาษาอื่นๆที่มาเป็นคำยืมในภาษาคุชราต ได้แก่ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ และมีบางส่วนมาจากภาษาโปรตุเกสและภาษาคำยืมจากภาษาอังกฤษจัดว่าใหม่ที่สุด ส่วนคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า คำศัพท์จากทั้งสามภาษานี้จัดว่ามีความสำคัญและใช้เป็นศัพท์ทั่วไป ควบคู่กับตัตสัม

ภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ

ประเทศอินเดียเคยถูกปกครองด้วยมุสลิมที่พูดภาษาเปอร์เซียเป็นเวลานาน ทำให้ภาษาในประเทศอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งภาษาคุชราต โดยรับคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเข้ามามาก ตัวอย่างเช่น การใช้คำสันธาน ke ที่มาจากภาษาเปอร์เซีย เมื่อเวลาผ่านไป คำเหล่านี้ถูกทำให้มีลักษณะของภาษาคุชราตมากขึ้น โดยทุกคำมีเครื่องหมายเพศตามแบบภาษาคุชราต

ในขณะที่ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน เช่น ภาษามราฐี ภาษาเนปาลีและภาษาเบงกอลพยายามรักษารากศัพท์ของตนเองไว้ แต่ภาษากลุ่มอินโด-อารยันทางตะวันตก ตอนกลางและตะวันตกเฉียงเหนือเช่นภาษาปัญจาบ ภาษาฮินดูสตานี ภาษาสินธีและภาษาคุชราตกลับรับเอาลักษณะของภาษาเปอร์เซียไว้มาก ภาษาฮินดูสตานีสำเนียงที่ใช้พูดในเดลฮีเคยถูกทำให้เป็นเปอร์เซีย แล้วต่อมาจึงถูกตัดลักษณะของภาษาเปอร์เซียออกแล้วทำให้เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งแยกอินเดียและปากีสถาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาฮินดีและภาษาอูรดูแม้ว่าภาษาคุชราตจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าว แต่ก็มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียมากเช่นกัน การออกเสียงคำยืมเหล่านี้หากเทียบกับภาษาเปอร์เซียใหม่แล้ว จะมีพัฒนาการเป็นเช่นเดียวกับผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอัฟกานิสถานและเอเชียกลางเมื่อ 500 ปีก่อน ผู้อพยพชาวเปอร์เซียที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ หรือที่เรียกว่าชาวปาร์ซี พูดภาษาคุชราตในรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียมาก

ภาษาอังกฤษ

อังกฤษเป็นประเทศที่เข้ามามีอิทธิพลในอินเดียเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของเปอร์เซียและอาหรับ ภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในอินเดียในฐานะภาษาเพื่อการศึกษา การนำศัพท์ภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาคุชราตมีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย ที่เห็นได้ชัดคือภาษาคุชราตมี 3 เพศ แต่ในภาษาอังกฤษไม่มี เมื่อนำมาใช้จึงต้องกำหนดเพศให้ศัพท์นั้น ตามแบบของภาษาคุชราต โดยดูจากความหมายของคำ

มีอิทธิพลต่อภาษาคุชราตเล็กน้อย ต่างจากบริเวณอื่นที่มีภาษาลูกผสมของภาษาโปรตุเกส โดยมาก ภาษาโปรตุเกสมีอิทธิพลต่อภาษาตามแนวชายฝั่งมากกว่า

ไวยากรณ์

ลักษณะการเรียงคำในภาษาคุชราต คำขยายอยู่หน้าคำนาม กรรมตรงมาก่อนกริยา มีปรบท การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา มี 3 เพศ และ 2 พจน์ ไม่มีคำนำหน้านาม กริยาใช้ในรูปรากศัพท์ตามด้วยปัจจัยที่แสดงความมุ่งหมายและข้อตกลงซึ่งถือเป็นรูปแบบหลัก และอาจตามด้วยรูปช่วยที่แสดงกาลและมาลา

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ภาษาคุชราต ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  2. 2.0 2.1 "Scheduled Languages in descending order of speaker's strength – 2011" (PDF). Registrar General and Census Commissioner of India.
  3. Ernst Kausen, 2006. Die Klassifikation der indogermanischen Sprachen (Microsoft Word, 133 KB)
  4. "Constitution of the Republic of South Africa, 1996 – Chapter 1: Founding Provisions". gov.za. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
  5. Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin. Asterisks mark the 2010 estimates for the top dozen languages.
  6. "Gujarati: The language spoken by more than 55 million people". The Straits Times. 2017-01-19. Gujarati is at least 700 years old and is spoken by more than 55 million people worldwide.
  7. Parekh, Rauf (20 January 2017). "Situationer: The future of Gujarati language in Pakistan". Dawn.
  8. Chitnis, Deepak (14 August 2013). "Hindi and Gujarati fastest growing Indian languages in the US". The American Bazaar.
  9. Bhattacharyya, Anirudh (3 August 2017). "Punjabi among top three immigrant languages in Canada". Hindustan Times.
  10. Edwards, Viv. "Gujarati today". BBC. Gujaratis form the second largest of the British South Asian speech communities, with important settlements in Leicester and Coventry in the Midlands, in the northern textile towns and in Greater London.
  11. 11.0 11.1 ภาษาคุชราต ที่ Ethnologue (20th ed., 2017) Closed access
  12. Barlas, Robert; Yong, Jui Lin (2010). Uganda. Marshall Cavendish. p. 96. ISBN 9780761448594. Of the non-Ugandan languages, Hindi and Gujarati are commonly spoken among members of the Asian Hindu community that migrated to Uganda during the early part of the 20th century.
  13. "Indian South Africans". South African History Online. English is spoken as a first language by most Indian South Africans, although a minority of the Indian South African population, especially the elders, still speak some Indian languages. These languages include Hindi, Tamil, Telugu, Urdu, Punjabi, and Gujarati.
  14. "Gujarati Community in Hong Kong organizes grand reception in the honour of Gujarat CM". Official Portal of Gujarat Government. Addressing the community in Gujarati
  15. "Indians make up over 1 per cent of Australia's population". The Indian Express. 27 June 2014.
  16. 16.0 16.1 16.2 Mistry (2001), pp. 274.
  17. 17.0 17.1 Mistry (2003), p. 115.
  18. Mistry (1997), pp. 654–655.
  19. Mistry (1997), p. 655.
  20. Turner (1966), p. 811. Entry 14024..
  21. Turner (1966), p. 760. Entry 13139..
  22. Turner (1966), p. 41. Entry 941..
  23. Turner (1966), p. 766. Entry 13271..
  24. Dalby 1998, p. 237
  25. Ajay Mitra Shastri; R. K. Sharma; Devendra Handa (2005), Revealing India's past: recent trends in art and archaeology, Aryan Books International, p. 227, ISBN 8173052875, It is an established fact that during 10th-11th century ... Interestingly the language was known as the Gujjar Bhakha.
  26. K. Ayyappapanicker (1997), Medieval Indian literature: an anthology, Volume 3, Sahitya Akademi, p. 91, ISBN 9788126003655
  27. Mistry 2003, p. 115
  28. Cardona & Suthar (2003), p. 661.
  29. Benson, Eugene (30 November 2004). Encyclopedia of Post-Colonial Literatures in English. Routledge. p. 563. ISBN 9781134468485. Gandhi's seminal work, 'Hind Swaraj' ('Indian Home Role'), appeared in the columns of Indian Opinion in 1909. Originally written in his mother tongue, Gujarati, it was translated into English by Gandhi and published as Hind Swaraj or Indian Home Role in 1910.
  30. Timeline: Personalities, Story of Pakistan. "Muhammad Ali Jinnah (1876–1948)". สืบค้นเมื่อ 12 May 2007.
  31. ภาษาคุชราต ที่ Ethnologue (16th ed., 2009) Closed access
  32. Rehman, Zia Ur (18 August 2015). "With a handful of subbers, two newspapers barely keeping Gujarati alive in Karachi". The News International. สืบค้นเมื่อ 14 January 2017. In Pakistan, the majority of Gujarati-speaking communities are in Karachi including Dawoodi Bohras, Ismaili Khojas, Memons, Kathiawaris, Katchhis, Parsis (Zoroastrians) and Hindus, said Gul Hasan Kalmati, a researcher who authored "Karachi, Sindh Jee Marvi", a book discussing the city and its indigenous communities. Although there are no official statistics available, community leaders claim that there are three million Gujarati-speakers in Karachi – roughly around 15 percent of the city's entire population.
  33. 33.0 33.1 William Frawley (May 2003). International Encyclopedia of Linguistics: 4-Volume Set. Oxford University Press, USA. pp. 292–. ISBN 978-0-19-513977-8.
  34. 34.0 34.1 34.2 Dalby (1998), p. 237.
  35. Mistry (1997), p. 654.
  36. "Jinnah didn't know Urdu, was fluent in Gujarati". The Times of India. 30 August 2009. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.
  37. "French island La Reunion is home to several Gujaratis". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 11 February 2022.
  38. Dwyer (1995), p. 273.
  39. The geographical distribution can be found in 'Linguistic Survey of India' by George A. Grierson.
  40. "Gujarati".
  41. "51st REPORT OF THE COMMISSIONER FOR LINGUISTIC MINORITIES IN INDIA" (PDF). nclm.nic.in. Ministry of Minority Affairs. 15 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 February 2018. สืบค้นเมื่อ 15 February 2018.
  42. Tisdall 1892, p. 148
  43. Cardona & Suthar 2003, p. 661
  44. Snell, R. (2000) Teach Yourself Beginner's Hindi Script. Hodder & Stoughton. pp. 83–86.
  45. Turner (1966), p. 44. Entry 992..
  46. Turner (1966), p. 203. Entry 3856..
  47. Turner (1966), p. 30. Entry 684..
  48. Turner (1966), p. 502. Entry 8947..
  49. Turner (1966), p. 706. Entry 12193..
  50. Turner (1966), p. 762. Entry 13173..
  51. Turner (1966), p. 766. Entry 13276..

บรรณานุกรม

  • Belsare, M.B. (1904) An etymological Gujarati-English Dictionary.
  • Deshpande, P.G. & Parnwell, E.C. (1977) Oxford Picture Dictionary. English-Gujarati. Oxford University Press.
  • Mehta, B.N. & Mehta, B.B. (1925) The Modern Gujarati-English Dictionary.
  • Suthar, B. (2003) Gujarati-English Learner's Dictionary (1 Mb)
  • Waghmar, Burzine (2009). Gujarati. In Keith Brown and Sarah Ogilvie (eds.), Concise Encyclopedia of the Languages of the World. Oxford: Elsevier, pp. 468–469.
  • Turner, Ralph Lilley (1966), A Comparative Dictionary of the Indo-Aryan Languages, London: Oxford University Press.
  • Cardona, George (1965), A Gujarati Reference Grammar, University of Pennsylvania Press.
  • Tisdall, W.S. (1892), A Simplified Grammar of the Gujarati Language.
  • Gajendragadkar, S.N. (1972), Parsi Gujarati, Bombay: University of Bombay.
  • Masica, Colin (1991), The Indo-Aryan Languages, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-29944-2.
  • Mistry, P.J. (1996), "Gujarati Writing", ใน Daniels; Bright (บ.ก.), The World's Writing Systems, Oxford University Press.
  • Mistry, P.J. (1997), "Gujarati Phonology", ใน Kaye, A.S (บ.ก.), Phonologies of Asia and Africa, Winona Lake: Eisenbrauns.
  • Mistry, P.J. (2001), "Gujarati", ใน Garry, Jane; Rubino, Carl (บ.ก.), An encyclopedia of the world's major languages, past and present, New England Publishing Associates.
  • Mistry, P.J. (2003), "Gujarati", ใน Frawley, William (บ.ก.), International Encyclopedia of Linguistics, vol. 2 (2nd ed.), Oxford: Oxford University Press.
  • Platts, John T. (John Thompson) (1884), A dictionary of Urdu, classical Hindi, and English, London: W.H. Allen & Co.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya