ภาษาดารีโซโรอัสเตอร์
ภาษาดารีโซโรอัสเตอร์ (เปอร์เซีย: دری زرتشتی หรือ گویش بهدینان แปลตรงตัว: สำเนียงเบะฮ์ดีนาน) มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 2,000 - 3,000 คนในเมืองยัซด์และเกอร์มานในอิหร่าน เป็นภาษาที่ใช้ในบริเวณที่เคยเป็นเขตของผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ผู้พูดภาษาดารีโซโรอัสเตอร์นิยมใช้ชื่อของภาษานี้ว่าดารี แต่ชาวมุสลิมอิหร่านเรียกภาษานี้ว่า ฆาบรี[2] ภาษานี้ไม่อาจเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาเปอร์เซีย[3][4] การจัดจำแนกภาษาดารีโซโรอัสเตอร์เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ[5] ซึ่งมีภาษาใกล้เคียงได้แก่ ภาษาเคิร์ด ภาษาคิเลกิ ภาษาบาโลชิ[6] สำเนียงภาษาดารีมีหลายสำเนียง[7] แบ่งเป็นสำเนียงหลัก 2 สำเนียงคือสำเนียงที่ใช้พูดในยาซด์และเกอร์มัน [8] ความเสี่ยงต่อการกลายเป็นภาษาตายภาษาดารีโซโรอัสเตอร์ได้รับแรงกดดัน 2 ประการคือ แรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง แรงกดดันหลักทุกวันนี้เป็นแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ผู้พูดภาษานี้จำเป็นต้องใช้ภาษาเปอร์เซียในการติดต่อทางการค้า ผู้ปกครองไม่ได้สอนภาษาดารีโซโรอัสเตอร์ให้ลูกหลาน เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การลดลงของการใช้ภาษานี้พบมากในเขตเมืองในอดีต ผู้พูดภาษาดารีโซโรอัสเตอร์ได้รับแรงกดดันทางการเมือง ในยุคที่มุสลิมเข้ามาในอิหร่าน แม้การบีบบังคับต่อผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ทำให้การใช้ภาษานี้น้อยลงด้วย ปัจจุบัน ภาษาดารีโซโรอัสเตอร์ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาษาตาย บางสำเนียงเช่น สำเนียงโมฮัมมาดาบาดมีผู้พูดเหลือในเตหะรานไม่กี่คน สำเนียงเกอร์มันก็มีผู้พูดเหลือน้อย ใกล้จะเป็นภาษาตายเช่นกัน อ้างอิง
For further reading, see
|