Share to:

 

ภาษาฆวารัซม์

ภาษาฆวารัซม์
ภาษาโคแรสเมีย
𐾳𐾲𐾲𐿋𐾲𐾲𐾽𐾻 زڨاک‌ای خوارزم
ประเทศที่มีการพูดฆวารัซม์
ภูมิภาคเอเชียกลาง
ยุค550 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 1200[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนแอราเมอิก, ซอกเดีย, เปอร์เซียกลาง, อาหรับ
รหัสภาษา
ISO 639-3xco
นักภาษาศาสตร์xco

ภาษาฆวารัซม์ (ฆวารัซม์: زڨاک‌ای خوارزم, zβ'k 'y xw'rzm)[2] เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกที่สูญแล้ว[3][4][5][6] ที่มีความใกล้ชิดกับภาษาซอกเดีย ภาษานี้เคยมีผู้พูดในบริเวณฆวารัซม์ (โคแรสเมีย) ซึ่งอยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำอามูดาร์ยา ทะเลอารัลตอนใต้ (ส่วนเหนือของประเทศอุซเบกิสถานและบางส่วนของคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถานในปัจจุบัน)

ความรู้เกี่ยวกับภาษานี้มีจำกัดและไม่ค่อยมีใครทราบรูปแบบอักษรเก่าเหมือนกับภาษาซอกเดีย โดยมีข้อมูลจากนักวิชาการจากฆวารัซม์อย่างอัลบิรูนีและอัซซามัคชารีไว้ว่า ภาษานี้ยังมีคนใช้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 เมื่อมันถูกแทนที่ด้วยภาษาเปอร์เซียและสำเนียงเตอร์กิกในพื้นที่ส่วนใหญ่[7]

วอลเตอร์ บรูโน เฮนนิง นักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง กำลังทำพจนานุกรมภาษาฆวารัซม์ แต่เสียชีวิตก่อน ทำให้ผลงานยังไม่เสร็จ ภายหลัง D.N. MacKenzie เป็นผู้ตีพิมพ์พจนานุกรมบางส่วนใน ค.ศ. 1971[8]

อ้างอิง

  1. ภาษาฆวารัซม์ at MultiTree on the Linguist List
  2. Chwarezmischer Wortindex. pp. 686, 711.
  3. Encyclopedia Iranica, "The Chorasmian Language", D.N.Mackenzie. Online access at June, 2011: [1]
  4. Andrew Dalby, Dictionary of Languages: the definitive reference to more than 400 languages, Columbia University Press, 2004, pg 278.
  5. MacKenzie, D. N. "Khwarazmian Language and Literature," in E. Yarshater ed. Cambridge History of Iran, Vol. III, Part 2, Cambridge 1983, pp. 1244–1249.
  6. Encyclopædia Britannica, "Iranian languages" (Retrieved 29 December 2008)
  7. CHORASMIA iii. The Chorasmian Language
  8. Henning, Walter Bruno; MacKenzie, D. N. (1971). A fragment of a Khwarezmian dictionary (ภาษาอังกฤษ). Lund Humphries. ISBN 9780853312925.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya