ภาษาซาริโกลี
ภาษาซาริโกลี เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มย่อยปามีร์ พูดโดยชาวทาจิกในจีน ชื่อเป็นทางการในประเทศจีนคือภาษาทาจิก (จีน: 塔吉克语; พินอิน: Tǎjíkèyǔ)[4] แต่ถือว่าอยู่ในกลุ่มย่อยที่ต่างจากภาษาทาจิกที่เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน มีผู้พูดราว 10,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองทักโกรคัน ทาจิกในมณฑลซินเจียง ผุ้พูดภาษานี้ใช้ภาษาอุยกูร์หรือภาษาจีนติดต่อกับผู้พุดภาษาอื่นๆในบริเวณนั้น โดยทั่วไปสามารถเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาวาคี ซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยชาวทาจิกจีนด้วย ระบบการเขียนไม่มีระบบการเขียนที่เป็นทางการในจีน นักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ศึกษาภาษานี้เขียนด้วยอักษรซีริลลิกแบบรัสเซีย นักภาษาศาสตร์กลุ่มอื่น ๆ ใช้สัทอักษร[5][6] หรือใช้อักษรที่ใช้เขียนภาษาวาคี[7][8] เนื่องจากผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอุยกูร์ในโรงเรียนจึงมีบางส่วนเขียนภาษานี้ด้วยอักษรอุยกูร์[3] ระบบการเขียนใน ค.ศ. 1958 นักภาษาศาสตร์ Gāo Èrqiāng ศึกษาภาษาซาริดกลีร่วมกับนักภาษาศาสตร์ชาวทาจิก โดยใช้สัญลักษณ์ 37 อันจากสัทอักษรสากล ในพจนานุกรมซาริโกลี-ฮั่นฉบับปี 1996 Gāo Èrqiāng ใช้ 26 พยัญชนะและ 8 ทวิอักษรจากอักษรพินอิน
สัทวิทยาสระ ได้แก่ a [a], e [e], ɛy [ɛi̯] (บางสำเนียงเป็น æy หรือ ay [æi̯ / ai̯]), ɛw [ɛu̯] (บางสำเนียงเป็น æw หรือ aw [æu̯ /au̯]), ə [ə], i [i], o [o / ɔ], u [u], ы [ɯ] (บางสำเนียงเป็น ů [ʊ]) ในบางสำเนียงอาจมีสระเสียงยาวที่ต่างไปดังนี้: ā, ē, ī, ō, ū, ы̄, ǝ̄[ต้องการอ้างอิง] พยัญชนะมี 29 ตัว ได้แก่ p /p/, b /b/, t /t/, d /d/, k /k ~ c/, g /ɡ ~ ɟ/, q /q/, c /ts/, ʒ /dz/, č /tɕ/, ǰ /dʑ/, s /s/, z /z/, x̌ /x/, γ̌ /ɣ/, f /f/, v /v/, θ /θ/, δ /ð/, x /χ/, γ /ʁ/, š /ɕ/, ž /ʑ/, w /w/, y /j/, m /m/, n /n, ŋ/, l /l/, r /r/ คำศัพท์รากศัพท์ของภาษาซาริโกลีส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกอื่นๆ มีบางส่วนรับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเช่นภาษาเปอร์เซียหรือภาษาทาจิก อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น |