วัคซีนอาร์เอ็นเอ หรือ วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (อังกฤษ : RNA vaccine, mRNA vaccine ) เป็นวัคซีน ชนิดหนึ่งซึ่งใช้เอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA) เพื่อก่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน [ 1]
วัคซีนส่ง (transfect) โมเลกุล ของอาร์เอ็นเอสังเคราะห์ เข้าไปในเซลล์ภูมิคุ้มกัน
เมื่อเข้าไปแล้ว อาร์เอ็นเอ ของวัคซีนก็จะทำหน้าที่เหมือนกับเอ็มอาร์เอ็นเอตามธรรมชาติ และทำให้เซลล์สร้างโปรตีน แปลกปลอมที่ปกติจุลชีพก่อโรค เช่นไวรัส หรือเซลล์มะเร็ง จะเป็นผู้สร้าง
โมเลกุลโปรตีนเช่นนั้นก็จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ซึ่งสอนร่างกายให้รู้จักและทำลายจุลชีพก่อโรคหรือเซลล์มะเร็งที่สัมพันธ์กับโปรตีนนั้น ๆ[ 1]
การส่งเข้าไปในเซลล์ทำโดยรวมอาร์เอ็นเอเข้ากับอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิด (lipid nanoparticle) ซึ่งป้องกันสายอาร์เอ็นเอและช่วยให้เซลล์กลืนอนุภาคนาโนบวกกับอาร์เอ็นเอนั้นเข้าไป[ 2] [ 3]
ผลไม่พึงประสงค์สามัญแต่คาดได้ของวัคซีน (reactogenicity) คล้ายกับของวัคซีนธรรมดาที่ไม่ใช้อาร์เอ็นเออื่น ๆ[ 4]
ผู้มีภาวะภูมิต้านตนเอง อาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ต่อวัคซีนอาร์เอ็นเอ[ 4]
ข้อได้เปรียบของวัคซีนนี้เหนือวัคซีนโปรตีนธรรมดาก็คือความรวดเร็วในการออกแบบและผลิตวัคซีน มีค่าผลิตถูกกว่า[ 4]
และก่อการตอบสนองของภูมิต้านทานทั้งที่อำนวยโดยเซลล์ (cellular immunity) และโดยมาโครโมเลกุล อื่น ๆ (humoral immunity) เช่น สารภูมิต้านทาน เป็นต้น[ 5]
ข้อเสียของวัคซีนโควิด-19 แบบเอ็มอาร์เอ็นเอของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค ก็คือ ต้องแช่แข็งในอุณหภูมิต่ำมาก[ 1]
วิธีการสร้างวัคซีนเช่นนี้ได้ดึงดูดความสนใจอย่างมากเมื่อพัฒนาวัคซีนโควิด-19
จนถึงต้นเดือนธันวาคม 2020 มีวัคซีนโควิด-19 แบบเอ็มอาร์เอ็นเอสองอย่างที่ได้ผ่านการทดลองในมนุษย์ขั้นสุดท้าย คือ วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัทโมเดิร์นา และวัคซีน tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์ -ไบออนเทค[ 1]
ในวันที่ 2 ธันวาคม 2020 สำนักงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency, MHRA) แห่งสหราชอาณาจักร เป็นองค์กรควบคุมยาแรกในโลกที่อนุมัติวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอให้ใช้ในมนุษย์ คืออนุญาตให้ใช้วัคซีนโควิด-19 tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคเป็นการฉุกเฉินสำหรับคนจำนวนมาก[ 6] [ 7] [ 8]
ในวัน 11 ธันวาคม องค์การอาหารและยา สหรัฐก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินเช่นกัน[ 9]
ต่อมาวันที่ 21 ธันวาคม ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐก็แนะนำให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทโมเดิร์นา เป็นการฉุกเฉินในผู้ใหญ่[ 10]
ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐก็อนุมัติอีก 3 วันต่อมา[ 9]
มีข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับวัคซีนอาร์เอ็นเอที่ส่งต่อ ๆ กันในสื่อสังคม คือมีการอ้างผิด ๆ ว่าวัคซีนอาร์เอ็นเอจะเปลี่ยนดีเอ็นเอ ของผู้ที่ได้รับ
หรือเน้นการไร้ประวัติความปลอดภัยก่อน ๆ ของเทคโนโลยี โดยละเลยหลักฐานใหม่ ๆ ที่ได้สะสมในงานทดลอง กับคนเป็นหมื่น ๆ[ 11]
ประวัติ
ในสหรัฐ นักวิจัยที่สถาบันซอล์ก (Salk Institute) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก และที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Vical ได้ตีพิมพ์งานวิจัยในปี 1989 ที่แสดงว่า เอ็มอาร์เอ็นเอที่รวมเข้ากับอนุภาคนาโน ที่เป็นลิโปโซม สามารถส่ง (transfect) เอ็มอาร์เอ็นเอเข้าไปในเซลล์ยูแคริโอต ต่าง ๆ ได้[ 12]
ต่อมาในปี 1990 มหาวิทยาลัยวิสคอนซินรายงานผลบวกเมื่อฉีดเอ็มอาร์เอ็นเอเปล่า ๆ (naked หรือ unprotected) เข้าไปในกล้ามเนื้อ ของหนู [ 3]
งานศึกษาเหล่านี้แสดงหลักฐานแรก ๆ ว่า เอ็มอาร์เอ็นเอที่ถ่ายแบบนอกกาย (in vitro transcribed, IVT) สามารถส่งยีนเพื่อให้เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็น ๆ ผลิตโปรตีนที่ต้องการได้[ 3]
การใช้วัคซีนอาร์เอ็นเอได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990
การทดลองกับเซลล์สัตว์แบบนอกกาย (in vitro) ได้รายงานเป็นครั้งแรกในปี 1990[ 13]
และต่อจากนั้นไม่นานก็แนะนำให้ใช้สร้างภูมิคุ้มกัน[ 14] [ 15]
ในปี 1993 นักวิจัย (Martinon) ได้แสดงว่า อาร์เอ็นเอที่หุ้มด้วยลิโปโซม สามารถกระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้มกันแบบ T[ A] ทำงานในกาย และในปี 1994 นักวิจัย (Zhou & Berglund) ได้แสดงหลักฐานแรกว่า อาร์เอ็นเอสามารถใช้เป็นวัคซีนเพื่อกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อจุลชีพก่อโรค ทั้งโดยเซลล์ (cellular immunity) และโดยมาโครโมเลกุลอื่น ๆ (humoral immunity) เช่น สารภูมิต้านทาน [ 3] [ 16] [ 17]
นักชีวเคมี ชาวฮังการี Katalin Kariko ได้พยายามแก้อุปสรรคทางเทคนิคหลัก ๆ หลายอย่างในการส่งเอ็มอาร์เอ็นเอเข้าไปในเซลล์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990
แล้วได้ทำงานร่วมกับนักวิทยาภูมิคุ้มกัน ชาวอเมริกัน Drew Weissman ในปี 2005 พวกเขาตีพิมพ์งานวิจัยที่แก้อุปสรรคทางเทคนิคหลักอย่างหนึ่งโดยใช้นิวคลีโอไซด์ดัดแปลง (ที่เป็นนิวคลีโอไซด์แอนะล็อก) เพื่อส่งเอ็มอาร์เอ็นเอเข้าไปในเซลล์โดยไม่ให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง[ 3] [ 18]
ต่อมานักชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด Derrick Rossi ได้เห็นงานวิจัยนั้นแล้วจึงรู้ว่า ผลงานนี้เป็นงานบุกเบิก[ 18]
จึงจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มุ่งงานทางเอ็มอาร์เอ็นเอ ในปี 2010 คือ โมเดิร์นา โดยร่วมกับศาสตราจารย์ทางเทคโนโลยีชีวภาพของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) คือ Robert Langer ผู้เห็นอนาคตของเทคโนโลยีในการสร้างวัคซีนเช่นกัน[ 18] [ 3]
เหมือนกับบริษัทไบออนเทค โมเดิร์นาก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ผลงานของ Kariko และ Weissman เช่นกัน[ 18]
ในปี 2000 นักชีววิทยาชาวเยอรมัน Ingmar Hoerr ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนอาร์เอ็นเอ ซึ่งเขาได้ศึกษาเมื่อทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก[ 19] [ 20]
หลังจากจบเรียนแล้ว จึงได้จัดตั้งบริษัท CureVac ร่วมกับอาจารย์ดูแลวิทยานิพนธ์ของเขาคือ Günther Jung และบุคคลอื่น ๆ
แต่จนถึงปี 2020 บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพทางอาร์เอ็นเอก็ได้ผลไม่ดีเมื่อทดสอบยาสำหรับโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเมแทบอลิซึม โรคไต
โรคมะเร็งที่เล็งเป้าที่เซลล์โดยเฉพาะ ๆ
และโรคที่มีน้อย เช่น Crigler-Najjar syndrome
ปัญหาโดยมากก็คือผลข้างเคียงรุนแรงเกินไป[ 21] [ 22]
วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอได้พัฒนาและทดสอบสำหรับโรคพิษสุนัขบ้า ไข้ซิกา ซัยโตเมกาโลไวรัส และไข้หวัดใหญ่ แม้จะไม่มีชนิดใดที่ได้อนุมัติ[ 23]
บริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทก็ได้เลิกพยายามใช้เทคโนโลยีนี้ไปแล้ว[ 21]
และบริษัทบางบริษัทก็ได้เล็งไปที่วัคซีนซึ่งได้กำไรน้อยกว่า เพราะใช้ยาในขนาดที่น้อยกว่า ดังนั้น จึงมีผลข้างเคียงน้อยกว่า[ 21] [ 24]
ก่อนการระบาดทั่วของโควิด-19 ยังไม่มียาหรือวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอที่ได้อนุมัติให้ใช้ในมนุษย์
แต่ในเดือนธันวาคม 2020 ทั้งบริษัทโมเดิร์นาและไฟเซอร์-ไบออนเทคต่างก็ได้รับอนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ของตน ๆ เป็นการฉุกเฉินโดยได้รับทุนโดยตรง (โมเดิร์นา) และโดยอ้อม (ไฟเซอร์-ไบออนเทค) จากโปรแกรมปฏิบัติการความเร็วเหนือแสง (Operation Warp Speed) ของรัฐบาลกลางสหรัฐ [ 18]
ในวันที่ 2 ธันวาคม 2020 ซึ่งเป็นวันที่ 7 หลังจากการทดลองระยะสุดท้าย 8 สัปดาห์ สำนักงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ (MHRA ) แห่งสหราชอาณาจักร ก็เป็นองค์กรควบคุมยาแห่งแรกของโลกที่อนุมัติวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอให้ใช้ในมนุษย์เป็นจำนวนมาก โดยให้อนุญาตเป็นการฉุกเฉินสำหรับวัคซีน tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค [ 6] [ 7] [ 25]
และประธานบริหารสำนักงานก็กล่าวว่า ไม่ได้อนุมัติยาแบบลัด[ 26]
และว่า ประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง[ 27] [ 28]
ในวันที่ 11 ธันวาคม 2020 องค์การอาหารและยาสหรัฐก็ได้อนุมัติให้ใช้ Tozinameran เป็นการฉุกเฉินเช่นกัน[ 29]
รูปแสดงกลไกการออกฤทธิ์ของวัคซีนอาร์เอ็นเอ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA ) ที่บรรจุอยู่ในอนุภาคนานาโนที่เป็นลิพิด (lipid nanoparticle ) อาศัยเอนโดโซม (endosome ) เข้าไปในไซโทซอล (cytosol ) ของเซลล์ แล้วไรโบโซม (ribosome ) ก็ใช้เอ็มอาร์เอ็นเอเป็นแบบ เพื่อผลิตแอนติเจน ของไวรัส (viral antigen ) ต่อจากนั้น คอมเพล็กซ์โปรตีน proteasome จะย่อยสลายแอนติเจนนั้นเป็นเพปไทด์ (วงกลมสีน้ำเงิน ) ซึ่งโมเลกุล class I MHC และ class II MHC ใน endoplasmic reticulum (ER) จะจับแล้วนำออกไปแสดงที่ผิวเซลล์โดยส่งผ่านถุงคัดหลั่ง (secretory vesicle ) อันเป็นกลไกหนึ่งของ ER หลังจากนั้น เมื่อภูมิคุ้มกัน รู้จักแอนติเจนของไวรัสนั้นแล้ว ก็จะมีเซลล์ภูมิคุ้มกันที่รู้จักมันโดยเฉพาะ ๆ ประเภท cytotoxic T Cell (CD8* T Cell) และ T helper Cell (CD4* T Cell) ดังนั้น เมื่อเซลล์อื่น ๆ ติดเชื้อจุลชีพก่อโรค ที่มีแอนติเจนเช่นกันในอนาคต เซลล์ภูมิคุ้มกันก็จะสามารถฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อเหล่านั้นได้
กลไก
จุดมุ่งหมายของวัคซีนก็เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ สร้างสารภูมิต้านทาน เพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรค นั้น ๆ
สารส่อ (marker) ของจุลชีพก่อโรคที่สารภูมิต้านทานจะเล็งเป็นเป้าเรียกว่า แอนติเจน [ 30]
วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอทำงานต่างกับวัคซีนปกติ[ 1]
เพราะวัคซีนปกติกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองด้วยสารภูมิต้านทานโดยฉีดแอนติเจน (คือโปรตีน ของไวรัสก่อโรค) หรือฉีดไวรัสก่อโรคซึ่งลดฤทธิ์ หรือฉีดเวกเตอร์ไวรัส ลูกผสมที่เข้ารหัสแอนติเจน คือใช้ไวรัสอีกอย่างเป็นพาหะส่งยีนแอนติเจนของไวรัสก่อโรคเข้าไปเพื่อให้เซลล์ร่างกายเองสร้างแอนติเจน
ส่วนวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอออกฤทธิ์ในระยะสั้น ๆ กว่า[ 31]
โดยส่งชิ้นส่วนอาร์เอ็นเอ ของไวรัสก่อโรคที่สังเคราะห์ขึ้นและอยู่ได้ไม่นาน เข้าไปในร่างกาย
ซึ่งเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งคือ dendritic cell (DC) จะนำเข้าในเซลล์ผ่านกระบวนการฟาโกไซโทซิส [ 32]
แล้วใช้ไรโบโซม เพื่ออ่านรหัสเอ็มอาร์เอ็นเอแล้วสร้างแอนติเจนของไวรัสก่อนจะทำลายเอ็มอาร์เอ็นเอ นั้น[ 4]
เมื่อแอนติเจนเกิดในเซลล์ของผู้รับวัคซีนแล้ว ก็จะเกิดกระบวนการปกติของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
คือคอมเพล็กซ์โปรตีน proteasomes ก็จะสลายแอนติเจน แล้วโมเลกุล class I MHC และ class II MHC ก็จะจับกับเพปไทด์ของแอนติเจนแล้วขนส่งมันไปที่ผิวเซลล์ เป็นการปลุกฤทธิ์เซลล์คือ DC [ 33]
ซึ่งก็จะย้ายไปอยู่ที่ต่อมน้ำเหลือง แล้วแสดงแอนติเจน (antigen presentation) ต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันแบบ T[ A] และ B [ 34]
ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่การผลิตสารภูมิต้านทาน ซึ่งเล็งเป้าโดยเฉพาะที่แอนติเจนดังว่า เป็นภูมิคุ้มกันต่อต้านสิ่งที่มีแอนติเจนนั้น ๆ[ 30]
ประโยชน์ของการใช้เอ็มอาร์เอ็นเอเพื่อให้เซลล์ของผู้รับวัคซีนผลิตแอนติเจน เองก็คือ โรงงานยาผลิตเอ็มอาร์เอ็นเอได้ง่ายกว่าผลิตโปรตีนซึ่งเป็นแอนติเจนหรือผลิตไวรัสที่ลดฤทธิ์แล้ว[ 33] [ 1] [ 4]
ประโยชน์อื่น ๆ รวมทั้งความรวดเร็วในการออกแบบและการผลิตวัคซีน
บริษัทโมเดิร์นาออกแบบวัคซีนโควิด-19 mRNA-1273 โดยใช้เวลาแค่ 2 วัน[ 35]
ประโยชน์อีกอย่างก็คือเพราะร่างกายผลิตแอนติเจนเอง วัคซีนจึงกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันทั้งโดยเซลล์ (cellular immunity) และโดยมาโครโมเลกุล (humoral immunity) เช่น สารภูมิต้านทาน [ 5] [ 36]
วัคซีนยังไม่มีผลเปลี่ยนดีเอ็นเอของเซลล์อีกด้วย
ชิ้นส่วนอาร์เอ็มเอที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นก๊อปปี้ของส่วนอาร์เอ็นเอของไวรัสโดยเฉพาะ ที่มีข้อมูลเพื่อสร้างแอนติเจนของไวรัส (สำหรับวัคซีนโคโรนาไวรัส ก็คือโปรตีนหนาว [spike] ที่ผิวของอนุภาคไวรัส) โดยไม่เกี่ยวกับดีเอ็นเอมนุษย์
เมื่อวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอสำหรับโควิด-19 กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ เรื่องว่าวัคซีนเปลี่ยนดีเอ็นเอมนุษย์ก็กลายเป็นข้อมูลผิด ที่กระจายไปในสื่อสังคม แล้วต่อมาจึงถูกหักล้างว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด [ 37] [ 38]
เอ็มอาร์เอ็นเอปกติจะสลายไปในเซลล์หลังจากใช้สร้างโปรตีนแปลกปลอมแล้ว
แต่เพราะผู้ผลิตเก็บสูตรประกอบวัคซีนเป็นความลับ รวมทั้งองค์ประกอบที่แน่นอนของอนุภาคนาโนซึ่งเป็นลิพิดอันใช้ส่งยาเข้าไปในเซลล์ รายละเอียดและกำหนดเวลาต่าง ๆ ของวัคซีนจึงยังไม่ได้ศึกษาโดยผู้ชำนาญการอิสระอื่น ๆ[ 39]
ผลไม่พึงประสงค์และความเสี่ยง
สายเอ็มอาร์เอ็นเอในวัคซีนอาจทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองในรูปแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ เพื่อลดโอกาสนี้ ลำดับเอ็มอาร์เอ็นเองจึงทำเลียนแบบตามที่เซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (เช่น เซลล์ของลิง) เองผลิต[ 40]
วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอบางชนิดอาจก่อการตอบสนองของอินเตอร์เฟียรอน แบบ 1 ที่มีกำลัง ซึ่งไม่เพียงสัมพันธ์กับการอักเสบ แต่กับภาวะภูมิต้านตนเอง ด้วย ดังนั้น การระบุผู้เสี่ยงเกิดภาวะภูมิต้านตนเองจึงอาจสำคัญก่อนให้วัคซีน[ 41]
การให้
การส่งวัคซีนอาร์เอ็นเอเข้าไปในเซลล์สามารถแบ่งเป็นสองอย่างคร่าว ๆ คือ ทำนอกกาย (ex vivo) หรือในกาย (in vivo)[ 3]
นอกกาย
dendritic cell (DC) เป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่แสดงแอนติเจน ที่ผิวเซลล์ แล้วมีปฏิสัมพันธ์กับ T cell[ A]
ซึ่งเริ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
โดย DC สามารถเก็บจากคนไข้ และโปรแกรม DC ด้วยเอ็มอาร์เอ็นเอ แล้วฉีดกลับเข้าในคนไข้เพื่อให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง[ 42]
ในกาย
หลังจากได้พบว่า การส่งเอ็มอาร์เอ็นเอที่สร้างขึ้นนอกร่างกายแบบ in vitro นำไปสู่การแสดงออกโปรตีน ในกายเนื่องกับอาร์เอ็นเอที่ฉีดเข้าร่างกายนั้น วิธีนี้จึงน่าสนใจยิ่งขึ้น ๆ[ 43]
เพราะได้เปรียบกว่าวิธีนอกกาย โดยเฉพาะก็คือ เลี่ยงค่าใช้จ่ายในการเก็บแล้วปรับ dendritic cell ของคนไข้ และเลียนการติดเชื้อโดยธรรมชาติ
แต่ก็มีอุปสรรคที่ต้องแก้ก่อนจะใช้ได้ดี
เพราะร่างกายมีกลไกทางวิวัฒนาการ ที่กันกรดนิวคลีอิก แปลกปลอม และย่อยสลายอาร์เอ็นเอโดยเอนไซม์ RNase ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงเพื่อจะให้อาร์เอ็นเอถอดรหัสได้
อนึ่ง อาร์เอ็นเอยังหนักเกินที่จะแพร่กระจาย ภายในเซลล์โดยตนเอง ดังนั้น ก็อาจถูกค้นพบโดยเซลล์และกำจัด
เอ็มอาร์เอ็นเปล่า
การฉีดเอ็มอาร์เอ็นเปล่า (naked) ก็คืออาร์เอ็นเอจะประกอบกับสารละลายบัฟเฟอร์เท่านั้น[ 44]
วิธีเช่นนี้รู้จักตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000
งานทดลองทางคลินิกแรกในโลกที่ใช้วิธีนี้เกิดในเมืองทือบิงเงิน เยอรมนี ที่ใช้วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอฉีดเข้าใต้หนังกำพร้า (intradermal injection)[ 45] [ 46]
การใช้อาร์เอ็นเอเป็นวัคซีนเกิดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ในรูปแบบเอ็มอาร์เอ็นเอที่ขยายตัวเอง (self-amplifying)[ 47] [ 48]
วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอหลัก ๆ สองอย่างก็คือที่ไม่ขยายตัวเอง (แบบธรรมดา ใช้เวกเตอร์ไวรัส ) กับที่ขยายตัวเอง (self-amplifiying) และไม่ได้ใช้เวกเตอร์ไวรัส
เมื่อไม่ใช้เวกเตอร์ไวรัส เอ็มอาร์เอ็นเอจะเข้าไปยังไซโทพลาซึม ของเซลล์และขยายตัวเอง และในที่สุดก็นำไปสู่การแสดงออกโปรตีนที่เป็นแอนติเจน[ 49] [ 50]
ยังปรากฏอีกด้วยว่า ช่องทางการฉีดวัคซีน เช่น เข้าไปใต้ผิวหนัง (intradermal) เข้าเส้นเลือด (intravenous) เข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular) จะทำให้เซลล์นำเอ็มอาร์เอ็นเอเข้าตัวในระดับต่าง ๆ กัน การเลือกช่องทางการให้วัคซีนจึงสำคัญมาก
เช่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เทียบกับช่องทางอื่น ๆ ทั้งหมด การฉีดเข้าต่อมน้ำเหลือง ทำให้เซลล์ T[ A] ตอบสนองมากที่สุด[ 51]
กลไกของเอ็มอาร์เอ็นเอที่ขยายตัวเองอาจแตกต่างกันมาก เพราะเป็นโมเลกุลที่ใหญ่กว่ากันมาก[ 3]
เวกเตอร์โพลีเพล็กซ์
พอลิเมอร์ ที่ก่อกระบวนการ cationic polymerization[ B]
คือ cationic polymer สามารถผสมกับเอ็มอาร์เอ็นเอเพื่อสร้างเครื่องหุ้มที่เรียกว่า โพลีเพล็กซ์
ซึ่งป้องกันเอ็มอาร์เอ็นเอลูกผสมจากเอนไซม์ ribonuclease และช่วยในการเข้าไปในเซลล์
โพรทามีน (protamine)[ C]
เป็นเพปไทด์แคตไอออนที่มีตามธรรมชาติ และได้ใช้หุ้มเอ็มอาร์เอ็นเอในวัคซีน[ 54]
เวกเตอร์อนุภาคนาโนลิพิด
ครั้งแรกที่องค์การอาหารและยา สหรัฐได้อนุมัติให้ใช้อนุภาคนาโนที่เป็นลิพิดเพื่อส่งยาก็ในปี 2018 เมื่ออนุมัติยา small interfering RNA (siRNA) คือ Onpattro[ 55]
เพื่อรักษาโรคเส้นประสาทหลายเส้น (polyneuropathy)
การหุ้มโมเลกุลเอ็มอาร์เอ็นเอในอนุภาคนาโนลิพิดเป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งในการผลิตวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเออันได้ผล เพราะฝ่าอุปสรรคทางเทคนิคสำคัญหลายอย่างในการส่งโมเลกุลเอ็มอาร์เอ็นเอ เข้าไปในเซลล์[ 55] [ 56]
โดยหลักก็คือ ลิพิดเป็นชั้นป้องกันไม่ให้เอ็มอาร์เอ็นเอเสื่อม จึงทำให้โปรตีนแสดงออกได้ดีกว่า
อนึ่ง การปรับชั้นนอกของลิพิดโดยเฉพาะ ๆ ทำให้สามารถเล็งเป้าที่เซลล์โดยเฉพาะ ๆ ผ่านปฏิสัมพันธ์ของลิแกนด์
อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาหลายงานที่ชี้ปัญหาในการศึกษาการส่งยาแบบนี้ คือเซลล์รับอาร์เอ็นเอได้ไม่เท่ากันระหว่างการใช้อนุภาคนาโนในกาย (in vivo) กับนอกกาย (in vitro)[ 57]
อนุภาคนาโนสามารถส่งไปยังเซลล์ได้หลายช่องทาง เช่น ทางเส้นเลือด หรือทางระบบน้ำเหลือง [ 55]
เวกเตอร์ไวรัส
นอกเหนือจากวิธีส่งยาโดยไม่ใช้ไวรัสแล้ว ไวรัสอาร์เอ็นเอ (RNA virus) ยังสามารถดัดแปลงทางพันธุวิศวกรรมให้กระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบคล้าย ๆ กัน
ไวรัสที่ปกติใช้เป็นเวกเตอร์รวมทั้งรีโทรไวรัส เล็นทิไวรัส อัลฟาไวรัส และแร็บโดไวรัส (rhabdovirus) แต่ละอย่างต่างมีโครงสร้างและการทำงานที่ไม่เหมือนกัน[ 58]
งานศึกษาทางคลินิกได้ใช้ไวรัสเช่นนี้สำหรับโรคต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตตัวแบบ เช่น หนู ไก่ และไพรเมต [ 59] [ 60] [ 61]
ผลข้างเคียงและความเสี่ยง
ผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนอาร์เอ็นเอคล้ายกับวัคซีนธรรมดาที่ไม่ใช่อาร์เอ็นเอ
แต่คนที่เสี่ยงต่อภาวะภูมิต้านตนเอง ก็อาจมีผลไม่พึงประสงค์เนื่องกันวัคซีนนี้[ 4]
และเพราะสายเอ็มอาร์เอ็นเออาจทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ
เพื่อลดโอกาสให้มีน้อยสุด ลำดับอาร์เอ็นเอนในวัคซีนนี้จึงออกแบบให้คล้ายกันอาร์เอ็นเอที่เซลล์ผลิตเอง[ 40]
ผลข้างเคียงที่แรงแต่ชั่วคราวก็มีรายงานในการทดลองวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้อาร์เอ็นเอ
แต่คนโดยมากก็จะไม่ประสบกับผลข้างเคียงรุนแรงซึ่งรวมการเป็นไข้และล้า
ผลข้างเคียงจัดว่ารุนแรงก็ต่อเมื่อจำกัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน[ 62]
ทั่วไป
ก่อนปี 2020 ไม่มียาหรือวัคซีนที่ใช้เอ็มอาร์เอและได้อนุมัติให้ใช้ในมนุษย์ จึงมีความเสี่ยงที่ยังไม่รู้[ 36]
การระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้ต้องผลิตวัคซีนได้เร็ว จึงทำให้วัคซีนอาร์เอ็มเอน่าสนใจต่อองค์กรสาธารณสุขประจำชาติต่าง ๆ
แล้วก่อข้อถกเถียงว่าวัคซีนควรจะได้การอนุมัติเช่นไร (เช่น อนุมัติใช้เป็นการฉุกเฉิน คือ emergency use authorization หรืออนุมัติให้ใช้ด้วยความกรุณา คือ expanded access) หลังจาก 8 สัปดาห์ หลังการทดลองในมนุษย์ระยะสุดท้าย[ 63] [ 64]
การเก็บ
เพราะเอ็มอาร์เอ็นเอบอบบางยิ่ง วัคซีนจึงต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำมากเพื่อไม่ให้เสื่อม
เช่น วัคซีนโควิด-19 แบบเอ็มอาร์เอ็นเอของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค ต้องเก็บในอุณหภูมิ ระหว่าง -80 ถึง -60 องศาเซลเซียส [ 65] [ 66]
ส่วนบริษัทโมเดิร์นาระบุว่า วัคซีนโควิด-19 ของตน สามารถเก็บไว้ได้ในระหว่าง
-25 ถึง -15 องศาเซลเซียส [ 67]
ซึ่งใกล้ ๆ กับตู้เย็น ธรรมดา[ 66]
และวัคซีนจะเสถียรในอุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน[ 67] [ 68]
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 วารสารวิทยาศาสตร์ เนเจอร์ รายงานว่า "แม้จะเป็นไปได้ว่า ความแตกต่างของสูตรอนุภาคนาโนลิพิดหรือโครงสร้างทุติยภูมิของเอ็มอาร์เอ็นเอ อาจอธิบายความต่างของความเสถียรที่อุณหภูมิต่าง ๆ (ของวัคซีนบริษัทโมเดิร์นาและไฟเซอร์-ไบออนเทค ) แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากก็คาดว่า ผลิตภัณฑ์วัคซีนทั้งสองในที่สุดก็จะปรากฏว่า มีข้อกำหนดในการเก็บและมีอายุผลิตภัณฑ์คล้าย ๆ กันที่อุณหภูมิต่าง ๆ"[ 36]
ข้อดี
เหนือวัคซีนธรรมดา
วัคซีนอาร์เอ็นเอมีข้อดีเหนือวัคซีนธรรมดา[ 40] [ 4]
เพราะไม่ได้ทำมาจากจุลชีพก่อโรค ที่ยังเป็น ๆ (หรือแม้แต่จุลชีพก่อโรคที่ลดฤทธิ์แล้ว ) จึงไม่สามารถทำให้ติดโรคได้
เทียบกับวัคซีนธรรมดาที่ต้องเพาะเลี้ยงจุลชีพก่อโรค ซึ่งถ้าทำในขนาดมาก ๆ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงการติดโรคใกล้ ๆ โรงงานผลิต[ 40]
วัคซีนอาร์เอ็นเอยังสามารถผลิตได้เร็วกว่า มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และทำตามขั้นตอนเหมือน ๆ กันได้ดีกว่า (คือมีอัตราความผิดพลาดในการผลิตน้อยกว่า) ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในเหตุการณ์โรคระบาดที่รุนแรง[ 4] [ 40]
เหนือวัคซีนดีเอ็นเอ
นอกจากจะมีข้อดีเหมือวัคซีนดีเอ็นเอเหนือวัคซีนธรรมดาแล้ว วัคซีนอาร์เอ็นเอนก็ยังมีข้อดีเหนือวัคซีนดีเอ็นเออีกด้วย
รวมทั้ง
เอ็มอาร์เอ็นเอ แปลรหัส ในไซโทซอล จึงไม่ต้องเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ และไม่เสี่ยงรวมเข้าในจีโนม ของเซลล์ถูกเบียน[ 3]
นิวคลีโอไซด์ แปลงรูป (เช่น pseudouridines, 2'-O-methylated nucleosides) สามารถประกอบเข้ากับเอ็มอาร์เอ็นเอเพื่อกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองแล้วสลายอาร์เอ็นเอ จึงให้ผลที่คงยืนกว่าเพราะแปรรหัส ได้ดีกว่า[ 69] [ 70] [ 71]
ส่วน open reading frame (ORF)[ D] และ untranslated regions (UTR)[ E] ของเอ็มอาร์เอ็นเอยังสามารถจัดให้เหมาะสมที่สุดเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ (เป็นกระบวนการที่เรียกว่า sequence engineering ของเอ็มอาร์เอ็นเอ) เช่น ทำให้ guanine-cytosine content[ F] หนาแน่นขึ้น (ซึ่งอาจทำให้อาร์เอ็นเอเสถียรขึ้น) หรือเลือก UTR ที่รู้ว่าทำให้แปลรหัสโปรตีนเพิ่มขึ้น[ 72]
ยังสามารถเพิ่มรหัส ORF เกี่ยวกับกลไกการถ่ายแบบอาร์เอ็นเอ เพื่อเพิ่มการแปลรหัสแอนติเจน ซึ่งก็จะเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน เป็นการลดวัสดุที่ต้องใช้ทำวัคซีน[ 73] [ 74]
สังคมและวัฒนธรรม
มีข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับวัคซีนอาร์เอ็นเอที่ส่งต่อ ๆ กันในสื่อสังคม คือมีการอ้างผิด ๆ ว่าวัคซีนอาร์เอ็นเอจะเปลี่ยนดีเอ็นเอ ของผู้ที่ได้รับ
หรือเน้นการไร้ประวัติความปลอดภัยก่อน ๆ ของเทคโนโลยี โดยละเลยหลักฐานใหม่ ๆ ที่ได้สะสมในงานทดลอง กับคนเป็นหมื่น ๆ[ 11]
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 หนังสือพิมพ์อเมริกันเดอะวอชิงตันโพสต์ รายงานว่า บุคลากรทางแพทย์ในสหรัฐลังเลที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 คือมีงานสำรวจที่พบว่า "บางคนไม่ต้องการจะได้รับวัคซีนในรอบแรก เพื่อจะรอดูว่ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง"[ 75]
ประสิทธิศักย์ต่อโควิด-19
ไม่ชัดเจนว่าทำไมวัคซีนโควิด-19 แบบเอ็มอาร์เอ็นเอของบริษัทโมเดิร์นาและไฟเซอร์ -ไบออนเทคจึงมีประสิทธิศักย์ ถึงร้อยละ 90-95 เทียบกับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอต่อต้านจุลชีพก่อโรคก่อน ๆ ที่ไม่ได้ผลจนต้องเลิกล้มการทดลองตั้งแต่ต้น ๆ[ 76]
แพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกวัคซีนดีเอ็นเอคือ Margaret Liu ระบุว่า อาจเป็นเพราะ "ทรัพยากรมหาศาล" ที่ลงทุนในการพัฒนา
หรือว่าวัคซีนอาจจะ "จุดชนวนการตอบสนองเป็นการอักเสบต่อเอ็มอาร์เอ็นเออย่างไม่เจาะจง (nonspecific inflammatory response) ที่เพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเอ็มอาร์เอ็นเออย่างเฉพาะเจาะจง (specific immune response) เพราะแม้เทคนิคดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ จะได้ลดการอักเสบแล้วแต่ก็ไม่ได้กำจัดมันโดยสิ้นเชิง"
และ "นี่อาจอธิบายปฏิกิริยารุนแรงเป็นความเจ็บปวดและเป็นไข้ที่รายงานโดยผู้ได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอต้านเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วย"
ปฏิกิริยาที่ว่าอาจรุนแรงแต่ก็เป็นเพียงชั่วคราว มีความเห็นอีกอย่างว่าเกิดจากปฏิกิริยาต่อโมเลกุล ลิพิดที่ใช้ส่งยาเข้าไปในเซลล์[ 76]
ไม่เหมือนโมเลกุลดีเอ็นเอ โมเลกุลอาร์เอ็นเอบอบบางมากและจะเสื่อมภายในไม่กี่นาทีเมื่อถูกกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจึงต้องขนส่งและเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำมาก[ 77]
นอกเซลล์หรือนอกระบบที่ใช้ส่งยา ร่างกายยังสลายโมเลกุลเอ็มอาร์เอ็นเอได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย[ 40]
ความเปราะบางของโมเลกุลเอ็มอาร์เอ็นเอเป็นอุปสรรคในเรื่องประสิทธิศักย์ ของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอทุกชนิด เพราะอาจเสื่อมไปอย่างมากก่อนจะเข้าไปในเซลล์ได้ และอาจทำให้คนได้วัคซีนคิดและมีพฤติกรรมเหมือนกับมีภูมิคุ้มกันแต่จริง ๆ ไม่มี[ 77] [ 40]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 T cell หรือ T lymphocyte เป็นลิมโฟไซต์ (เซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดหนึ่ง) ที่มีบทบาทหลักในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่อำนวยโดยเซลล์
↑ cationic polymerization เป็นกระบวนการ chain-growth polymerization ที่โมเลกุลแคตไอออน จะถ่ายประจุไปยังมอนอเมอร์ ซึ่งก็จะกลายเป็นไวปฏิกิริยา (reactive)
มอนอเมอร์ไวปฏิกิริยาก็จะไปมีปฏิกิริยาเช่นเดียวกันกับมอนอเมอร์อื่น ๆ แล้วสร้างพอลิเมอร์[ 52] [ 53]
↑ protamine เป็นโปรตีนนิวเคลียส (nuclear protein) ซึ่งมีอาร์จินีน มาก เป็นโปรตีนที่แทนที่ฮิสโตน ในการสร้างตัวอสุจิ ระยะ haploid หลัง และเชื่อว่าสำคัญต่อความควบแน่นของหัวอสุจิและเสถียรภาพของดีเอ็นเอในตัวอสุจิ
↑ ในพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล open reading frame (ตัวย่อ ORF) เป็นส่วนของ reading frame ที่อาจแปลรหัส ได้ ORF เป็นโคดอน ที่ติดต่อกันโดยจะมีโคดอนจุดเริ่มต้น (ปกติเป็น AUG) และโคดอนจุดยุติ (ปกติ UAA, UAG หรือ UGA)
↑ ในพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล untranslated region (ตัวย่อ UTR) เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของสองส่วนที่อยู่ในแต่ละข้างของลำดับการเข้ารหัสของเส้นเอ็มอาร์เอ็นเอ
↑ ในพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล GC-content หรือ guanine-cytosine content เป็นอัตราของเบสไนโตรเจนที่อยู่ในโมเลกุลดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่ไม่เป็นกัวนีนก็เป็นไซโทซีน (จากที่เป็นไปได้ 4 อย่าง รวมทั้ง adenine กับไทมีน สำหรับดีเอ็นเอ และ adenine กับ uracil สำหรับอาร์เอ็นเอ )
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Park, KS; Sun, X; Aikins, ME; Moon, JJ (December 2020). "Non-viral COVID-19 vaccine delivery systems" . Advanced Drug Delivery Reviews . 169 : 137–151. doi :10.1016/j.addr.2020.12.008 . PMC 7744276 . PMID 33340620 .
↑
Kowalski, PS; Rudra, A; Miao, L; Anderson, DG (April 2019). "Delivering the Messenger: Advances in Technologies for Therapeutic mRNA Delivery" . Mol Ther . 27 (4): 710–728. doi :10.1016/j.ymthe.2019.02.012 . PMC 6453548 . PMID 30846391 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8
Verbeke, R; Lentacker, I; De Smedt, SC; Dewitte, H (October 2019). "Three decades of messenger RNA vaccine development" . Nano Today . 28 : 100766. doi :10.1016/j.nantod.2019.100766 .
↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Pardi, N; Hogan, MJ; Porter, FW; Weissman, D (April 2018). "mRNA vaccines - a new era in vaccinology" . Nature Reviews. Drug Discovery . 17 (4): 261–279. doi :10.1038/nrd.2017.243 . PMC 5906799 . PMID 29326426 .
↑ 5.0 5.1 Kramps, T; Elders, K (2017). "Introduction to RNA Vaccines". RNA Vaccines: Methods and Protocols . Methods in Molecular Biology. Vol. 1499. pp. 1–11. doi :10.1007/978-1-4939-6481-9_1 . ISBN 978-1-4939-6479-6 . PMID 27987140 . สืบค้นเมื่อ 2020-11-18 .
↑ 6.0 6.1
"UK authorises Pfizer/BioNTech COVID-19 vaccine" (Press release). Department of Health and Social Care. 2020-12-02.
↑ 7.0 7.1
Boseley, S; Halliday, J (2020-12-02). "UK approves Pfizer/BioNTech Covid vaccine for rollout next week" . The Guardian . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2020-12-02 .
↑ "Conditions of Authorisation for Pfizer/BioNTech COVID-19 Vaccine" (Decision). Medicines & Healthcare Products Regulatory Agency. 2020-12-08.
↑ 9.0 9.1 Commissioner, Office of the (2020-12-18). "FDA Takes Additional Action in Fight Against COVID-19 By Issuing Emergency Use Authorization for Second COVID-19 Vaccine" . FDA (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-19.
↑ "US CDC panel recommends Moderna's Covid-19 vaccine for use in adults" . www.pharmaceutical-technology.com . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21 .
↑ 11.0 11.1 Carmichael, F; Goodman, J (2020-12-02). "Vaccine rumours debunked: Microchips, 'altered DNA' and more" (Reality Check). BBC.
↑ Malone, RW; Felgner, PL; Verma, IM (August 1989). "Cationic liposome-mediated RNA transfection" . Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America . 86 (16): 6077–81. Bibcode :1989PNAS...86.6077M . doi :10.1073/pnas.86.16.6077 . PMC 297778 . PMID 2762315 .
↑ Pardi N, Hogan MJ, Porter FW, Weissman D (April 2018). "mRNA vaccines — a new era in vaccinology" . Nature Reviews Drug Discovery . 17 (4): 261–279. doi :10.1038/nrd.2017.243 . ISSN 1474-1784 . PMC 5906799 . PMID 29326426 .
↑
Sahin, U; Karikó, K; Ö, Türeci (October 2014). "mRNA-based therapeutics--developing a new class of drugs". Nature Reviews. Drug Discovery . 13 (10): 759–80. doi :10.1038/nrd4278 . PMID 25233993 . S2CID 27454546 .
↑
Weissman, D (February 2015). "mRNA transcript therapy". Expert Review of Vaccines . 14 (2): 265–81. doi :10.1586/14760584.2015.973859 . PMID 25359562 . S2CID 39511619 .
↑
Pascolo, S (August 2004). "Messenger RNA-based vaccines". Expert Opinion on Biological Therapy . 4 (8): 1285–94. doi :10.1517/14712598.4.8.1285 . PMID 15268662 . S2CID 19350848 .
↑
Kallen, KJ; Theß, A (January 2014). "A development that may evolve into a revolution in medicine: mRNA as the basis for novel, nucleotide-based vaccines and drugs" . Therapeutic Advances in Vaccines . 2 (1): 10–31. doi :10.1177/2051013613508729 . PMC 3991152 . PMID 24757523 .
↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 Garade, D (2020-11-10). "The story of mRNA: How a once-dismissed idea became a leading technology in the Covid vaccine race" . Stat . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2020-11-16 .
↑
Hoerr, I; Obst, R; Rammensee, HG; Jung, G (2000-08-30). "In vivo application of RNA leads to induction of specific cytotoxic T lymphocytes and antibodies". European Journal of Immunology . 30 : 1–7. PMID 10602021 .
↑ Mayer, KM (2020-11-10). "Die unglaubliche Geschichte des Impfstoffhelden, der in der Charité um sein Leben rang und fürchtete, dass der KGB ihn holt" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05 .
↑ 21.0 21.1 21.2
Garde, D (2017-01-10). "Lavishly funded Moderna hits safety problems in bold bid to revolutionize medicine" . Stat . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19 .
↑ Garade, D (2016-09-13). "Ego, ambition, and turmoil: Inside one of biotech's most secretive startups" . Stat . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18 .
↑ "COVID-19 and Your Health" . Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-11. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01.
↑
Kuznia, R; Polglase, K; Mezzofiore, G (2020-05-01). "In quest for vaccine, US makes 'big bet' on company with unproven technology" . CNN Investigates . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01 .
↑
Roberts, M (2020-12-02). "Covid Pfizer vaccine approved for use next week in UK" . BBC News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2020-12-02 .
↑ "UK regulator says it did not cut any corners to approve Pfizer vaccine" . Reuters . 2020-12-02. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-02 .
↑ "The benefits of the Pfizer/BioNTech vaccine "far outweigh any risk", says Dr June Raine from UK regulator MHRA" . BBC News Twittter . 2020-12-02. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2020-12-02 .
↑ Guarascio, F (2020-12-02). "EU criticises 'hasty' UK approval of COVID-19 vaccine" . Reuters . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-02 .
↑ Commissioner, Office of the (2020-12-18). "Pfizer-BioNTech COVID-19 Vaccine" . FDA (ภาษาอังกฤษ).
↑ 30.0 30.1 Batty, CJ; Heise, MT; Bachelder, EM; Ainslie, KM (December 2020). "Vaccine formulations in clinical development for the prevention of severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 infection" . Advanced Drug Delivery Reviews . 169 : 168–189. doi :10.1016/j.addr.2020.12.006 . PMC 7733686 . PMID 33316346 .
↑ Hajj, KA; Whitehead, KA (2017-09-12). "Tools for translation: non-viral materials for therapeutic mRNA delivery". Nature Reviews Materials . 2 (10): 17056. Bibcode :2017NatRM...217056H . doi :10.1038/natrevmats.2017.56 .
↑ Schlake, T; Thess, A; Fotin-Mleczek, M; Kallen, KJ (November 2012). "Developing mRNA-vaccine technologies" . RNA Biology . 9 (11): 1319–30. doi :10.4161/rna.22269 . PMC 3597572 . PMID 23064118 .
↑ 33.0 33.1 "Seven vital questions about the RNA Covid-19 vaccines emerging from clinical trials" . Wellcome Trust . 2020-11-19. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26 .
↑ Fiedler, K; Lazzaro, S; Lutz, J; Rauch, S; Heidenreich, R (2016). "mRNA Cancer Vaccines". Recent Results in Cancer Research. Fortschritte der Krebsforschung. Progres dans les Recherches Sur le Cancer . Recent Results in Cancer Research. 209 : 61–85. doi :10.1007/978-3-319-42934-2_5 . ISBN 978-3-319-42932-8 . PMID 28101688 .
↑ Neilson, S; Dunn, A; Bendix, A (2020-11-26). "Moderna's groundbreaking coronavirus vaccine was designed in just 2 days" . Business Insider . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28 .
↑ 36.0 36.1 36.2 Dolgin, E (November 2020). "COVID-19 vaccines poised for launch, but impact on pandemic unclear" . Nature Biotechnology . doi :10.1038/d41587-020-00022-y . PMID 33239758 . S2CID 227176634 .
↑
Carmichael, F (2020-11-15). "Vaccine rumours debunked: Microchips, 'altered DNA' and more" . BBC News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17 .
↑
Rahman, G (2020-11-30). "RNA Covid-19 vaccines will not change your DNA" . Full Fact . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01 .
↑ Vallejo, J (2020-11-18). " 'What is Covid vaccine made of?' trends on Google as Pfizer and Moderna seek FDA approval" . The Independent . สืบค้นเมื่อ 2020-12-03 .
↑ 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 40.5 40.6 "RNA vaccines: an introduction" . PHG Foundation . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-24.
↑ Pardi, Norbert; Hogan, Michael J.; Porter, Frederick W.; Weissman, Drew (April 2018). "mRNA vaccines — a new era in vaccinology" . Nature Reviews Drug Discovery . 17 (4): 261–279. doi :10.1038/nrd.2017.243 . PMC 5906799 . PMID 29326426 .
↑ Benteyn, Daphné; Heirman, Carlo; Bonehill, Aude; Thielemans, Kris; Breckpot, Karine (2014-09-08). "mRNA-based dendritic cell vaccines". Expert Review of Vaccines . 14 (2): 161–176. doi :10.1586/14760584.2014.957684 . ISSN 1476-0584 . PMID 25196947 .
↑ Wolff, JA; Malone, RW; Williams, P; Chong, W; Acsadi, G; Jani, A; Felgner, PL (March 1990). "Direct gene transfer into mouse muscle in vivo". Science . 247 (4949 Pt 1): 1465–8. Bibcode :1990Sci...247.1465W . doi :10.1126/science.1690918 . PMID 1690918 .
↑ "Vaccine components" . Immunisation Advisory Centre (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-22. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-20 .
↑
Probst, J; Weide, B; Scheel, B; Pichler, BJ; Hoerr, I; Rammensee, HG; Pascolo, S (August 2007). "Spontaneous cellular uptake of exogenous messenger RNA in vivo is nucleic acid-specific, saturable and ion dependent". Gene Therapy . 14 (15): 1175–80. doi :10.1038/sj.gt.3302964 . PMID 17476302 .
↑
Lorenz, C; Fotin-Mleczek, M; Roth, G; Becker, C; Dam, TC; Verdurmen, WP; และคณะ (July 2011). "Protein expression from exogenous mRNA: uptake by receptor-mediated endocytosis and trafficking via the lysosomal pathway". RNA Biology . 8 (4): 627–36. doi :10.4161/rna.8.4.15394 . PMID 21654214 .
↑
Zhou, X; Berglund, P; Rhodes, G; Parker, SE; Jondal, M; Liljeström, P (December 1994). "Self-replicating Semliki Forest virus RNA as recombinant vaccine" . Vaccine . 12 (16): 1510–4. doi :10.1016/0264-410x(94)90074-4 . PMID 7879415 .
↑
Berglund, P; Smerdou, C; Fleeton, MN; Tubulekas, I; Liljeström, P (June 1998). "Enhancing immune responses using suicidal DNA vaccines". Nature Biotechnology . 16 (6): 562–5. doi :10.1038/nbt0698-562 . PMID 9624688 . S2CID 38532700 .
↑
Deering, RP; Kommareddy, S; Ulmer, JB; Brito, LA; Geall, AJ (June 2014). "Nucleic acid vaccines: prospects for non-viral delivery of mRNA vaccines". Expert Opin Drug Deliv . 11 (6): 885–99. doi :10.1517/17425247.2014.901308 . PMID 24665982 . S2CID 33489182 .
↑
Geall, AJ; Verma, A; Otten, GR; Shaw, CA; Hekele, A; Banerjee, K; Cu, Y; Beard, CW; Brito, LA; Krucker, T; O'Hagan, DT; Singh, M; Mason, PW; Valiante, NM; Dormitzer, PR; Barnett, SW; Rappuoli, R; Ulmer, JB; Mandl, CW (September 2012). "Nonviral delivery of self-amplifying RNA vaccines" . Proc Natl Acad Sci U S A . 109 (36): 14604–9. Bibcode :2012PNAS..10914604G . doi :10.1073/pnas.1209367109 . PMC 3437863 . PMID 22908294 .
↑ Kreiter, S; Selmi, A; Diken, M; Koslowski, M; Britten, CM; Huber, C; และคณะ (November 2010). "Intranodal vaccination with naked antigen-encoding RNA elicits potent prophylactic and therapeutic antitumoral immunity". Cancer Research . 70 (22): 9031–40. doi :10.1158/0008-5472.can-10-0699 . PMID 21045153 .
↑
Odian, George (2004). Principles of Polymerization (4th ed.). Hoboken, NJ: Wiley-Interscience. ISBN 978-0-471-27400-1 . {{cite book }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Mark, Herman F.; Bikales, Norbert; Overberger, Charles G.; Menges, Georg; Kroschwitz, Jacqueline I (1990). Encyclopedia of Polymer Science and Engineering (2nd ed.). Wiley-Interscience. ISBN 978-0-471-80950-0 . {{cite book }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Weide, B; Pascolo, S; Scheel, B; Derhovanessian, E; Pflugfelder, A; Eigentler, TK; Pawelec, G; Hoerr, I; Rammensee, HG; Garbe, C (June 2009). "Direct injection of protamine-protected mRNA: results of a phase 1/2 vaccination trial in metastatic melanoma patients". J Immunother . 32 (5): 498–507. doi :10.1097/CJI.0b013e3181a00068 . PMID 19609242 . S2CID 3278811 .
↑ 55.0 55.1 55.2 Cooney, E (2020-12-01). "How nanotechnology helps mRNA Covid-19 vaccines work" . Stat . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-31. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03 .
↑ Reichmuth, AM; Oberli, MA; Jaklenec, A; Langer, R; Blankschtein, D (May 2016). "mRNA vaccine delivery using lipid nanoparticles" . Therapeutic Delivery . 7 (5): 319–34. doi :10.4155/tde-2016-0006 . PMC 5439223 . PMID 27075952 .
↑ Paunovska, K; Sago, CD; Monaco, CM; Hudson, WH; Castro, MG; Rudoltz, TG; และคณะ (March 2018). "A Direct Comparison of in Vitro and in Vivo Nucleic Acid Delivery Mediated by Hundreds of Nanoparticles Reveals a Weak Correlation" . Nano Letters . 18 (3): 2148–2157. Bibcode :2018NanoL..18.2148P . doi :10.1021/acs.nanolett.8b00432 . PMC 6054134 . PMID 29489381 .
↑ Lundstrom, K (March 2019). "RNA Viruses as Tools in Gene Therapy and Vaccine Development" . Genes . 10 (3): 189. doi :10.3390/genes10030189 . PMC 6471356 . PMID 30832256 .
↑
Huang, TT; Parab, S; Burnett, R; Diago, O; Ostertag, D; Hofman, FM; และคณะ (February 2015). "Intravenous administration of retroviral replicating vector, Toca 511, demonstrates therapeutic efficacy in orthotopic immune-competent mouse glioma model" . Human Gene Therapy . 26 (2): 82–93. doi :10.1089/hum.2014.100 . PMC 4326030 . PMID 25419577 .
↑
Schultz-Cherry, S; Dybing, JK; Davis, NL; Williamson, C; Suarez, DL; Johnston, R; Perdue, ML (December 2000). "Influenza virus (A/HK/156/97) hemagglutinin expressed by an alphavirus replicon system protects chickens against lethal infection with Hong Kong-origin H5N1 viruses". Virology . 278 (1): 55–9. doi :10.1006/viro.2000.0635 . PMID 11112481 .
↑
Geisbert, TW; Feldmann, H (November 2011). "Recombinant vesicular stomatitis virus-based vaccines against Ebola and Marburg virus infections" . The Journal of Infectious Diseases . 204 Suppl 3 (suppl_3): S1075-81. doi :10.1093/infdis/jir349 . PMC 3218670 . PMID 21987744 .
↑ Wadman, M (November 2020). "Public needs to prep for vaccine side effects". Science . 370 (6520): 1022. doi :10.1126/science.370.6520.1022 . PMID 33243869 .
↑
Thomas, K (2020-10-22). "Experts Tell F.D.A. It Should Gather More Safety Data on Covid-19 Vaccines" . New York Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21 .
↑
Kuchler, H (2020-09-30). "Pfizer boss warns on risk of fast-tracking vaccines" . Financial Times . สืบค้นเมื่อ 2020-11-21 .
↑ "Pfizer-BioNTech COVID-19 Vaccine Vaccination Storage & Dry Ice Safety Handling" . Pfizer. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17 .
↑ 66.0 66.1 Simmons-Duffin, S. "Why Does Pfizer's COVID-19 Vaccine Need To Be Kept Colder Than Antarctica?" . NPR.org . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2020-11-18 .
↑ 67.0 67.1 "Fact Sheet for Healthcare Providers Administering Vaccine" (PDF) . ModernaTX, Inc. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28.
↑ "Moderna Announces Longer Shelf Life for its COVID-19 Vaccine Candidate at Refrigerated Temperatures" . NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16.
↑
Karikó, Katalin; Buckstein, Michael; Ni, Houping; Weissman, Drew (August 2005). "Suppression of RNA Recognition by Toll-like Receptors: The Impact of Nucleoside Modification and the Evolutionary Origin of RNA". Immunity . 23 (2): 165–175. doi :10.1016/j.immuni.2005.06.008 . ISSN 1074-7613 . PMID 16111635 .
↑
Karikó, Katalin; Muramatsu, Hiromi; Ludwig, János; Weissman, Drew (2011-09-02). "Generating the optimal mRNA for therapy: HPLC purification eliminates immune activation and improves translation of nucleoside-modified, protein-encoding mRNA" . Nucleic Acids Research . 39 (21): e142. doi :10.1093/nar/gkr695 . ISSN 1362-4962 . PMC 3241667 . PMID 21890902 .
↑
Pardi, Norbert; Weissman, Drew (2016-12-17), "Nucleoside Modified mRNA Vaccines for Infectious Diseases", RNA Vaccines , Springer New York, vol. 1499, pp. 109–121, doi :10.1007/978-1-4939-6481-9_6 , ISBN 978-1-4939-6479-6 , PMID 27987145
↑ Schlake, Thomas; Thess, Andreas; Fotin-Mleczek, Mariola; Kallen, Karl-Josef (November 2012). "Developing mRNA-vaccine technologies" . RNA Biology . 9 (11): 1319–1330. doi :10.4161/rna.22269 . ISSN 1547-6286 . PMC 3597572 . PMID 23064118 .
↑
Berglund, Peter (June 1998). "Enhancing immune responses using suicidal DNA vaccines". Nature Biotechnology . 16 (6): 562–5. doi :10.1038/nbt0698-562 . PMID 9624688 .
↑
Vogel, Annette B.; Lambert, Laura; Kinnear, Ekaterina; Busse, David; Erbar, Stephanie; Reuter, Kerstin C.; Wicke, Lena; Perkovic, Mario; Beissert, Tim; Haas, Heinrich; Reece, Stephen T. (February 2018). "Self-Amplifying RNA Vaccines Give Equivalent Protection against Influenza to mRNA Vaccines but at Much Lower Doses" . Molecular Therapy . 26 (2): 446–455. doi :10.1016/j.ymthe.2017.11.017 . ISSN 1525-0016 . PMC 5835025 . PMID 29275847 .
↑ Rowland, C (2020-11-21). "Doctors and nurses want more data before championing vaccines to end the pandemic" . Washington Post . สืบค้นเมื่อ 2020-11-22 .
↑ 76.0 76.1 Kwon, D (2020-11-25). "The Promise of mRNA Vaccines" . The Scientist . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-11-27 .
↑ 77.0 77.1 Jaffe-Hoffman, M (2020-11-17). "Could mRNA COVID-19 vaccines be dangerous in the long-term?" . The Jerusalem Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17 .
แหล่งข้อมูลอื่น
การพัฒนา กลุ่ม การจัดการ วัคซีน
เรื่องโต้แย้ง บทความที่สัมพันธ์กัน