Share to:

 

สถานีลุมพินี

ลุมพินี
BL25

Lumphini
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 4 เขตปทุมวันและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′32″N 100°32′46″E / 13.7256°N 100.5460°E / 13.7256; 100.5460
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาต่างระดับ
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL25
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25642,702,001
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สีลม
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล คลองเตย
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีลุมพินี (อังกฤษ: Lumphini Station, รหัส BL25) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกวิทยุ เยื้องกับสวนลุมพินี ในอนาคต จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา และรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ที่สถานีลุมพินี

ที่ตั้ง

ถนนพระรามที่ 4 บริเวณทิศตะวันออกของสี่แยกวิทยุ จุดบรรจบของถนนวิทยุ และถนนสาทรเหนือ-ใต้ ด้านข้างสะพานไทย-เบลเยียมในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน และแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ ย่านที่เรียกกันว่า "ลุมพินี" หมายถึงย่านบริเวณด้านตะวันออกของสวนลุมพินีต่อเนื่องไปยังย่านบ่อนไก่ และเคยเป็นที่ตั้งของสนามมวยเวทีลุมพินีซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่ผู้ที่โดยสารรถไฟฟ้ามายังสวนลุมพินีอาจเกิดความสับสนบ้าง เนื่องจากพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นจุดหมายตาที่สำคัญของสวนลุมพินีนั้นได้ประดิษฐานอยู่ที่สี่แยกศาลาแดง อันเป็นที่ตั้งของสถานีสีลม

แผนผังสถานี

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง, สวนลุมพินี
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-2, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, วัน แบงค็อก
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
B4
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย

รายละเอียดสถานี

สัญลักษณ์ของสถานี

"ดอกบัว" สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สัญลักษณ์รูปดอกบัว สื่อถึงสวนลุมพินี ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานี โดยใช้สีเขียวเพื่อบ่งบอกถึงพื้นที่สวนสาธารณะ[1]

รูปแบบของสถานี

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 20 เมตร ยาว 172 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 26 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องจากถนนพระรามที่ 4 ขาออกมีท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน

ทางเข้า-ออกสถานี

  • 1A อาคารลุมพินีปาร์ควิว, ซอยงามดูพลี
  • 1B พาเหรด แอท วัน แบงค็อก (ทางเชื่อมพร้อมทางออกระดับถนน)
  • 2 หน้าอาคารคิวเฮ้าส์ลุมพินี, ถนนสาทรใต้
  • 3 ถนนวิทยุ, สวนลุมพินี (ประตูด้านถนนวิทยุ), อาคารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง, โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก, เดอะ สตอรีส์ แอท วัน แบงค็อก (ทางเชื่อม)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

ทางเข้า-ออกที่ 2 หน้าอาคารคิวเฮ้าส์ลุมพินี ริมถนนสาทรใต้

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 2 ชั้นชานชาลา หมายเลข 2 มุ่งหน้าสถานีคลองเตย และสถานีปลายทางท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)
  • 3 ชั้นห้องเครื่อง
  • 4 ชั้นชานชาลา หมายเลข 1 มุ่งหน้าสถานีสีลม และสถานีปลายทางหลักสอง

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 2 และ 3

เวลาให้บริการ

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:56 00:02
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:00 00:02
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:53 23:35
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:59 23:35
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:49

รถโดยสารประจำทาง

  • ถนนพระรามที่ 4 สาย 4(ขสมก.) 13 14 22 45 46(3-10) 47 50 74 115(1-45) 141 507(3-13) 149(4-53) 177(2-28) 67(สถานีกลางบางซื่อ) 67 167(4-26) 14(3-39)(TSB) 4(3-36)(TSB) สองแถว 1240(นางลิ้นจี่) สองแถว 1240(ตรอกจันทน์)

จุดเชื่อมต่อการเดินทางในอนาคต

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แผนผังบริเวณสถานี

สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย

อาคารสำนักงาน

โรงแรม

  • โรงแรมสุโขทัย
  • โรงแรมซัมเมอร์เซ็ท ปาร์ค สวนพลู
  • โรงแรมบันยัน ทรี กรุงเทพฯ
  • โรงแรมพินนาเคิล ลุมพินี พาร์ก
  • โรงแรมไอบิส สาทร
  • โรงแรมโซ แบงค็อก
  • โรงแรมเอทัส ลุมพินี
  • โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ลุมพินี
  • วัน แบงค็อก ฮอสพิทาลิตี
    • โรงแรมเดอะ ริทส์ คาร์ลตัน กรุงเทพ
    • โรงแรมแอนดาซ แอท วัน แบงค็อก
    • โรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ วัน แบงค็อก

ศูนย์การค้า

  • ไลฟ์เซ็นเตอร์
  • เดอะ คอมมอนส์ ศาลาแดง
  • วัน แบงค็อก รีเทล

อ้างอิง

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya