สถานีเพชรบุรี (อังกฤษ: Phetchaburi Station, รหัส BL21) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่บริเวณทางแยกอโศก-เพชรบุรี ถนนอโศก-ดินแดง กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่สถานีมักกะสัน
ที่ตั้ง
ถนนอโศก-ดินแดง บริเวณทิศเหนือของทางแยกอโศก-เพชรบุรี (จุดบรรจบถนนอโศก-ดินแดง ถนนอโศกมนตรี และถนนเพชรบุรี) ด้านทิศใต้ของจุดตัดทางรถไฟสายตะวันออกและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี
รายละเอียดสถานี
สัญลักษณ์ของสถานี
ใช้สัญลักษณ์รูปคลื่นน้ำ สื่อถึงคลองแสนแสบ โดยใช้สีฟ้าที่หมายถึงแม่น้ำ, น้ำ, คลอง[1]
รูปแบบและการจัดพื้นที่ในตัวสถานี
เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 200 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 20 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)
สถานีแบ่งเป็น 2 ชั้นบนดิน และ 3 ชั้นใต้ดิน ประกอบด้วย
ทางเข้า-ออก
- 1 ทางเดินลอยฟ้า เชื่อมต่อสถานีมักกะสัน, ป้ายรถประจำทางไปถนนอโศกมนตรี-คลองตัน, ศูนย์บริการฮอนด้าเพชรบุรี, ที่หยุดรถอโศก มุ่งหน้าสถานีรถไฟคลองตัน ,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2 ท่าเรืออโศก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, โรงเรียนเซนต์ดอมินิก, ป้ายรถประจำทางไปประตูน้ำ
- 3 ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกพระราม 9, สถานีมักกะสัน (อโศก), ที่หยุดรถอโศก มุ่งหน้าสถานีรถไฟมักกะสัน, โรงเรียนดอนบอสโก
- 4 สิงห์คอมเพล็กซ์, คอนโดมิเนียมดิเอส สิงห์คอมเพล็กซ์, อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์, โรงพยาบาลจักษุรัตนิน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกทั้ง 3 จุด
- พื้นที่จอดรถบริเวณทางเข้า-ออกที่ 1 ใกล้ทางรถไฟสายตะวันออก สามารถจอดรถได้ 58 คัน
ศูนย์การค้าภายในสถานี
ภายในสถานีเพชรบุรี ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ โดยกลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการเช่าพื้นที่ทั้งชั้นจาก บริษัท บางกอกเมโทรเน็ตเวิร์ค จำกัด เพื่อเปิดสาขาของกูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่สถานีแห่งนี้ โดยเปิดในรูปแบบของซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก เน้นสินค้าบริโภคประเภท Grab and Go เป็นหลัก โดยเปิดส่วนแรกเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยร้านสตาร์บัค สาขาแรกในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน และร้านลอว์สัน 108 และจะเปิด กรูเมต์ ทู โก ซึ่งเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของ Gourmet market เป็นสาขาแรก ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เวลาให้บริการ
ปลายทาง |
วัน |
ขบวนแรก |
ขบวนสุดท้าย
|
สายเฉลิมรัชมงคล[2]
|
ชานชาลาที่ 1
|
BL38 |
หลักสอง |
จันทร์ – ศุกร์ |
05:58 |
23:54
|
|
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
06:00 |
23:54
|
|
ชานชาลาที่ 2
|
BL01 |
ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ – ศุกร์ |
05:53 |
23:44
|
|
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
06:00 |
23:44
|
|
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง |
– |
22:58
|
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สีเขียว : เขตการเดินรถที่ 2
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3
สีส้ม : เขตการเดินรถที่ 4
รถเอกชน
สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)
ถนนอโศก-ดินแดง
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
- ถนนอโศก-ดินแดง สาย *69E (เฉพาะขาไปตลาดท่าอิฐ) 136 185 206 3-55
- ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้านคลองตัน สาย 11 69 23 60 72 93 113 206 3-44 3-53
- ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้านประตูน้ำ สาย 69 11 23 38 60 72 93 113 3-44
ถนนอโศกมนตรี
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่
|
จุดเริ่มต้น
|
จุดสิ้นสุด
|
ประเภทของรถที่ให้บริการ
|
ผู้ให้บริการ
|
หมายเหตุ
|
136 (1)
|
อู่คลองเตย
|
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
|
1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
|
ขสมก.
|
|
185 (3)
|
อู่รังสิต
|
อู่คลองเตย
|
|
- ถนนอโศกมนตรี หน้า มศว ประสานมิตร สาย 38 136 185 3-53 3-55
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
- ศูนย์การค้าและโรงแรม
- อาคารสำนักงาน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ท่าพระ–บางซื่อ | |
---|
บางซื่อ–หัวลำโพง | |
---|
หัวลำโพง–หลักสอง | |
---|
หลักสอง–พุทธมณฑล สาย 4 (โครงการ) | |
---|
|
---|
ดอนเมือง–พญาไท (โครงการ) | |
---|
พญาไท–สุวรรณภูมิ | |
---|
สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา (โครงการ) | |
---|
อู่ตะเภา–ตราด (แผนการ) | |
---|
- C = City Line
- S = Standard Line
- AE = Airport Express Line
|
|
---|
แขวง | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
สาธารณสุข |
- โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย
- โรงพยาบาลสังกัดอื่น
|
---|
หน่วยงาน | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
|
---|
|