Share to:

 

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
School of Medicine, Walailak University
ชื่อย่อSMD
สถาปนา11 มีนาคม พ.ศ. 2549; 18 ปีก่อน (2549-03-11)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คณบดีชูชาติ พันธ์สวัสดิ์
ที่อยู่
222 อาคารวิชาการ 9 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
สี  สีเขียว
เว็บไซต์smd.wu.ac.th

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ในกำกับของรัฐบาลแห่งที่ 2 ของประเทศไทย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2547 และเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน ตามความเรียกร้องของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และร่วมมือกับโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข โดยสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ประวัติ

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[1] เป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ซึ่งได้รับอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และการจัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาได้มีการลงนามในข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 คณะกรรมการจากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยได้มาตรวจเยี่ยมประเมินมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมทั้งโรงพยาบาลตรัง และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ เมื่อวันที่ 12-14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันพี่เลี้ยง คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สำหรับปลัดกระทรวงสาธารณสุขกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยลักษณ์ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการของแพทยสภาเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อการรับรองหลักสูตร เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 แพทยสภาได้แจ้งผลการพิจารณารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตแพทย์ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ รับผิดชอบ ใฝ่รู้ มีการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ที่มีน้ำใจ มีสำนึกสาธารณะ มีคุณธรรม และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นได้ บัณฑิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 นอกจากนั้นบัณฑิตแพทย์ ต้องมีทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพ ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ และการติดต่อสื่อสาร ทักษะการสอบถามประวัติและการตรวจร่างกาย ทักษะการส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการ อย่างถูกต้อง ทักษะการวินิจฉัยโรคให้สอดคล้องกับสาเหตุ ทักษะการดูแลรักษา รวมทั้งการส่งต่ออย่างเหมาะสม และสามารถทำหัตถการทางคลินิกตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา รวมถึงทักษะการสืบค้น และการบริหารข้อมูลสารสนเทศ บัณฑิตแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีในการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนด้วยความเต็มใจ พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านและวิถีชุมชนท้องถิ่น

ปีการศึกษา 2552 สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีนักศึกษาแพทย์ 2 รุ่น ตามโควตาที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 95 คน จากพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดภูเก็ต

ปีการศึกษา 2557 สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขยายพื้นที่รับนักศึกษารุ่นที่ 7 จำนวน 48 คน จาก 3 จังหวัด เป็น 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา[2]

ทำเนียบคณบดี

รายนามคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมี ดังนี้[3]

คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กิจประมุข ตันตยาภรณ์ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2551
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมยุรี วศินานุกร 1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2557
3. ดร. นายแพทย์ ปรัชญะพันธ์ เพชรช่วย 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2560 (รักษาการ)
13 มีนาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

หลักสูตร

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดทำการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังนี้

หลักสูตรของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

สถาบันร่วมผลิตแพทย์

โรงพยาบาลที่ผลิตแพทย์ร่วมกับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) มีทั้งสิ้น 2 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่างๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นมาตรฐานคุณภาพของบัณฑิตแพทย์จากทุกสถาบันชั้นคลินิกภายใต้การประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้มีคุณภาพเดียวกันโดยมีดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต กระทรวงสาธารณสุข

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: Walailak University Hospital) เป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้ตอนบน บนพื้นที่ 405 ไร่ โดยปัจจุบันเปิดให้บริการผู้ป่วยนอก ตรวจรักษาโรคทั่วไป และคลินิกพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ คลินิกทั่วไป คลินิกอายุรกรรม คลินิกเด็ก คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกหูคอจมูก คลินิกสูตินรีเวช คลินิกตา คลินิกโรคกระดูกและข้อ คลินิกวัดสายตา คลินิกคอนแทคเลนส์ คลินิกโรคหอบหืดและภูมิแพ้ คลินิกถันยเมตต์ คลินิกศัลยกรรม และคลินิกตรวจสุขภาพ เป็นต้น

ทำเนียบผู้อำนวยการ

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์จรัส จันทร์ตระกูล 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน (รักษาการ)

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya