Share to:

 

สโมสรฟุตบอลคาร์ดิฟฟ์ซิตี

สโมสรฟุตบอลคาร์ดิฟฟ์ซิตี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลคาร์ดิฟฟ์ซิตี
ฉายาเดอะบลูเบิร์ด
พิราบสีน้ำเงิน (ฉายาในประเทศไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1899
สนามคาร์ดิฟฟ์ซิตีสเตเดียม
คาร์ดิฟฟ์
ความจุ33,316
เจ้าของวินเซนต์ ตัน มาเลเซีย
ประธานเมห์เหม็ด ดัลมาน ไซปรัส
ผู้จัดการนีล แฮร์ริส อังกฤษ
ลีกอีเอฟแอลแชมเปียนชิป
2022–23แชมเปียนชิป, อันดับที่ 21
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลคาร์ดิฟฟ์ซิตี (เวลส์: Clwb Pêl-droed Dinas Caerdydd) เป็นสโมสรฟุตบอลจากประเทศเวลส์

ตั้งอยู่ที่กรุงคาร์ดิฟฟ์ ในเทศมณฑลประวัติศาสตร์กลามอร์แกน ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษ โดยสโมสรลงแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของอังกฤษรวม​ 17​ ฤดูกาล​ ซึ่งช่วงที่อยู่บนลีกสูงสุดต่อเนื่องยาวนานที่สุดอยู่ระหว่างปี​ ค.ศ. 1921 ถึง​ 1929

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1899 ในชื่อสโมสรฟุตบอลริเวอร์ไซด์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลคาร์ดิฟฟ์ ซิตี ในปี ค.ศ. 1908 ต่อมาได้เข้าร่วมในเซาเทิร์น ฟุตบอลลีก ในปี ค.ศ. 1910 และได้เข้าสู่อิงกลิชฟุตบอลลีก ในปี ค.ศ. 1920 โดยคาร์ดิฟฟ์ ซิตี ได้รับการบันทึกว่าเป็นสโมสรฟุตบอลจากนอกประเทศอังกฤษสโมสรแรกและสโมสรเดียวจนถึงปัจจุบันที่สามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้สำเร็จ โดยทำได้ในปี ค.ศ. 1927 ด้วยการเอาชนะอาร์เซนอลได้ในรอบชิงชนะเลิศ นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลนอกประเทศอังกฤษสโมสรแรกที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลลีกคัพ นอกจากนี้สโมสรยังสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วย เวลส์ คัพ ได้ถึง 22 สมัย มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์รองจากสโมสรฟุตบอลเร็กซ์แฮม

ปัจจุบันสโมสรใช้สนามคาร์ดิฟฟ์ซิตี สเตเดียมเป็นสนามเหย้า โดยย้ายมาจากสนามเหย้าเดิมคือสนามนิเนียน พาร์ก ในปี ค.ศ. 2009 และมีคู่แข่งสำคัญในภาคใต้ของเวลส์อย่างสวอนซี ซิตี ซึ่งการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีมมีชื่อเรียกว่า เซาท์เวลส์ดาร์บี นอกจากนี้ยังเป็นคู่แข่งสำคัญในฐานะสโมสรที่อยู่ในบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศเวลส์และประเทศอังกฤษกับบริสตอล ซิตี โดยคาร์ดิฟฟ์เปรียบเสมือนตัวแทนจากเวลส์และบริสตอล ซิตี เปรียบเสมือนตัวแทนจากอังกฤษ และมีชื่อเรียกการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีมนี้ว่า เซเวิร์นไซด์ ดาร์บี

ในฤดูกาล 2013-14 อยู่ภายใต้การคุมทีมของมัลกี มักคาย โดยมักคายนำทีมคาร์ดิฟฟ์ซิตีได้เป็นรองแชมป์ ลีกคัพ หลังจากเสมอกับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล อยู่ 2-2 แต่แพ้ด้วยการยิงจุดโทษไป 3-2 และนำทีมคาร์ดิฟฟ์ซิตีไปเล่นรอบเพลย์ออฟในการเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีก ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษ แต่ก็แพ้เวสต์แฮมยูไนเต็ดไปทั้ง 2 นัด และในที่สุดเขาสามารถนำสโมสรคาร์ดิฟฟ์เลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษได้สำเร็จด้วยการเป็นแชมป์เดอะแชมเปียนส์ชิพ อันดับที่ 1 ในฤดูกาล 2012-13 ในต้นปี 2014 มักคายถูกปลดออกเนื่องจากทำผลงานได้ไม่ดี และอูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ อดีตกองหน้าของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้รับหน้าที่ผู้จัดการแทน[1]

คาร์ดิฟฟ์ซิตีเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในระดับพรีเมียร์ลีกได้อีกครั้งในฤดูกาล 2018–19 หลังจากจบฤดูกาลในลีกเดอะแชมเปียนส์ชิพด้วยอันดับที่ 2

ประวัติ

ยุคก่อตั้ง (ค.ศ.1899–1920)

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1899 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลริเวอร์ไซด์[2] โดยการก่อตั้งสโมสรมีขึ้นที่บ้านของวอลเตอร์ บาร์ทลีย์ วิลสัน ซึ่งเป็นช่างทำภาพพิมพ์หินในเมืองคาร์ดิฟฟ์[3] เพื่อเป็นการรวมผู้เล่นจากสโมสรคริกเก็ตริเวอร์ไซด์ไว้ด้วยกัน ในช่วงแรกสโมสรแข่งขันกับทีมในละแวกท้องถิ่นใกล้เคียงที่สนามโซเฟีย การ์เดนส์ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะในบริเวณริเวอร์ไซด์ ย่านเก่าแก่และเป็นชุมชนแออัดของเมืองคาร์ดิฟฟ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1900 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกในคาร์ดิฟฟ์แอนด์ดิสตริกต์ลีก [4]

ในปี ค.ศ. 1905 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ได้ยกฐานะเมืองของคาร์ดิฟฟ์ขึ้นเป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร สโมสรจึงได้ยื่นเรื่องต่อสมาคมฟุตบอลเซาท์เวลส์และมอนมัทเชียร์เพื่อเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นคาร์ดิฟฟ์ ซิตี[2] แต่คำขอในกรณีดังกล่าวไม่ผ่านการอนุมัติเนื่องจากสโมสรลงแข่งขันในระดับที่ต่ำเกินไป สโมสรจึงได้เข้าร่วมในเซาท์เวลส์ อเมเจอร์ลีก ในปี ค.ศ. 1907 และได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อสโมสรได้ในปีต่อมา[5][6]

เมื่อสโมสรมีความเติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงได้ไปขอเข้าร่วมแข่งขันในดิวิชัน 2 ของเซาเทิร์น ฟุตบอลลีก แต่ถูกปฏิเสธเนื่องจากสภาพสนามและสิ่งอำนวยความสะดวกในสนามโซเฟีย การ์เดนส์ ไม่ผ่านมาตรฐาน หลังจากนั้นเป็นเวลากว่า 2 ปี สโมสรมีโอกาสได้เล่นฟุตบอลนัดกระชับมิตรกับสโมสรฟุตบอลจากประเทศอังกฤษอย่างมิดเดิลส์เบรอ, บริสตอล ซิตี และ คริสตัล พาเลซทำให้เป็นที่รู้จักในหมู่แฟนบอลมากขึ้น ต่อมาสโมสรได้ตัดสินใจสร้างสนามเหย้าเป็นของตนเองเพื่อที่จะสามารถไปแข่งขันในลีกที่ใหญ่กว่าเดิมได้โดยวอลเตอร์ บาร์ทลีย์ วิลสัน ผู้ก่อตั้งสโมสรได้หาพื้นที่สำหรับสร้างสนามใหม่ในคาร์ดิฟฟ์และบริเวณใกล้เคียง และมาได้ที่ดินสำหรับสร้างสนามแห่งใหม่จากข้อเสนอของจอห์น แมนเดอร์ สมาชิกสภาเทศบาลเมือง ที่เสนอให้ใช้ที่ดินบริเวณแทนยาร์ด เลน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างถนนสโลเปอร์และสถานีรถไฟ โดยบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และใช้เป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมขยะและบางส่วนสำหรับแบ่งให้เช่า[7]โดยเขาเสนอให้สโมสรใช้พื้นที่ดังกล่าวโดยคิดค่าเช่าเดือนละ 90 ปอนด์

ในการบูรณะพื้นที่เดิมที่ค่อนข้างเสื่อมโทรมและการก่อสร้างสนามแห่งใหม่นี้ขึ้น พันโท ลอร์ด นิเนียน คริชตัน-สจ๊วร์ต ได้นำทรัพย์สินของตัวเองเป็นประกันกับธนาคารให้กับสโมสร เมื่อสนามก่อสร้างเสร็จสโมสรจึงได้ตั้งชื่อสนามเพื่อเป็นเกียรติและเป็นที่ระลึกถึงการช่วยเหลือในครั้งนี้ของเขาว่า นิเนียน พาร์ก และสโมสรได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 (ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พันโท ลอร์ด นิเนียน คริชตัน-สจ๊วร์ต ได้ถูกพลซุ่มยิงของจักรวรรดิเยอรมันลอบยิงที่ศีรษะจนเสียชีวิตในยุทธการลูส์ ที่ฝรั่งเศส ทางสโมสรจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ของเขาไว้ที่หน้าสนาม)

หลังจากย้ายมาใช้สนามนิเนียน พาร์ก สโมสรได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมในดิวิชัน 2 ของเซาเทิร์น ฟุตบอลลีก[8]และแต่งตั้งผู้จัดการทีมอย่างเป็นทางการคนแรกคือ​ เดวี แม็คดูกอลล์​ ซึ่งเป็นผู้เล่นชาวสกอตแลนด์​ ของสโมสร​ โดยสโมสรมอบหมายให้เป็นผู้เล่น-ผู้จัดการทีม​[9]และจบฤดูกาลด้วยอันดับ​ 4​ ต่อมาสโมสรตัดสินใจเปลี่ยนผู้จัดการทีมโดยแต่งตั้งเฟรเดริก​ สจ๊วต​ ซึ่งเคยคุมทีมสต๊อกพอร์ต​ เคาน์ตี​เข้ามาทำหน้าที่แทนเดวี แม็คดูกอลล์​ โดยเฟรเดริก​ สจ๊วต​ เข้ามายกระดับสโมสรให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น​ เช่น​ มีการเซ็นสัญญากับผู้เล่นที่เคยเล่นในระดับฟุตบอลลีกหลายรายเข้ามาร่วมทีม​ และสามารถสร้างผลงานคว้าแชมป์​ เวลส์คัพ ได้เป็นครั้งแรก​ในฤดูกาล​ 1911–12​ ก่อนที่จะคว้าแชมป์เซาเทิร์นฟุตบอลลีก​ ดิวิชัน​ 2​ ได้ในฤดูกาล 1912–13 ทำให้ได้เลื่อนขึ้นไปแข่งในเซาเทิร์นฟุตบอลลีก​ ดิวิชัน​ 1 และจบฤดูกาลใน 4 อันดับแรกของลีก 2 ฤดูกาลติดต่อกัน ก่อนที่การแข่งขันฟุตบอลลีกต่างๆจะหยุดลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี ค.ศ.1915–19 [6][10]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่​ 1​ สนามนิเนียน​ พาร์ก ถูกใช้เป็นลานฝึกทหาร​และผู้เล่นของสโมสรถูกเรียกไปเป็นทหารและต้องสู้รบในสงครามหลายราย เช่น​ เฟรด​ คีเนอร์​ ผู้เล่นตำแหน่งกองหลังของทีม ที่ถูกเรียกไปประจำการและต้องสู้รบกับฝ่ายจักรวรรดิเยอรมัน​ในยุทธการที่แม่น้ำซอม[11]ซึ่งจัดว่าเป็นสมรภูมิรบที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์​ ที่มีทหารเสียชีวิตกว่า​ 1​ ล้านนาย​ โดยเฟรด​ คีเนอร์​ ได้รับบาดเจ็บหนักแต่ก็รอดชีวิตมาได้​ นอกจากนี้จอห์น​ สตีเฟนสัน​ ผู้รักษาประตูตัวสำรอง​[12]และ​ ทอม​ วิตตส์ ผู้เล่นดาวรุ่งของทีม​ ก็ถูกเรียกไปเป็นทหารด้วยเช่นกัน​ โดยทอม​ วิตตส์ เป็นผู้เล่นของสโมสรที่เสียชีวิตจากพิษบาดแผลที่ได้รับจากรบที่ลิมง-ฟงแต็น​ จังหวัดนอร์ ประเทศฝรั่งเศส[13]

หลังสงครามโลกครั้งที่​ 1​ จบลง​ ฟุตบอลในประเทศอังกฤษกลับมาแข่งขันต่อหลังจากหยุดแข่งไปนานถึง​ 4​ ฤดูกาล​ โดยคาร์ดิฟฟ์​ ซิตี กลับมาลงแข่งขันในฤดูกาล​ 1919–20 ในเซาเทิร์นฟุตบอลลีก​ ดิวิชัน​ 1​ และจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4

ค.ศ.1920-1945

ในปี ค.ศ.1920 อิงกลิชฟุตบอลลีก ได้ขยายโครงสร้างลีกอาชีพ​ โดยให้เพิ่ม​ดิวิชัน​ 3​ ​จากเดิมที่มีเพียง​ 2​ ดิวิชัน​ โดยคัดเลือกจากสโมสรที่แข่งขันในเซาเทิร์นฟุตบอลลีก​ และคาร์ดิฟฟ์​ ซิตี ที่ในขณะนั้นอยู่ในระดับสูงสุดของเซาเทิร์นฟุตบอลลีกได้สมัครขอเข้าร่วมอิงกลิชฟุตบอลลีก​ และได้รับการโหวตจากสโมสรสมาชิกให้เข้าสู่ดิวิชัน​ 2

วันที่​ 28​ สิงหาคม​ ค.ศ.​ 1920​ คาร์ดิฟฟ์​ ซิตี ได้ลงแข่งขันในฟุตบอลลีกเป็นนัดแรก​ ​โดยเล่นเป็นทีมเยือนพบกับสโมสรฟุตบอลสต๊อกพอร์ต​ เคาน์ตี​ ที่สนามเอดเจลี​ พาร์ก และเป็นฝ่ายบุกมาชนะ​ 5–2[14]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สหรัฐอเมริกา Ethan Horvath
2 DF อังกฤษ วิล ฟิช
3 MF กรีซ Manolis Siopis
4 DF กรีซ Dimitrios Goutas
5 DF นอร์เวย์ Jesper Daland
8 MF อังกฤษ โจ รอลลส์ (กัปตันทีม)
9 FW อังกฤษ Kion Etete
10 MF เวลส์ แอรอน แรมซีย์
11 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ Callum O'Dowda
12 DF อังกฤษ แคลัม เชมเบอส์
14 MF สกอตแลนด์ David Turnbull
15 FW โกตดิวัวร์ Wilfried Kanga (ยืมจาก Hertha Berlin)
16 MF อังกฤษ Chris Willock
17 DF ไนจีเรีย Jamilu Collins
18 MF ออสเตรเลีย Alex Robertson
19 FW โกตดิวัวร์ Yakou Méïté
20 FW เนเธอร์แลนด์ Anwar El Ghazi
21 GK อังกฤษ Jak Alnwick
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 DF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ Joel Bagan
27 MF เวลส์ Rubin Colwill
32 FW อังกฤษ Ollie Tanner
33 DF ญี่ปุ่น Ryotaro Tsunoda
35 MF ซิมบับเว Andy Rinomhota
37 DF เวลส์ Tom Davies
38 DF สิงคโปร์ Perry Ng
39 FW เวลส์ Isaak Davies
41 GK เวลส์ Matthew Turner
42 GK เวลส์ Jake Dennis
43 MF สหรัฐอเมริกา Ade Gbadehan
44 DF เวลส์ Ronan Kpakio
45 MF เวลส์ Cian Ashford
46 FW อังกฤษ Michael Reindorf
47 FW สาธารณรัฐไอร์แลนด์ Callum Robinson
48 DF เวลส์ Dylan Lawlor
49 DF เวลส์ Luey Giles

อ้างอิง

  1. "คาร์ดิฟฟ์แต่งตั้งโซลชาร์คุมทัพแล้ว". เดลินิวส์. 2 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-02. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  2. 2.0 2.1 Tucker, Steve (9 พฤษภาคม 2012). "The obscure story of Cardiff City's blue kit and nickname". WalesOnline. Media Wales. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2017.
  3. Hayes 2006, p. 208
  4. Grandin 2010, p. 11
  5. Shepherd 2002, p. 4
  6. 6.0 6.1 Shepherd, Richard (19 มีนาคม 2013). "1899–1920 Foundations & the Early Years". Cardiff City F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2017.
  7. Shepherd 2007, p. 13
  8. "Cardiff City". Football Club History Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2017.
  9. "Playing Manager Appointed". Evening Express. 14 September 1910. p. 4.
  10. Shepherd 2002, pp. 14–21
  11. Leighton 2010, p. 46
  12. Lloyd 1999, p. 52
  13. https://www.bbc.com/news/uk-wales-45666078​[ลิงก์เสีย]
  14. "Opening Day History – Starting with success". Cardiff City F.C. 1 สิงหาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya