หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์
หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (26 กันยายน พ.ศ. 2451 – 6 กันยายน พ.ศ. 2548) เป็นพระธิดาใน พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับหม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ ป.จ. พระประวัติหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงอาม เป็นพระธิดาลำดับที่ 6 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นลำดับที่ 2 อันประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ (ราชสกุลเดิม งอนรถ) ประสูติเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2451 ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติที่ตำหนักเก้าห้องในบริเวณวังท่าพระ ถนนหน้าพระลาน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบิดาในขณะนั้น หม่อมเจ้าดวงจิตรมีโสทรภคินีและโสทรอนุชารวม 4 องค์ คือ[1]
การศึกษาหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ ทรงศึกษาในระยะแรกที่วังท่าพระ โดยหลวงสำเร็จวรรณกิจเป็นผู้ถวายการสอนพระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ต่อมาทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา เมื่อพระบิดาย้ายไปประทับที่ตำหนักปลายเนิน เป็นการถาวร หม่อมเจ้าดวงจิตรจึงทรงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเซนต์แมรี่ เอส.พี.จี. (Society for the Propagation of the Gospel) ถนนราชดำริ การทรงงานระหว่างที่หม่อมเจ้าดวงจิตรทรงศึกษาที่โรงเรียนเอสพีจีแมรี พระบิดาทรงกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งอภิรัฐมนตรี มีงานราชการเพิ่มมากขึ้น หม่อมเจ้าดวงจิตรจึงทรงลาออกจากโรงเรียน มาเป็นเลขานุการิณีในพระบิดาอย่างเต็มเวลา หม่อมเจ้าดวงจิตรมักตามเสด็จพระบิดาไปในงานพระราชพิธีต่าง ๆ และยังตามเสด็จเวลาไปทรงงานราชการด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์มีปัญหาเรื่องพระกรรณไม่ดี หม่อมเจ้าดวงจิตรต้องช่วยทูลเรื่องที่พระบิดาไม่ทรงได้ยินถนัดถวายเพิ่มเติม หม่อมเจ้าดวงจิตรจึงรู้จักข้าราชการกรมศิลปากรทุกคนในสมัยนั้น สามารถติดตามงานต่าง ๆ ถวายพระบิดาได้ ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด 16 องค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนกลาง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงยืนเบื้องขวาพระองค์ แวดล้อมด้วยพระราชนัดดา ในรัชกาลที่ 4 และ 5 ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค โดยหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 เชิญพานพระศรี นอกจากนี้ในคราวที่เกิดเหตุการณ์คณะทหารออกปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เจ้านายสตรีบางพระองค์ก็ถูกนำไปเป็น “ตัวประกัน” ด้วยเช่นกัน เช่น หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร พระชายาในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ หม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ พระธิดาในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งล้วนเข้าไปอยู่ในพระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อดูแลพระสวามีและพระบิดาที่ถูกนำไปเป็นตัวประกัน[2] งานอดิเรกหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ โปรดใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ทรงเริ่มงานประพันธ์ด้วยการแปลตำรากับข้าวจากหนังสือของมิสซิสบีตันไปลงพิมพ์ในหนังสือไทยเกษมและหนังสือนารีนาถ โปรดประพันธ์บทความและบทกลอนให้พรเป็นงานอดิเรก และนิพนธ์บทประพันธ์เพื่อใช้ในงานนักเรียนเก่าอังกฤษและงานนักเรียนเก่าอเมริกัน งานนิพนธ์เรื่องสำคัญที่นิพนธ์ขึ้นได้แก่
สิ้นชีพตักษัยหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2548 สิริชันษา 96 ปี ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พุทธศักราช 2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
อ้างอิง
|