อำเภอม่วงสามสิบ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Muang Sam Sip |
---|
คำขวัญ: ถิ่นคนดี ศรีธนญชัยสระโบราณ แหล่งกำเนิดมะขามหวาน พระโรจน์ไผ่ใหญ่ กราบไหว้หลวงพ่อเกษมสีมา ชมวัดป่าวิเวก อเนกค่าคุณธรรม |
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอม่วงสามสิบ |
พิกัด: 15°30′36″N 104°43′36″E / 15.51000°N 104.72667°E / 15.51000; 104.72667 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | อุบลราชธานี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 917.5 ตร.กม. (354.2 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 84,594 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 92.20 คน/ตร.กม. (238.8 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 34140 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3414 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอม่วงสามสิบ หมู่ที่ 5 ถนนชยางกูร ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 34140 |
---|
|
ม่วงสามสิบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เดิมคือ "บ้านที" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "เกษมสีมา" ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2425 จนถึงคราวปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ระหว่างปี พ.ศ.2443-2445 เมืองเกษมสีมาถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ ต่อมาปี พ.ศ.2452 ทางราชการได้รวมอำเภอเกษมสีมากับอำเภออุตรูปลนิคม (ซึ่งอยู่ใกล้เคียง) เข้าด้วยกัน เรียกชื่อใหม่ว่า "อำเภออุตรอุบล" แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอ "ม่วงสามสิบ" ตามชื่อของหมู่บ้านดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน ที่มาของคำว่า "ม่วงสามสิบ" มีเรื่องเล่าขานกันมา 3-4 ประการ คือ 1. พ่อค้าวัวได้ต้อนวัวมาพักอยู่ที่หมู่บ้านที่มีต้นมะม่วงและผลมะม่วงสุกหล่นเกลื่อนอยู่ใต้ต้น วัวจึงอาศัยมะม่วงสุกกินแทนหญ้าหมดไป 30 ผล บ้านนี้จึงได้ชื่อว่า "บ้านม่วงสามสิบ" 2. ที่หมู่บ้านนี้เคยมีการจัดการแข่งขันกินมะม่วงคนที่ชนะเลิศกินได้ถึง 30 ผล จึงได้ตั้งชื่อบ้านนี้ว่า "ม่วงสามสิบ" 3. พ่อค้าวัวต้อนวัวมาค้างแรมที่หมู่บ้านนี้แล้วได้ถ่ายมูลไว้ ต่อมามูลวัวได้งอกออกเป็นต้นมะม่วง 30 ต้น บ้านนี้จึงได้ชื่อว่า "ม่วงสามสิบ" 4. ในปี พ.ศ.2459 นายอำเภอเกษมสีมา ได้อพยพหาแหล่งที่ตั้งอำเภอใหม่ และได้มาพบบริเวณที่ร่มรื่นอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะมีต้นมะม่วงขึ้นรวมอยู่ถึง 30 ต้น จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นโดยให้ชื่อว่า "บ้านม่วงสามสิบ"[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอม่วงสามสิบตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอม่วงสามสิบแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล 158 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
ม่วงสามสิบ |
|
(Muang Sam Sip) |
|
12 หมู่บ้าน |
|
|
8. |
หนองไข่นก |
|
(Nong Khai Nok) |
|
8 หมู่บ้าน |
|
2. |
เหล่าบก |
|
(Lao Bok) |
|
12 หมู่บ้าน |
|
|
9. |
หนองเหล่า |
|
(Nong Lao) |
|
15 หมู่บ้าน |
|
3. |
ดุมใหญ่ |
|
(Dum Yai) |
|
13 หมู่บ้าน |
|
|
10. |
หนองฮาง |
|
(Nong Hang) |
|
9 หมู่บ้าน |
|
4. |
หนองช้างใหญ่ |
|
(Nong Chang Yai) |
|
8 หมู่บ้าน |
|
|
11. |
ยางโยภาพ |
|
(Yang Yo Phap) |
|
13 หมู่บ้าน |
|
5. |
หนองเมือง |
|
(Nong Mueang) |
|
14 หมู่บ้าน |
|
|
12. |
ไผ่ใหญ่ |
|
(Phai Yai) |
|
12 หมู่บ้าน |
|
6. |
เตย |
|
(Toei) |
|
12 หมู่บ้าน |
|
|
13. |
นาเลิง |
|
(Na Loeng) |
|
9 หมู่บ้าน |
|
7. |
ยางสักกระโพหลุ่ม |
|
(Yang Sak Krapho Lum) |
|
11 หมู่บ้าน |
|
|
14. |
โพนแพง |
|
(Phon Phaeng) |
|
10 หมู่บ้าน |
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอม่วงสามสิบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลม่วงสามสิบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลม่วงสามสิบ
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงสามสิบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงสามสิบ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลม่วงสามสิบ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าบก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าบกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดุมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดุมใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้างใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองช้างใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเมืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเตยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางสักกระโพหลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสักกระโพหลุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไข่นกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหล่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฮาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองฮางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางโยภาพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางโยภาพทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเลิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนแพงทั้งตำบล
โรงเรียนในอำเภอ
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ |
- แม่น้ำ
- เขื่อน
- อุทยานแห่งชาติ
- ภูมิลักษณ์อื่น ๆ
|
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
กีฬา | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|
- ↑ ":: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::". www.esanpedia.oar.ubu.ac.th.