ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 สายหนองคาย–อุบลราชธานี หรือ ถนนชยางกูร เริ่มจากแยกถนนมิตรภาพสายเก่า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 ใน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ไปทางทิศตะวันออกทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง ผ่านเข้าจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และไปสิ้นสุดที่ตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี มีระยะทางประมาณ 584.700 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ยกเว้นช่วงอำเภอปากคาดถึงอำเภอบ้านแพง มีขนาด 2 ช่องจราจร และ 4 ช่องจราจรในบางช่วง (ช่วงอำเภอปากคาดถึงอำเภอเมืองบึงกาฬ บางส่วน และอำเภอบ้านแพงถึงตำบลหนองแวง อยู่ระหว่างการขยายเป็น 4 ช่องจราจร) ประวัติเดิมมีชื่อเรียกว่า ทางหลวงแผ่นดินสายอุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม ได้รับการตั้งขนานนามว่า ถนนชยางกูร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางอำนาจเจริญ[1] รายละเอียดเส้นทาง
เริ่มต้นที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 อำเภอเมืองหนองคาย แล้วผ่าน อำเภอโพนพิสัย อำเภอรัตนวาปี เข้าเขตจังหวัดบึงกาฬ ที่อำเภอปากคาด ผ่าน อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง เข้าเขตจังหวัดนครพนม ที่อำเภอบ้านแพง เข้าสู่เขตอำเภอท่าอุเทน ที่บ้านพะทาย ตำบลพะทาย ประมาน 3 กิโลเมตร เข้าเขตอำเภอศรีสงคราม ที่บ้านเสียวสงคราม ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงครามก่อนจะเข้าเขตอำเภอท่าอุเทนอีกครั้ง ที่ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน อำเภอเมืองนครพนม อำเภอธาตุพนม เข้าเขตจังหวัดมุกดาหาร ที่อำเภอดงหลวง แล้วผ่าน อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอนิคมคำสร้อย เข้าเขตจังหวัดยโสธร ที่อำเภอเลิงนกทา เข้าเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ที่อำเภอเสนางคนิคม ผ่านอำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอลืออำนาจ แล้วเข้าเขตจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอม่วงสามสิบ แล้วสิ้นสุดที่ถนนสรรพสิทธิ์[2] อำเภอเมืองอุบลราชธานี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ช่วงอาจสามารถ-นครพนม ได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงเอเชียสาย 15 มีระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ช่วงมุกดาหาร-บางทรายใหญ่ ได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงเอเชีย 16 มีระยะทางประมาณ 7.182 กิโลเมตร และ ช่วงมุกดาหาร–เลิงนกทา ได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงเอเชียสาย 121 มีระยะทางประมาณ 47.805 กิโลเมตร รายชื่อทางแยก
เขตควบคุมถนนชยางกูร แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 17 ตอน ได้แก่ หมายเหตุ: ช่วงเขตการควบคุมของแขวงทางหลวงนครพนม ช่วงที่ 8 และ 9 ตอน ท่าควาย - กลางน้อย จะใช้เลขตอนที่ 0303 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง และช่วงที่ 10 และ 11 ตอน กลางน้อย - ย้อมพัฒนา จะใช้เลขตอนที่ 0304 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง เนื่องจากอยู่ช่วงระหว่างเขตเทศบาลเมืองนครพนม และ เทศบาลตำบลธาตุพนม
ทางหลวงที่เกี่ยวข้องทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2027
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2027 สายทางเข้าท่าอุเทน เป็นถนนในพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นเส้นทางที่แยกออกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 มีระยะทางรวม 2.542 กิโลเมตร เขตควบคุมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2027 แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 1 ตอน ได้แก่
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 240
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 240 หรือ ถนนเลี่ยงเมืองนครพนม เป็นทางหลวงแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นถนนเลี่ยงเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรในเขตตัวจังหวัดนครพนม เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 มีระยะทางรวม 9.089 กิโลเมตร รายชื่อทางแยก
เขตควบคุมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 240 แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 1 ตอน ได้แก่
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2030
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2030 หรือ ทางเลี่ยงองค์พระธาตุ หรือ ถนนเลี่ยงเมืองธาตุพนม เป็นทางหลวงแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นถนนเลี่ยงเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรในเขตตัว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 มีระยะทางรวม 2.155 กิโลเมตร และเดิมหมายเลขทางหลวงนี้เคยใช้เรียกทางหลวงสายมุกดาหาร–คำชะอี–กุฉินารายณ์ (เฉพาะส่วนถนนสายเก่าบริเวณสี่แยกหนองแวง–ทางแยกต่างระดับนาไคร้ และสามแยกบ้านคำพอก–แยกบ้านหนองบง ไม่รวมส่วนทางหลวงสายใหม่ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299) ก่อนที่จะกลายมาเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางหลวงสายแม่สอด–มุกดาหารในปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้สอดคล้องกับถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก–ตะวันตก จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จนถึงปัจจุบัน เขตควบคุมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2030 แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 1 ตอน ได้แก่
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 238อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|