อำเภอหนองสูง
หนองสูง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร ประวัติพื้นที่ของอำเภอหนองสูงเดิมเป็นตำบลหนองสูง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนมในขณะนั้น ต่อมาในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ขุนอนุสรกรณี ผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลหนองสูง[2] แต่รัฐบาลไม่ได้ที่จะพิจารณาตั้งกิ่งอำเภอที่ตำบลหนองสูง เพราะตำบลหนองสูงยังไม่ใช่ศูนย์กลางของท้องที่ ไม่สะดวกต่อการปกครอง และเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกท้องที่บางส่วนออกจากการปกครองของอำเภอมุกดาหาร รวมตั้งเป็นกิ่งอำเภอคำชะอี[3] และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอในเวลาต่อมา[4] ท้องที่จึงได้อยู่ในเขตอำเภอคำชะอี ในปี พ.ศ. 2527 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลหนองสูงอีกครั้ง โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรทั้งห้าตำบล ได้แก่ ตำบลหนองสูง ตำบลโนนยาง ตำบลภูวง ตำบลบ้านเป้า และตำบลหนองสูงใต้ เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรทั้งห้าตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอคำชะอี รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอหนองสูงขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2528 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลหนองสูง ตำบลโนนยาง ตำบลภูวง ตำบลบ้านเป้า และตำบลหนองสูงใต้ ออกจากการปกครองของอำเภอคำชะอี รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองสูง[5] และในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2536 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลหนองสูง รวมตั้งเป็นตำบลหนองสูงเหนือ[6] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอหนองสูง[7] จนถึงปัจจุบัน ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอหนองสูงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอหนองสูงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอหนองสูงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
|