จังหวัดมุกดาหาร
มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 หรือกลุ่มจังหวัด "สนุก" ซึ่งห่างจาก จังหวัดนครพนม ประมาณ 108 กิโลเมตร และ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 650 กิโลเมตร โดยแยกออกจากจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย จังหวัดมุกดาหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอิสาน โดยมีภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขง เป็นพรมแดนกั้นระหว่าง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ประวัติศาสตร์
กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ภายหลังจากที่พระยาสุริยวงศาสิ้นพระชนม์ กรุงเวียงจันทน์เกิดการระส่ำระสายแย่งชิงอำนาจราชสมบัติกัน ฝ่ายยึดอำนาจได้ก็ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามให้หมดสิ้นไป กลุ่มพระยาแสน (พญาเมืองจันทน์) ยึดครองเวียงจันทน์ได้ เจ้าศรีวิชัย กษัตริย์อาณาจักร์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 (พ.ศ. 2176-2179 รวมระยะเวลาครองราชย์ได้ 3 ปี) พระราชนัดดาในพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 26 ไม่สามารถครองราชย์ต่อได้ เนื่องจากเกิดการยึดอำนาจ พระองค์จึงพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์หลบหนีภัยไปพึ่งบารมีอยู่กับ "เจ้าราชครูโพนสะเม็ก" หรือ "ญาคูขี้หอม" ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ของกรุงเวียงจันทน์ ในสมัยนั้นเทียบเท่ากับสมเด็จพระสังฆราช มีคนเคารพนับถือสักการะมากที่สุด อยู่ที่วัด "โพนสะเม็ก" ใกล้กรุงเวียงจันทน์ ในการหลบหนีครั้งนี้ เจ้าศรีวิชัยได้นำบุตรไปด้วย 2 คน คือ ๑. เจ้าแก้วมงคล ได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุ เรียนพระอรรถธรรมกัมมัฎฐานจนแตกฉานแล้วสึกออกมา จนคนเรียกว่า "อาจารย์แก้ว" หรือ "แก้วบูโฮม" ๒. เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ ภายหลังจากการอพยพมาพึ่งเจ้าราชครูหลวง เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่หนีราชภัย จึงมีการเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเป้าหมายถูกลอบสังหารจากฝ่ายยึดอำนาจ พระยาแสนเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ได้คิดที่จะกำจัดเชื้อพระวงศ์ของพระสุริยวงศาที่หนีกันมาพึ่งบารมีของเจ้าราชครูโพนสะเม็กอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเจ้าราชครูฯ ซึ่งมีผู้ให้ความเคารพนับถือมากด้วย และเนื่องจากโพนสะเม็กและกรุงเวียงจันทน์อยู่ใกล้กันมาก เจ้าราชครูโพนสะเม็กเกรงว่าเชื้อพระวงศ์ที่อพยพมาพึ่งบารมีจะได้รับอันตราย จึงวางแผนการอพยพออกจากรุงเวียงจันทน์ไปทางใต้เพื่อหาที่อยู่ใหม่ พ.ศ. 2232 เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้ขออนุญาตพระยาเมืองแสนเดินทางไปบูรณปฏิสังขรณ์ "พระธาตุพนม" ซึ่งชำรุดมาก ในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้จะได้นำชาวเวียงจันทน์และช่าง จำนวน 3,000 คน ร่วมเดินทางไปด้วย เมื่อได้รับอนุญาตก็พากันอพยพเดินทางล่องน้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง ในการอพยพคราวนี้เชื้อพระวงศ์ก็ได้หลบหนีออกมาด้วย ครั้นเดินทางมาถึงพระธาตุพนมก็เริ่มลงมือบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. 2233 ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมคราวนี้นั้น เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้บูรณะตั้งแต่ขั้นที่ 2 ขึ้นไปจนสุดยอดพระธาตุ เล่ากันว่า เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้ไปขุดเอาโลหะชนิดหนึ่งคล้ายตะกั่วหรือเงิน ซึ่งไทยล้านช้างเรียกเหล็กเปียก ไทยใต้เรียกเหล็กไหล มาเป็นโลหะหล่อเป็นโบกสวมลงในปูนที่ยอดพระธาตุ สถานที่ขุดนั้นอยู่ที่ภูเหล็กใกล้บ้านดอนข้าวหลาม ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม อยู่ทางใต้ของพระธาตุพนม ประมาณ 8 กม. ปัจจุบันยังมีหลุมและรอยขุดอยู่ ภูนั้นเป็นภูเขาศิลาแลงเตี้ยเป็นเนินสูงจากทุ่งนา พ.ศ. 2336 หลังจากที่ เจ้าราชครูโพนสะเม็ก บูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้วก็ได้แบ่งครอบครัวจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปัฎฐากพระธาตุ นอกนั้นก็อพยพไปทางใต้ตามลำน้ำโขงเพื่อตั้งบ้านเรือนต่อไป กล่าวถึง นางเภา และ นางแพง(แม่ญิง) ผู้ครองเมืองกาลจำบากนาคบุรีศรี ได้ทราบข่าวว่าเจ้าราชครูโพนสะเม็กพำนักอยู่ที่เกาะแดง ท่านเป็นพระเถระที่มีคนเคารพสักการะมาก ไปที่ใดก็สร้างพระพุทธรูปวิหหาร เกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยท้าวพญาแสน ไปนิมนต์อาราธนาท่านขอให้พำนักอยู่ที่เมืองเพื่อทำนุบำรุงศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองต่อไป ท่านราชครูโพนสะเม็กก็ไม่ขัดศรัทธา ครั้นอยู่ต่อมานางแพงพร้อมด้วยมุขมนตรีประชาราษฎรทั้งปวงมีความเลื่อมใสศรัทธาและเคารพนับถือเจ้าราชครูฯมากยิ่งขึ้น จึงพร้อมกันถวายทั้งพุทธจักรและอาณาจักรให้ราชครูฯ ปกครองทั้งสิ้น นครจำบากนาคบุรีศรีเป็นพระปกครอง พ.ศ. 2256 ท่านราชครูฯ ได้ใช้วิธีปกครองโดยทางธรรมแต่ไม่สำเร็จเรียบร้อย การชำระความตามอาญาแผ่นดินก็จะผิดวินัยพระ เมื่อพิจารณาแล้วจึงเห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าองค์หล่อ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (อพยพหลบหนีเมื่อคราวมาบูรณะพระธาตุพนม) เป็นเชื้อกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์โดยแท้จริง จึงได้เชิญมาเป็นประมุขฝ่ายอาณาจักร ถวายนามว่า "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร" และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่จาก กาลจำบากนาคบุรี เป็น "นครจำปาศักดิ์" แยกออกจากอาณาเขตของกรุงเวียงจันทน์ เมื่อ "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร"ได้ปกครองนครจำปาศักดิ์แล้ว ก็มอบอำนาจให้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมีอำนาจฝ่ายพุทธจักรปกครองสงฆ์ที่นครจำปาศักดิ์ จนท่านราชครูหลวงฯ อายุได้ 90 ปี ก็มรณภาพโดยโรคชรา (พ.ศ. 2263) ต่อมา พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้แต่งตั้งให้ เจ้าแก้วมงคลอพยพไพร่พลลงไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ ต่อมาคือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทษราช (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ซึ่งต่อมาลูกหลานของท่านได้แยกออกไปปกครองหัวเมืองอีสานหลายหัวเมืองทั่วภาคอีสาน เช่น เมืองร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ ชนบท ขอนแก่น เป็นต้น ส่วนเจ้าจันทรสุริยวงศ์ให้อพยพไพร่พลไปสร้างเมืองหลวงโพนสิมร้างที่เมืองสุวรรณเขต อยู่แถวบริเวณพระธาตุอิงฮัง (แขวงสุวรรณเขตในปัจจุบัน) ซึ่งตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา [3][4] ภายหลังจากเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์พิราลัยแล้ว พระโอรสทั้ง 2 พระองค์ได้แยกย้ายกันออกไปปกครองบ้านเมืองแถบริมฝั่งแม่น้ำโขงและแผ่นดินภาคอีสาน ได้แก่ เจ้าราชาบุตรโคตร (ท้าวราชบุตรโคตร) ได้อพยพไพร่พลจากเวียงดงเขนยและเมืองแก้งกอก ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาตั้งเมืองที่บ้านดอนตาล เรียกว่า เมืองดอนตาล) และ ฝ่ายพระอนุชาคือ เจ้าจันทกินนรี (ท้าวกินรี) ได้ครองเมืองโพนสิมต่อจากพระบิดา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2310 ได้มีนายพรานในหมู่บ้านข้ามลำน้ำโขงมาทางฝั่งขวาของปากห้วยบังมุก และได้พบเมืองร้าง วัดร้าง และต้นตาลจำนวน 7 ยอดอยู่ริมฝั่งโขง เห็นว่าเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณฝั่งซ้ายที่พวกตนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากอุดมไปด้วยปลา ที่ดิน และทรัพยากรต่าง ๆ จึงกลับไปรายงานให้เจ้าจันทกินรีทราบ เจ้าจันทกินรีจึงพาพรรคพวกข้ามน้ำโขงมาและพิเคราะห์ดูว่าที่ตั้งบริเวณนี้คงเป็นเมืองโบราณมาก่อน และประทับใจในความอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะตั้งถิ่นฐาน จึงได้พากันอพยพจากบ้านหลวงโพนสินมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบริเวณปากห้วยบังมุกที่นายพรานเป็นผู้พบ[5][6] ในขณะที่กำลังจัดเตรียมพื้นที่เพื่อตั้งเมืองใหม่ ได้พบพระพุทธรูป 2 องค์อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อด้วยเหล็กเนื้อดี จึงได้พร้อมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณวัดร้างริมฝั่งโขง และขนานนามว่า วัดศรีมุงคุณ (ศรีมงคล) รวมทั้งก่อสร้างกุฏิวิหารขึ้น พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสององค์ขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหาร แต่ปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์เล็ก เกิดปาฎิหาริย์กลับลงไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่ตั้งเดิมหลายครั้ง และค่อย ๆ จมหายลงไปใต้ดิน คงเห็นแต่ยอดพระเกศโผล่ขึ้นมาให้เห็น จึงมีการสร้างแท่นสักการะบูชาครอบไว้ในบริเวณนั้น และขนานนามพระพุทธรูปองค์นั้นว่า พระหลุบเหล็ก ปัจจุบันบริเวณที่พระหลุบเหล็กจมดินได้ถูกกระแสน้ำเซาะตลิ่งโขงพังลงไปหมดแล้ว (คงเหลือแต่แท่นสักการะบูชาที่ยกเข้ามาเก็บรักษาไว้หน้าพระวิหารของวัดศรีมงคลใต้ในปัจจุบัน) ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ก่ออิฐถือปูน ชาวเมืองได้ขนานนามว่า "พระเจ้าองค์หลวง" เป็นพระประธานของวัดศรีมุงคุณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดศรีมงคลใต้ ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดมุกดาหารนับแต่นั้นมา ในเวลาต่อมา มักมีผู้พบเห็นแก้วดวงหนึ่งมีสีสดใสเป็นประกายลอยออกจากต้นตาลริมฝั่งโขง และลอยไปตามลำน้ำโขงทุกคืน จนถึงช่วงใกล้สว่างจึงลอยกลับมาที่ต้นตาลเช่นเดิม เจ้าจันทกินรีจึงได้ขนานนามแก้วดวงนี้ว่า แก้วมุกดาหาร เนื่องจากได้ตั้งเมืองขึ้นริมฝั่งโขงตรงปากห้วยบังมุกอีกทั้งได้มีผู้พบเห็นไข่มุกในแม่น้ำโขงอีกด้วย และให้ขนานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า เมืองมุกดาหาร ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1132 (พ.ศ. 2313) มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงรวมถึงแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว ครั้นถึงสมัยอาณาจักรธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้แผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง กระทั่ง พ.ศ. 2321 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นมาปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เจ้าจันทกินรี เป็น พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก เดิมทีเมืองมุกดาหารเคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลอุดร[7] ก่อนจะกลายเป็นอำเภอหนึ่งในเมืองนครพนมใน พ.ศ. 2450[8] (ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดใน พ.ศ. 2459) และได้แยกออกเป็น จังหวัดมุกดาหาร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 ใน พ.ศ. 2549 สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของไทยและแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาวได้เปิดดำเนินการ อาณาเขตติดต่อ
สภาพทางภูมิศาสตร์ด้านตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ ด้านตะวันตกเป็นผืนป่าบนทิวเขาภูพาน ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว หน่วยการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคการปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 53 ตำบล 526 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 30 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 24 เทศบาลตำบล
รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
การศึกษาระดับอาชีวศึกษาอาชีวศึกษารัฐ
อาชีวศึกษาเอกชน
ระดับอุดมศึกษาสถาบันอุดมศึกษารัฐ
สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสถานที่สำคัญ
สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ
เทศกาล
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
การคมนาคมรถยนต์มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 650 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-อำเภอยางตลาด-กาฬสินธุ์-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร รถโดยสารประจำทางมีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ โดยรถร่วมบริการของผู้ประกอบการเอกชน
ทางอากาศในปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารยังไม่มีท่าอากาศยาน จึงต้องใช้บริการท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ได้แก่
โดยปกติชาวจังหวัดมุกดาหาร จะให้ท่าอากาศยานนครพนมเป็นหลักในการเดินทาง เพราะความสะดวกในการเดินทางและระบบขนส่งสาธารณะ
รถไฟในปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารยังไม่มีระบบขนส่งทางราง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างสำหรับ โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ทางคู่ บ้านไผ่ มุกดาหาร นครพนม มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570 รถโดยสารระหว่างประเทศ
การคมนาคมภายในตัวจังหวัดมุกดาหาร
ระยะห่างจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
จุดผ่านแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว
บุคคลสำคัญ
นักแสดงนักร้อง
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
16°32′N 104°43′E / 16.54°N 104.72°E
|