เขตการปกครองของประเทศญี่ปุ่น
การบริหารราชการของประเทศญี่ปุ่นโดยพื้นฐานแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับเทศบาล ภายใต้การปกครองระดับชาติประกอบไปด้วยเขตการปกครองระดับจังหวัดจำนวน 47 แห่ง โดยมี 6 จังหวัดที่แบ่งออกเป็นกิ่งจังหวัดเพื่อประโยชน์ในการบริหารพื้นที่ขนาดใหญ่และหมู่เกาะที่ห่างไกล ส่วนระดับเทศบาล (นคร เมือง และหมู่บ้าน) เป็นการปกครองระดับล่างสุด นครที่มีประชากรมากที่สุด 20 อันดับแรกที่อยู่นอกมหานครโตเกียว เรียกว่า นครใหญ่ที่รัฐกำหนด ซึ่งจะแบ่งการปกครองย่อยออกเป็นเขต เขตการปกครองระดับจังหวัดระดับชั้นบนสุดของการแบ่งเขตการปกครอง คือ จังหวัด มีทั้งหมด 47 จังหวัด แบ่งเป็น เค็ง (ญี่ปุ่น: 県; โรมาจิ: ken) 43 แห่ง, ฟุ (ญี่ปุ่น: 府; โรมาจิ: fu) 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดโอซากะ และจังหวัดเกียวโต, โด (ญี่ปุ่น: 道; โรมาจิ: dō) 1 แห่ง ได้แก่ จังหวัดฮกไกโด, และ โทะ (ญี่ปุ่น: 都; โรมาจิ: to) 1 แห่ง ได้แก่ มหานครโตเกียว ซึ่งแม้ว่าชื่อเรียกจะแตกต่างกัน แต่มีอำนาจหน้าที่เหมือนกัน เค็ง"จังหวัด" (ญี่ปุ่น: 県; โรมาจิ: ken; ทับศัพท์: เค็ง) เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีมากที่สุด มีทั้งหมด 43 จังหวัด โทะโตเกียวจัดว่าเป็น "มหานคร" (ญี่ปุ่น: 都; โรมาจิ: to; ทับศัพท์: โทะ) หลังจากที่มีการยุบนครโตเกียวใน ค.ศ. 1943 โตเกียว-ฟุ (จังหวัดโตเกียว) ได้รับการยกฐานะเป็นโตเกียว-โตะ (มหานครโตเกียว) และเขตของนครโตเกียวเดิมได้รับการยกฐานะเป็นเขตพิเศษ ความหมายของตัวอักษรจีนที่รับมา คือ "เมืองหลวง" ฟุจังหวัดโอซากะและจังหวัดเกียวโตจัดเป็น "จังหวัดเขตเมือง" (ญี่ปุ่น: 府; โรมาจิ: fu; ทับศัพท์: ฟุ) ความหมายของอักษรจีนที่รับมาหมายถึงเขตเมืองหลักที่มีความสำคัญระดับชาติในยุคกลางของจีน หรือหมายถึงเขตการปกครองย่อยของมณฑลในช่วงปลายของจีน โดจังหวัดฮกไกโดจัดเป็น "มณฑล" (ญี่ปุ่น: 道; โรมาจิ: dō; ทับศัพท์: โด) เดิมคำนี้ใช้กับเขตการปกครองของญี่ปุ่นที่ประกอบไปด้วยหลาย ๆ แคว้น ตัวอักษรจีนตัวนี้ยังเป็นตัวอักษรที่ใช้ในประวัติศาสตร์จีนที่หมายถึงมณฑลอีกด้วย เขตการปกครองระดับกิ่งจังหวัดเขตการปกครองระดับกิ่งจังหวัดมีเพียงสองประเภท ได้แก่ กิ่งจังหวัด และอำเภอ กิ่งจังหวัดกิ่งจังหวัด (ญี่ปุ่น: 支庁; โรมาจิ: shichō; ทับศัพท์: ชิโจ) เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นประเภทหนึ่งที่มุ่งเน้นประเด็นท้องถิ่นในระดับต่ำกว่าจังหวัด[1] อำเภออำเภอ (ญี่ปุ่น: 郡; โรมาจิ: gun; ทับศัพท์: กุง) เป็นหน่วยการปกครองที่ใช้ในระหว่างปี ค.ศ. 1878 และ 1921 มีฐานะเทียบเท่ากับอำเภอของประเทศจีนหรือเทศมณฑลของสหรัฐ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 อำนาจหน้าที่ของอำเภอได้ถูกถ่ายโอนจากสำนักงานของอำเภอไปยังสำนักงานของเมืองและหมู่บ้านที่อยู่ในอำเภอนั้น ชื่อของอำเภอยังคงหลงเหลืออยู่ในการเขียนที่อยู่ทางไปรษณีย์สำหรับเมืองและหมู่บ้าน และบางครั้งก็ใช้อาณาเขตของอำเภอในการแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่นอกนั้นไม่ได้มีหน้าที่อย่างเป็นทางการ ความหมายตัวอักษรจีนดั้งเดิมที่รับมาคือ อำเภอ (commandery) ในประวัติศาสตร์ของจีน เขตการปกครองระดับเทศบาลเขตการปกครองระดับเทศบาลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ นคร เมือง และหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม ยังสามารถแบ่งประเภทของนครได้อีก นอกจากนี้ เขตพิเศษของโตเกียวก็จัดว่าเป็นเขตการปกครองระดับเทศบาลด้วยเช่นกัน นครนครในประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 4 ประเภท เรียงลำดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ นครใหญ่ที่รัฐกำหนด นครศูนย์กลาง นครพิเศษ และนครธรรมดา นครใหญ่ที่รัฐกำหนดนครใหญ่ที่รัฐกำหนด (ญี่ปุ่น: 政令指定都市; โรมาจิ: seirei shitei toshi) หรือ นครใหญ่ที่กำหนด (ญี่ปุ่น: 指定都市; โรมาจิ: shitei toshi) หรือ นครที่รัฐกำหนด (ญี่ปุ่น: 政令市; โรมาจิ: seirei shi) เป็นนครประเภทหนึ่งที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน และได้รับการจัดตั้งตามข้อบัญญัติของคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ภายใต้มาตรา 252 หมวด 19 ของกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่น นครใหญ่ที่รัฐกำหนดจะแบ่งการปกครองออกเป็นเขต นครศูนย์กลางนครศูนย์กลาง (ญี่ปุ่น: 中核市; โรมาจิ: Chūkakushi) เป็นนครที่มีประชากรมากกว่า 300,000 คน และมีพื้นที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร แต่ก็อาจมีข้อยกเว้นพิเศษตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรีสำหรับนครที่มีประชากรน้อยกว่า 300,000 คน แต่มากกว่า 200,000 คน[2] นครศูนย์กลางถูกกำหนดขึ้นตามวรรคแรกของมาตรา 252 หมวด 22 ของกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่นของญี่ปุ่น นครพิเศษนครพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特例市; โรมาจิ: Tokureishi) เป็นนครที่มีประชากรอย่างน้อย 200,000 คน นครประเภทนี้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่น มาตรา 252 วรรค 26 นครนคร (ญี่ปุ่น: 市; โรมาจิ: shi) เป็นหน่วยการบริหารท้องถิ่นในญี่ปุ่นที่มีประชากรอย่างน้อย 50,000 คน ซึ่งอย่างน้อยร้อยละ 60 ของครัวเรือนต้องตั้งอยู่ในใจกลางพื้นที่เขตเมือง และอย่างน้อยร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมดต้องทำงานในด้านการพาณิชย์ อุตสาหกรรม หรืออาชีพอื่น ๆ ในเมือง นครเป็นเขตการปกครองที่อยู่ในระดับเดียวกันกับเมือง (ญี่ปุ่น: 町; โรมาจิ: machi) และหมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: 村; โรมาจิ: mura) แต่มีข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวก็คือ นครไม่ได้ขึ้นกับอำเภอ (ญี่ปุ่น: 郡; โรมาจิ: gun) นครได้รับการกำหนดโดยกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่นปี 1947 เช่นเดียวกับหน่วยการปกครองอื่น ๆ เมืองเมือง (ญี่ปุ่น: 町; โรมาจิ: chō หรือ machi) เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น เมืองเป็นเขตการปกครองที่ขึ้นกับอำเภอ (ญี่ปุ่น: 郡; โรมาจิ: gun) หมู่บ้านหมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: 村; โรมาจิ: mura บางครั้งอ่าน son) เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ขอบเขตของหมู่บ้านจะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดที่แท้จริงของหมู่บ้าน หมู่บ้านเป็นเขตการปกครองที่ขึ้นกับอำเภอ (ญี่ปุ่น: 郡; โรมาจิ: gun) เขตพิเศษเขตพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特別区; โรมาจิ: tokubetsu-ku) เป็นเทศบาลจำนวน 23 แห่งที่รวมกันเป็นศูนย์กลางและส่วนที่มีประชากรมากที่สุดของมหานครโตเกียว ทั้งหมดนี้ เดิมเคยเป็นพื้นที่ของนครโตเกียว ก่อนที่จะถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1943 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมหานครโตเกียว โครงสร้างของเขตพิเศษได้รับการจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่น และเป็นลักษณะเฉพาะที่ของมหานครโตเกียว เขตการปกครองระดับต่ำกว่าเทศบาลเขตเขต (ญี่ปุ่น: 区; โรมาจิ: ku; ทับศัพท์: กุ) เป็นเขตการปกครองย่อยของนครขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด[3] ประวัติศาสตร์แม้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปรายละเอียดของการปกครองท้องถิ่นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่เค้าโครงพื้นฐานของระบบการปกครองสองระดับในปัจจุบันนับตั้งแต่การยกเลิกระบบแคว้นโดยรัฐบาลเมจิในปี ค.ศ. 1871 ยังคงคล้ายคลึงกัน ก่อนการยกเลิกระบบแคว้นศักดินาหรือระบบฮัง ญี่ปุ่นได้แบ่งการปกครองออกเป็น แคว้น (ญี่ปุ่น: 国; โรมาจิ: kuni) จากนั้นแบ่งออกเป็น อำเภอ (ญี่ปุ่น: 郡; โรมาจิ: gun) และ หมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: 里/郷; โรมาจิ: sato) ในระดับล่างสุด ลำดับชั้น
จำนวนเขตการปกครองแบ่งตามจังหวัด
อ้างอิง
|