Share to:

 

เฟรเดอริก แซงเงอร์

เฟรเดอริก แซงเงอร์

เกิด13 สิงหาคม ค.ศ. 1918(1918-08-13)
เรนด์คัมบ์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013(2013-11-19) (95 ปี)
เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร[1]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (PhD)
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์The metabolism of the amino acid lysine in the animal body (1943)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกอัลแบร์ท น็อยเบอร์เกอร์[2]
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก

เฟรเดอริก แซงเงอร์ OM CH CBE FRS FAA (อังกฤษ: Frederick Sanger; /ˈsæŋər/; 13 สิงหาคม ค.ศ. 1918 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) เป็นนักชีวเคมีชาวอังกฤษผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีสองครั้งเป็นคนแรก (คนที่สองได้แก่คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส ในขณะที่อีกคนหนึ่งที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้งในสาขาเดียวกันได้แก่จอห์น บาร์ดีนในสาขาฟิสิกส์)[4] และเป็นหนึ่งในห้าคนที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้ง ใน ค.ศ. 1958 เขาได้รับรางวัลจากการวิเคราะห์หาโครงสร้างของโปรตีนหลายชนิด ที่สำคัญที่สุดได้แก่อินซูลิน และใน ค.ศ. 1980 เขาได้รับรางวัลกึ่งหนึ่งร่วมกับวอลเทอร์ กิลเบิร์ตจากการคิดค้นวิธีการหาลำดับดีเอ็นเอ

ชีวิตวัยเด็กและการศึกษา

เฟรเดอริก แซงเงอร์เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1918 ที่หมู่บ้านเรนด์คัมบ์ในเทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรคนที่สองของเฟรเดอริก แซงเงอร์ ผู้พ่อซึ่งเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและซิเซลี แซงเงอร์ (นามสกุลเดิม ครูว์ดสัน)[5] เขามีพี่น้องสามคน ได้แก่ทีโอดอร์ พี่ชายซึ่งแก่กว่าเขาหนึ่งปี ตัวเขาเอง และแมรี (เมย์) น้องสาวซึ่งอ่อนกว่าเขาห้าปี[6] พ่อของเขาเคยเป็นแพทย์มิชชันนารีของคริสตจักรนิกายแองกลิคันผู้ซึ่งเคยเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในประเทศจีนแต่ต้องเดินทางกลับเนื่องจากปัญหาสุขภาพ โดยใน ค.ศ. 1916 เฟรเดอริกผู้พ่ออายุได้ 40 ปี สมรสกับซิเซลีซึ่งอ่อนกว่าสี่ปี หลังจากที่ทีโอดอร์และเฟรเดอริกผู้ลูกเกิดแล้ว เฟรเดอริกผู้พ่อได้เปลี่ยนไปนับถือนิกายเควกเกอร์และเลี้ยงดูลูกของเขาตามแบบฉบับเควกเกอร์ ในขณะที่ซิเซลีเป็นธิดาของคหบดีผู้ผลิตฝ้าย ครอบครัวของเธอนับถือนิกายเควกเกอร์เช่นกัน แต่ตัวเธอเองไม่ได้นับถือนิกายนี้[6]

เมื่อเฟรเดอริก แซงเงอร์ผู้ลูกอายุได้ห้าขวบ ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านแทนเวิร์ท-อิน-อาร์เดินในเทศมณฑลวอริกเชอร์ ครอบครัวแซงเงอร์ค่อนข้างมีฐานะและได้จ้างครูสอนพิเศษ (governess) มาสอนที่บ้าน ใน ค.ศ. 1927 เมื่อแซงเงอร์อายุได้เก้าขวบ พ่อแม่ของเขาได้ส่งเขาไปเรียนที่โรงเรียนดาวส์ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำในในเทศมณฑลเฮริฟอร์ดเชอร์ของนิกายเควกเกอร์ใกล้กับเมืองมัลเวิร์น (ซึ่งตั้งอยู่ในเทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์) พี่ชายของเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนเดียวกันแต่อยู่ชั้นสูงกว่าหนึ่งปี ใน ค.ศ. 1932 เมื่อแซงเงอร์อายุได้ 14 ปี เขาถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนไบรอันสตันในเทศมณฑลดอร์เซต โรงเรียนนี้ใช้ระบบดอลตันซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่เปิดเสรีกว่า ซึ่งตัวแซงเงอร์เองก็ชอบระบบนี้ เขาชอบครูที่โรงเรียนและชอบวิชาสายวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ[6] แซงเงอร์สามารถจบการศึกษาได้ก่อนกำหนดหนึ่งปี ทำให้ในปีสุดท้ายแซงเงอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับครูสอนเคมี เจฟฟรีย์ ออร์ดิช ผู้ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และเคยเป็นนักวิจัยในห้องปฏิบัติการคาเวนดิช การทดลองร่วมกับครูออร์ดิชทำให้แซงเงอร์เปลี่ยนความสนใจจากการนั่งเรียนในหนังสือ และจุดประกายให้แซงเงอร์เลือกที่จะทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์[7] ใน ค.ศ. 1935 ก่อนที่แซงเงอร์จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เขาได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปยังชูเลอชล็อสซาเลิมในเมืองซาเลิม รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี โรงเรียนดังกล่าวมุ่งเน้นด้านกีฬามากกว่าวิชาการ ทำให้แซงเงอร์เข้าใจเนื้อหาในห้องเรียนดีกว่าเพื่อนนักเรียนคนอื่น เขาตกใจอย่างมากเมื่อพบว่าการเรียนในแต่ละวันที่ชูเลอชล็อสซาเลิมเริ่มต้นด้วยการอ่านเนื้อหาจากหนังสือไมน์คัมพฟ์ ตามด้วยการคารวะแบบนาซี[8]

แซงเงอร์เข้าเรียนที่ วิทยาลัยเซนต์จอนส์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ใน ค.ศ. 1936 เพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิทยาลัยเดียวกับที่พ่อของเขาเข้าเรียน แซงเงอร์เลือกเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวเคมี และคณิตศาสตร์ในการเรียนแบบไทรพอส (Tripos) ส่วนที่หนึ่ง ซึ่งเขาประสบปัญหาในการเรียนวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ในชั้นปีที่สองเขาเปลี่ยนจากฟิสิกส์เป็นสรีรวิทยา เขาสำเร็จการศึกษาไทรพอสส่วนที่หนึ่งในเวลาสามปี ในส่วนที่สองเขาเรียนชีวเคมีและจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ภาควิชาชีวเคมีในขณะนั้นเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นานนัก โดยผู้ก่อตั้งได้แก่เฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์ และมีคณาจารย์คนสำคัญได้แก่มัลคอล์ม ดิกสัน, โจเซฟ นีดัม และเออร์เนสต์ บอลด์วิน[6] พ่อแม่ของเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในช่วงสองปีแรกของเขาที่เคมบริดจ์ พ่อของเขาเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 60 ปีส่วนแม่เสียชีวิตเมื่ออายุ 58 ปี แซงเงอร์ในช่วงเรียนปริญญาตรีนั้นได้รับอิทธิพลจากพื้นฐานครอบครัวที่นับถือนิกายเควกเกอร์ ความคิดของเขาเป็นแบบสันตินิยม และเขาเป็นสมาชิกขององค์การพีซเพลดจ์ยูเนียน (Peace Pledge Union) เขาพบกับโจแอน โฮว์ ผู้ซึ่งสมรสกับเขาในเวลาต่อมาขณะร่วมกิจกรรมกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เคมบริดจ์ต่อต้านสงคราม (Cambridge Scientists Anti-War Group) ในขณะนั้นเธอเรียนเศรษฐศาสตร์ที่วิทยาลัยนิวนัมในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ทั้งสองหมั้นกันขณะที่แซงเงอร์เรียนไทรพอสส่วนที่สองและสมรสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1940 หลังจากที่เขาจบการศึกษาปริญญาตรี หลังจบการศึกษามุมมองของแซงเงอร์เริ่มเปลี่ยนไปจากนิกายเควกเกอร์โดยเริ่มเบี่ยงเบนไปทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น สองสิ่งจากนิกายเควกเกอร์ที่เขายังคงยึดถือได้แก่ความจริงและการเคารพทุกชีวิต[9] แซงเงอร์ลงทะเบียนเป็นผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมเพื่อขอปฏิเสธการเกณฑ์ทหารในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในระหว่างนั้นแซงเงอร์เข้าฝึกงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ศูนย์เควกเกอร์สไปซ์แลนส์ในเทศมณฑลเดวอน และเขาทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลเป็นเวลาสั้น ๆ[6]

แซงเงอร์เริ่มเรียนปริญญาเอกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 โดยมีที่ปรึกษาได้แก่นอร์แมน พีรี หัวข้อวิจัยของแซงเงอร์ได้แก่การค้นหาโปรตีนที่รับประทานได้จากหญ้า อย่างไรก็ตาม เพียงหนึ่งเดือนเศษหลังจากนั้นพีรีย้ายออกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ไปรับตำแหน่งอื่น ทำให้อัลแบร์ท น็อยเบอร์เกอร์เข้ารับเป็นที่ปรึกษาของแซงเงอร์แทน[6] แซงเงอร์เปลี่ยนหัวข้อวิจัยเป็นการศึกษากระบวนการเมแทบอลิซึมของกรดอะมิโนไลซีน[10] และปัญหาเกี่ยวกับไนโตรเจนในมันฝรั่ง[11] หัวเรื่องวิทยานิพนธ์ของเขาคือ "The metabolism of the amino acid lysine in the animal body" โดยมีกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้แก่ชาลส์ ฮาริงตันและอัลเบิร์ต ชิบนอลล์ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกใน ค.ศ. 1943[6]

ผลงานด้านวิทยาศาสตร์

ลำดับกรดอะมิโนในอินซูลินจากวัว

การหาลำดับกรดอะมิโนในอินซูลิน

น็อยเบอร์เกอร์ย้ายไปประจำที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ในกรุงลอนดอน แต่แซงเงอร์เลือกที่จะอยู่ที่เคมบริดจ์ต่อ ใน ค.ศ. 1943 แซงเงอร์เข้ากลุ่มวิจัยของชาลส์ ชิบนอลล์ นักเคมีโปรตีนผู้ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี[12] ชิบนอลล์ได้เริ่มงานบางส่วนในการหาลำดับกรดอะมิโนในอินซูลินจากวัว[13] และเสนอให้แซงเงอร์ดูหมู่อะมิโนในโปรตีน อินซูลินสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาในสหราชอาณาจักร และเป็นโปรตีนบริสุทธิ์ไม่กี่ชนิดที่สามารถหาซื้อได้ แซงเงอร์ออกทุนสำหรับวิจัยเองในช่วงแรกก่อนที่จะได้รับทุนสนับสนุนจากสภาการวิจัยทางการแพทย์จนถึง ค.ศ. 1944 และระหว่าง ค.ศ. 1944 และ 1951 เขาได้รับทุนจากกองทุนวิจัยทางการแพทย์อนุสรณ์ไบท์[5]

ความสำเร็จสำคัญประการแรกของแซงเงอร์ได้แก่การหาลำดับกรดอะมิโนทั้งหมดภายในสายพอลิเพปไทด์สองสายของอินซูลินจากวัว (เอและบี) โดยสายเอทำสำเร็จใน ค.ศ. 1952 ส่วนสายบีสำเร็จก่อนหน้านั้นหนึ่งปี[14][15] ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโครงสร้างของโปรตีนนั้นไม่เป็นระเบียบ อย่างไรก็ตาม แซงเงอร์พิสูจน์ว่ามีโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีที่ชัดเจน[6]

ในการหาลำดับกรดอะมิโน แซงเงอร์ใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีแบบแบ่งส่วนซึ่งพัฒนาโดยริชาร์ด ลอว์เรนซ์ มิลลิงตัน ซินจ์และอาร์เชอร์ มาร์ติน แซงเงอร์ใช้ 1-ฟลูออโร-2,4-ไดไนโตรเบนซีน (ซึ่งต่อมาเรียกว่า "รีเอเจนต์ของแซงเงอร์" ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ "ฟลูออโรไดไนโตรเบนซีน" หรือเอฟดีเอ็นบี) ซึ่งใช้ได้ผลดีในการติดฉลากเอ็น-เทอร์มินัสของเพปไทด์[16] จากนั้นจึงไฮโดรไลส์บางส่วนเพื่อให้อินซูลินกลายเป็นเพปไทด์สายสั้น ๆ โดยใช้กรดไฮโดรคลอริกหรือเอนไซม์เช่นทริปซิน เพปไทด์ผสมที่ได้หลังจากนั้นถูกนำไปแยกในสองทิศทางบนกระดาษกรอง โดยครั้งแรกใช้อิเล็กโตรโฟรีซิสก่อนจะใช้โครมาโทกราฟีเพื่อแยกต่อในทิศทางตั้งฉากกับครั้งแรก สายเพปไทด์ต่างชนิดกันซึ่งถูกตรวจจับโดยใช้นินไฮดรินจะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณต่าง ๆ บนกระดาษ ทำให้เกิดเป็นรูปแบบที่แซงเงอร์เรียกว่า "ลายนิ้วมือ" สายเพปไทด์จากเอ็น-เทอร์มินัสซึ่งถูกติดฉลากโดยเอฟดีเอ็นบีจะปรากฏให้เห็นเป็นสีเหลือง และกรดอะมิโนที่เอ็น-เทอร์มินัสสามารถวิเคราะห์หาได้จากการไฮโดรไลซิสสายเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโนทั้งหมดและดูว่ากรดอะมิโนใดที่กลายเป็นอนุพันธ์เอฟดีเอ็นบี[6]

แซงเงอร์ใช้กระบวนการดังกล่าวซ้ำ ๆ โดยเปลี่ยนวิธีการไฮโดรไลซิสบางส่วนในช่วงแรก ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวนี้สามารถนำไปประกอบกันเป็นสำดับกรดอะมิโนที่สมบูรณ์ได้ ในท้ายที่สุด เนื่องจากอินซูลินสายเอและสายบีจะไม่ออกฤทธิ์ในทางสรีรวิทยาถ้าไม่มีพันธะไดซัลไฟด์สามพันธะ (สองพันธะระหว่างสายเอและสายบี และอีกหนึ่งพันธะภายในสายเอ) แซงเงอร์และคณะสามารถสรุปโครงสร้างของอินซูลินอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1955[17][18] ข้อสรุปของแซงเงอร์ได้แก่สายพอลิเพปไทด์ทั้งสองสายของอินซูลินมีลำดับกรดอะมิโนที่ชัดเจนและแน่นอน และสามารถขยายต่อไปยังโปรตีนชนดอื่น ๆ ได้ ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีครั้งแรกใน ค.ศ. 1958[19] การค้นพบนี้มีส่วนสำคัญให้ฟรานซิส คริกพัฒนาแนวคิดสำหรับโครงสร้างของดีเอ็นเอ[20]

การหาลำดับอาร์เอ็นเอ

แซงเงอร์เป็นสมาชิกของนักวิจัยภายนอกประจำสภาการวิจัยทางการแพทย์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1951[5] และต่อมาเมื่อสภาการวิจัยทางการแพทย์ได้สถาปนาห้องปฏิบัติการชีววิทยาโมเลกุลใน ค.ศ. 1962 แซงเงอร์ได้ย้ายห้องปฏิบัติการจากภาควิชาชีวเคมีไปยังชั้นบนสุดของอาคารห้องปฏิบัติการดังกล่าว และเขาขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเคมีโปรตีน[6] แต่ก่อนที่เขาจะย้ายไปนั้นเขาเริ่มสนใจความเป็นไปได้ในการหาลำดับอาร์เอ็นเอและเริ่มพัฒนาวิธีการแยกชิ้นส่วนของไรโบนิวคลีโอไทด์โดยใช้เอนไซม์นิวคลีเอส[20]

อุปสรรคสำคัญในการทำงานนี้มาจากการหาแหล่งอาร์เอ็นเอที่บริสุทธิ์พอที่จะวิเคราะห์ได้ ใน ค.ศ. 1964 แซงเงอร์และเชลด์ มาร์กเคอร์ค้นพบฟอร์มิลเมไทโอนีนทีอาร์เอ็นเอซึ่งเริ่มการสังเคราะห์โปรตีนในแบคทีเรีย[21] อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สามารถหาลำดับทีอาร์เอ็นเอได้สำเร็จไม่ใช่แซงเงอร์แต่เป็นรอเบิร์ต ดับเบิลยู. ฮอลลีย์และคณะจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลซึ่งเผยแพร่ลำดับของไรโบนิวคลีโอไทด์ 77 โมเลกุลที่ประกอบกันเป็นอะลานีนทีอาร์เอ็นเอจาก Saccharomyces cerevisiae ใน ค.ศ. 1965[22] ใน ค.ศ. 1967 กลุ่มวิจัยของแซงเงอร์สามารถวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 5S ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ จาก Escherichia coli ซึ่งมีนิวคลีโอไทด์จำนวน 120 โมเลกุล[23]

การหาลำดับดีเอ็นเอ

แซงเงอร์ได้เปลี่ยนไปวิจัยหาลำดับดีเอ็นเอซึ่งใช้เทคนิคที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เขาศึกษาวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้เอนไซม์ดีเอ็นเอพอลิเมอเรส I จากเชื้อ อี. โคไล เพื่อคัดลอกดีเอ็นเอสายเดี่ยว[24] ใน ค.ศ. 1975 แซงเงอร์ร่วมกับอลัน คูลสัน ได้ตีพิมพ์ผลงานหาลำดับดีเอ็นเอโดยใช้เอนไซม์ดีเอ็นเอพอลิเมอเรสและนิวคลีโอไทด์ที่ติดฉลากกัมมันตรังสี ซึ่งแซงเงอร์เรียกว่าเทคนิค "บวกและลบ"[25][26] กระบวนการดังกล่าวใช้สองวิธีที่เกี่ยวข้องกันเพื่อสังเคราะห์โอลิโกนิวคลีโอไทด์สายสั้นที่มีปลาย 3' ระบุชัดเจน ซึ่งสามารถนำไปแยกโดยวิธีอิเล็กโตรโฟรีซิสโดยใช้เจลพอลิอะคริลาไมด์ก่อนนำไปวิเคราะห์ด้วยการถ่ายภาพรังสีต่อไป กระบวนการดังกล่าวนี้สามารถหาลำดับนิวคลีโอไทด์ได้ถึง 80 นิวคลีโอไทด์ในครั้งเดียว และถือเป็นการปรับปรุงจากเดิมอย่างมาก แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ต้องทำงานอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มของแซงเงอร์สามารถหาลำดับในแบคเทอริโอเฟจΦX174 ซึ่งมีจำนวน 5,386 นิวคลีโอไทด์ได้เกือบทั้งหมด[27] ซึ่งเป็นการทำจีโนมดีเอ็นเอเป็นครั้งแรก พวกเขายังค้นพบว่าบริเวณในการสังเคราะห์โปรตีนสามารถซ้อนทับกันได้[3]

ใน ค.ศ. 1977 แซงเงอร์และคณะนำเสนอการใช้อนุพันธ์ไดดีออกซีในการหยุดการสังเคราะห์สายดีเอ็นเอซึ่งเรียกว่า "วิธีแซงเงอร์"[26][28] ซึ่งเป็นการค้นพบที่สำคัญและสามารถหาลำดับภายในสายดีเอ็นเอที่ยาวได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีอีกครั้งใน ค.ศ. 1980 ร่วมกับวอลเทอร์ กิลเบิร์ตและพอล เบิร์ก[29] แซงเงอร์และคณะใช้วิธีการนี้ในการหาลำดับของดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียในมนุษย์ (16,569 คู่เบส)[30] และของแลมบ์ดาเฟจ (48,502 คู่เบส)[31] วิธีแซงเงอร์นี้ได้นำไปใช้ในการทำจีโนมมนุษย์[32]

นักศึกษาปริญญาเอก

ในช่วงที่แซงเงอร์เป็นนักวิจัยนั้น เขาเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาปริญญาเอกมากกว่าสิบคน ซึ่งสองคนในนั้นได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา นักศึกษาคนแรกของเขาคือรอดนีย์ พอร์เทอร์ซึ่งเข้าร่วมกลุ่มวิจัยใน ค.ศ. 1947[3] พอร์เทอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 1972 ร่วมกับเจอรัลด์ เอเดิลมันจากผลงานการหาโครงสร้างทางเคมีของแอนติบอดี[33] เอลิซาเบธ แบล็กเบิร์นเป็นนักศึกษาปริญญาเอกในกลุ่มวิจัยของแซงเงอร์ระหว่าง ค.ศ. 1971 และ 1974[3][34] เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 2009 ร่วมกับแครอล ดับเบิลยู. ไกรเดอร์และแจ็ก ดับเบิลยู. ชุสตัก จากผลงานในการศึกษาเทโลเมียร์และเอนไซม์เทโลเมอเรส[35]

กฎของแซงเงอร์

กฎของแซงเงอร์มีใจความว่า

... anytime you get technical development that’s two to threefold or more efficient, accurate, cheaper, a whole range of experiments opens up.[36]

ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า

... เมื่อใดก็ตามที่คุณพัฒนาเทคนิคที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม แม่นยำกว่าเดิม ถูกกว่าเดิมประมาณสองหรือสามเท่า ก็จะเปิดโอกาสให้มีการทดลองใหม่ ๆ หลายร้อยหลายพันอย่าง

กฎนี้ไม่ควรสับสนกับกฎของเทร์เรนซ์ แซงเงอร์ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งมีที่มาจากกฎของเอร์กกี โอยา นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวฟินแลนด์

รางวัลและการเชิดชูเกียรติ

แซงเงอร์เป็นเพียงหนึ่งในสองคนเท่านั้นที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีสองครั้ง (อีกคนได้แก่คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลสใน ค.ศ. 2001 และ 2022) และเป็นเพียงหนึ่งในห้าคนที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้ง อีกสามคนที่เหลือได้แก่มารี กูว์รี (สาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1903 และสาขาเคมีใน ค.ศ. 1911) ไลนัส พอลิง (สาขาเคมีใน ค.ศ. 1954 และสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1962) และจอห์น บาร์ดีน (สาขาฟิสิกส์สองครั้งใน ค.ศ. 1956 และ ค.ศ. 1972)[4]

สถาบันเวลล์คัมแซงเงอร์ ตั้งชื่อตามแซงเงอร์เพื่อให้เกียรติแก่เขา[3]

ชีวิตส่วนตัว

การสมรสและครอบครัว

แซงเงอร์สมรสกับมาร์กาเรต โจแอน โฮว์ (คนละคนกับมาร์กาเรต แซงเงอร์ นักเคลื่อนไหวด้านการคุมกำเนิดในสหรัฐ) ใน ค.ศ. 1940 เธอเสียชีวิตใน ค.ศ. 2012 พวกเขามีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่รอบิน (เกิด ค.ศ. 1943) พีเทอร์ (เกิด ค.ศ. 1946) และแซลลี (เกิด ค.ศ. 1960)[5] แซงเงอร์กล่าวว่าภรรยาของเขา "มีส่วนสำคัญที่สุดในงานของเขาโดยการดูแลทุกคนในบ้านให้มีความสุข"[37]

ชีวิตหลังเกษียณ

สถาบันเวลล์คัมแซงเงอร์

แซงเงอร์เกษียณใน ค.ศ. 1983 ขณะที่เขาอายุได้ 65 ปี และย้ายไปอยู่บ้าน "ฟาร์เลส์" ในหมู่บ้านสวอฟฟัมบุลเบ็กชานเมืองเคมบริดจ์ในเทศมณฑลเคมบริดจ์เชอร์[3]

ใน ค.ศ. 1992 กองทุนเวลล์คัมและสภาการวิจัยทางการแพทย์ได้ก่อตั้งศูนย์แซงเงอร์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันเวลล์คัมแซงเงอร์) ตามชื่อของเขา[38] ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาเขตจีโนมเวลล์คัมในหมู่บ้านฮิงซ์ตัน ใกล้กับบ้านของแซงเงอร์ จอห์น ซัลส์ตัน ผู้ก่อตั้งศูนย์แซงเงอร์และประธานศูนย์คนแรกได้ขออนุญาตใช้ชื่อแซงเงอร์เป็นชื่อศูนย์ แซงเงอร์ยินยอมแต่กำชับว่า "ทำให้ดี ๆ นะ"[38] แซงเงอร์เดินทางไปเปิดศูนย์ด้วยตัวเองเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1993 ซึ่งในขณะนั้นศูนย์แซงเงอร์ยังมีนักวิจัยประจำไม่ถึง 50 คน แต่ต่อมาได้มีบทบาทสำคัญในโครงการจีโนมมนุษย์[38] และกลายมาเป็นสถาบันวิจัยด้านจีโนมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

แซงเงอร์กล่าวว่าเขาไม่พบหลักฐานใด ๆ ว่าพระเจ้ามีจริง เขาจึงกลายมาเป็นนักอไญยนิยม[39] ในบทสัมภาษณ์ลงในหนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ ใน ค.ศ. 2000 แซงเงอร์กล่าวว่า "พ่อผมเป็นเควกเกอร์ที่เคร่ง และผมก็โตมาแบบเควกเกอร์ และสำหรับพวกเขา ความจริงคือสิ่งที่สำคัญมาก ผมเบี่ยงเบนไปจากความเชื่อเหล่านั้น แน่นอนว่าข้อหนึ่งก็คือค้นหาความจริง แต่การค้นหาความจริงก็ต้องมีหลักฐาน ต่อให้ผมอยากจะเชื่อในพระเจ้า ผมก็ทำได้ยากอยู่ดี ผมต้องการข้อพิสูจน์"[40]

เขาปฏิเสธบรรดาศักดิ์อัศวินเนื่องจากเขาไม่ต้องการถูกเรียกว่า "เซอร์" โดยกล่าวว่า "พอเป็นอัศวินแล้วคุณก็แตกต่างจากคนอื่นใช่ไหมล่ะ และผมก็ไม่อยากจะแตกต่างจากคนอื่น" ใน ค.ศ. 1986 เขายอมรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์คุณธรรมซึ่งมีสมาชิกได้เพียง 24 คนที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น[37][39][40]

ใน ค.ศ. 2007 สมาคมชีวเคมีแห่งสหราชอาณาจักรได้รับทุนจากกองทุนเวลล์คัมเพื่อจัดเก็บรักษาสมุดบันทึก 35 เล่มของแซงเงอร์ที่จดบันทึกการวิจัยตั้งแต่ ค.ศ. 1944 จนถึง ค.ศ. 1983 นิตยสาร ไซเอินซ์ ซึ่งรายงานข่าวนี้ได้รายงานด้วยว่าแซงเงอร์ผู้ซึ่งเป็น "คนที่ปลีกตัวจากชื่อเสียงมากที่สุดเท่าที่คุณอยากจะพบ" ในขณะนั้นใช้ชีวิตทำสวนที่บ้านในเทศมณฑลเคมบริดจ์เชอร์[41]

แซงเงอร์เสียชีวิตขณะหลับที่โรงพยาบาลแอดเดินบรุกส์ในเคมบริดจ์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013[37][42] ในบทความระลึกถึง แซงเงอร์บรรยายตัวเขาเองว่าเป็น "ชายคนหนึ่งที่ทำโน่นนี่เรื่อยเปื่อยในแล็บ"[43] และ "ไม่ค่อยเก่งในทางวิชาการ"[44]

ผลงานตีพิมพ์ที่สำคัญ

  • Neuberger, A.; Sanger, F. (1942), "The nitrogen of the potato", Biochemical Journal, 36 (7–9): 662–671, doi:10.1042/bj0360662, PMC 1266851, PMID 16747571.
  • Neuberger, A.; Sanger, F. (1944), "The metabolism of lysine", Biochemical Journal, 38 (1): 119–125, doi:10.1042/bj0380119, PMC 1258037, PMID 16747737.
  • Sanger, F. (1945), "The free amino groups of insulin", Biochemical Journal, 39 (5): 507–515, doi:10.1042/bj0390507, PMC 1258275, PMID 16747948.
  • Sanger, F. (1947), "Oxidation of insulin by performic acid", Nature, 160 (4061): 295–296, Bibcode:1947Natur.160..295S, doi:10.1038/160295b0, PMID 20344639, S2CID 4127677.
  • Porter, R.R.; Sanger, F. (1948), "The free amino groups of haemoglobins", Biochemical Journal, 42 (2): 287–294, doi:10.1042/bj0420287, PMC 1258669, PMID 16748281.
  • Sanger, F. (1949a), "Fractionation of oxidized insulin", Biochemical Journal, 44 (1): 126–128, doi:10.1042/bj0440126, PMC 1274818, PMID 16748471.
  • Sanger, F. (1949b), "The terminal peptides of insulin", Biochemical Journal, 45 (5): 563–574, doi:10.1042/bj0450563, PMC 1275055, PMID 15396627.
  • Sanger, F.; Tuppy, H. (1951a), "The amino-acid sequence in the phenylalanyl chain of insulin. 1. The identification of lower peptides from partial hydrolysates", Biochemical Journal, 49 (4): 463–481, doi:10.1042/bj0490463, PMC 1197535, PMID 14886310.
  • Sanger, F.; Tuppy, H. (1951b), "The amino-acid sequence in the phenylalanyl chain of insulin. 2. The investigation of peptides from enzymic hydrolysates", Biochemical Journal, 49 (4): 481–490, doi:10.1042/bj0490481, PMC 1197536, PMID 14886311.
  • Sanger, F.; Thompson, E.O.P. (1953a), "The amino-acid sequence in the glycyl chain of insulin. 1. The identification of lower peptides from partial hydrolysates", Biochemical Journal, 53 (3): 353–366, doi:10.1042/bj0530353, PMC 1198157, PMID 13032078.
  • Sanger, F.; Thompson, E.O.P. (1953b), "The amino-acid sequence in the glycyl chain of insulin. 2. The investigation of peptides from enzymic hydrolysates", Biochemical Journal, 53 (3): 366–374, doi:10.1042/bj0530366, PMC 1198158, PMID 13032079.
  • Sanger, F.; Thompson, E.O.P.; Kitai, R. (1955), "The amide groups of insulin", Biochemical Journal, 59 (3): 509–518, doi:10.1042/bj0590509, PMC 1216278, PMID 14363129.
  • Ryle, A.P.; Sanger, F.; Smith, L.F.; Kitai, R. (1955), "The disulphide bonds of insulin", Biochemical Journal, 60 (4): 541–556, doi:10.1042/bj0600541, PMC 1216151, PMID 13249947.
  • Brown, H.; Sanger, F.; Kitai, R. (1955), "The structure of pig and sheep insulins", Biochemical Journal, 60 (4): 556–565, doi:10.1042/bj0600556, PMC 1216152, PMID 13249948.
  • Sanger, F. (1959), "Chemistry of Insulin: determination of the structure of insulin opens the way to greater understanding of life processes", Science, 129 (3359): 1340–1344, Bibcode:1959Sci...129.1340G, doi:10.1126/science.129.3359.1340, PMID 13658959.
  • Milstein, C.; Sanger, F. (1961), "An amino acid sequence in the active centre of phosphoglucomutase", Biochemical Journal, 79 (3): 456–469, doi:10.1042/bj0790456, PMC 1205670, PMID 13771000.
  • Marcker, K.; Sanger, F. (1964), "N-formyl-methionyl-S-RNA", Journal of Molecular Biology, 8 (6): 835–840, doi:10.1016/S0022-2836(64)80164-9, PMID 14187409.
  • Sanger, F.; Brownlee, G.G.; Barrell, B.G. (1965), "A two-dimensional fractionation procedure for radioactive nucleotides", Journal of Molecular Biology, 13 (2): 373–398, doi:10.1016/S0022-2836(65)80104-8, PMID 5325727.
  • Brownlee, G.G.; Sanger, F.; Barrell, B.G. (1967), "Nucleotide sequence of 5S-ribosomal RNA from Escherichia coli", Nature, 215 (5102): 735–736, Bibcode:1967Natur.215..735B, doi:10.1038/215735a0, PMID 4862513, S2CID 4270186.
  • Brownlee, G.G.; Sanger, F. (1967), "Nucleotide sequences from the low molecular weight ribosomal RNA of Escherichia coli", Journal of Molecular Biology, 23 (3): 337–353, doi:10.1016/S0022-2836(67)80109-8, PMID 4291728.
  • Brownlee, G.G.; Sanger, F.; Barrell, B.G. (1968), "The sequence of 5S ribosomal ribonucleic acid", Journal of Molecular Biology, 34 (3): 379–412, doi:10.1016/0022-2836(68)90168-X, PMID 4938553.
  • Adams, J.M.; Jeppesen, P.G.; Sanger, F.; Barrell, B.G. (1969), "Nucleotide sequence from the coat protein cistron of R17 bacteriophage RNA", Nature, 223 (5210): 1009–1014, Bibcode:1969Natur.223.1009A, doi:10.1038/2231009a0, PMID 5811898, S2CID 4152602.
  • Barrell, B.G.; Sanger, F. (1969), "The sequence of phenylalanine tRNA from E. coli", FEBS Letters, 3 (4): 275–278, doi:10.1016/0014-5793(69)80157-2, PMID 11947028, S2CID 34155866.
  • Jeppesen, P.G.; Barrell, B.G.; Sanger, F.; Coulson, A.R. (1972), "Nucleotide sequences of two fragments from the coat-protein cistron of bacteriophage R17 ribonucleic acid", Biochemical Journal, 128 (5): 993–1006, doi:10.1042/bj1280993h, PMC 1173988, PMID 4566195.
  • Sanger, F.; Donelson, J.E.; Coulson, A.R.; Kössel, H.; Fischer, D. (1973), "Use of DNA Polymerase I Primed by a Synthetic Oligonucleotide to Determine a Nucleotide Sequence in Phage f1 DNA", Proceedings of the National Academy of Sciences USA, 70 (4): 1209–1213, Bibcode:1973PNAS...70.1209S, doi:10.1073/pnas.70.4.1209, PMC 433459, PMID 4577794.
  • Sanger, F.; Coulson, A.R. (1975), "A rapid method for determining sequences in DNA by primed synthesis with DNA polymerase", Journal of Molecular Biology, 94 (3): 441–448, doi:10.1016/0022-2836(75)90213-2, PMID 1100841.
  • Sanger, F.; Nicklen, S.; Coulson, A.R. (1977), "DNA sequencing with chain-terminating inhibitors", Proceedings of the National Academy of Sciences USA, 74 (12): 5463–5467, Bibcode:1977PNAS...74.5463S, doi:10.1073/pnas.74.12.5463, PMC 431765, PMID 271968. According to the Institute for Scientific Information (ISI) database, by October 2010 this paper had been cited over 64,000 times.
  • Sanger, F.; Air, G.M.; Barrell, B.G.; Brown, N.L.; Coulson, A.R.; Fiddes, C.A.; Hutchinson, C.A.; Slocombe, P.M.; Smith, M. (1977), "Nucleotide sequence of bacteriophage φX174 DNA", Nature, 265 (5596): 687–695, Bibcode:1977Natur.265..687S, doi:10.1038/265687a0, PMID 870828, S2CID 4206886.
  • Sanger, F.; Coulson, A.R. (1978), "The use of thin acrylamide gels for DNA sequencing", FEBS Letters, 87 (1): 107–110, doi:10.1016/0014-5793(78)80145-8, PMID 631324, S2CID 1620755.
  • Sanger, F.; Coulson, A.R.; Barrell, B.G.; Smith, A.J.; Roe, B.A. (1980), "Cloning in single-stranded bacteriophage as an aid to rapid DNA sequencing", Journal of Molecular Biology, 143 (2): 161–178, doi:10.1016/0022-2836(80)90196-5, PMID 6260957.
  • Anderson, S.; Bankier, A.T.; Barrell, B.G.; De Bruijn, M.H.; Coulson, A.R.; Drouin, J.; Eperon, I.C.; Nierlich, D.P.; Roe, B.A.; Sanger, F.; Schreier, P.H.; Smith, A.J.; Staden, R.; Young, I.G. (1981), "Sequence and organization of the human mitochondrial genome", Nature, 290 (5806): 457–465, Bibcode:1981Natur.290..457A, doi:10.1038/290457a0, PMID 7219534, S2CID 4355527.
  • Anderson, S.; De Bruijn, M.H.; Coulson, A.R.; Eperon, I.C.; Sanger, F.; Young, I.G. (1982), "Complete sequence of bovine mitochondrial DNA. Conserved features of the mammalian mitochondrial genome", Journal of Molecular Biology, 156 (4): 683–717, doi:10.1016/0022-2836(82)90137-1, PMID 7120390.
  • Sanger, F.; Coulson, A.R.; Hong, G.F.; Hill, D.F.; Petersen, G.B. (1982), "Nucleotide sequence of bacteriophage λ DNA", Journal of Molecular Biology, 162 (4): 729–773, doi:10.1016/0022-2836(82)90546-0, PMID 6221115.
  • Sanger, F. (1988), "Sequences, sequences, and sequences", Annual Review of Biochemistry, 57: 1–28, doi:10.1146/annurev.bi.57.070188.000245, PMID 2460023.

อ้างอิง

แหล่งอ้างอิงแทรกในบทความ

  1. "Seven days: 22–28 November 2013". Nature. 503 (7477): 442–443. 2013. Bibcode:2013Natur.503..442.. doi:10.1038/503442a.
  2. Allen, A.K.; Muir, H.M. (2001). "Albert Neuberger. 15 April 1908 – 14 August 1996". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 47: 369–382. doi:10.1098/rsbm.2001.0021. JSTOR 770373. PMID 15124648. S2CID 72943723.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Brownlee, George G. (2015). "Frederick Sanger CBE CH OM. 13 August 1918 – 19 November 2013". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 61: 437–466. doi:10.1098/rsbm.2015.0013.
  4. 4.0 4.1 "Nobel Prize Facts". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "The Nobel Prize in Chemistry 1958: Frederick Sanger – biography". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 "A Life of Research on the Sequences of Proteins and Nucleic Acids: Fred Sanger in conversation with George Brownlee". Biochemical Society, Edina – Film & Sound Online. 9 October 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2013.. Subscription required. A 200 min interview divided into 44 segments. Notes give the content of each segment. [ลิงก์เสีย]
  7. Marks, Lara. "Sanger's early life: From the cradle to the laboratory". The path to DNA sequencing: The life and work of Fred Sanger. What is Biotechnology. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  8. Jeffers, Joe S. (2017). Frederick Sanger Two-Time Nobel Laureate in Chemistry. Springer International Publishing.
  9. "The Nobel Prize in Chemistry 1980".
  10. Sanger, Frederick (1944). The metabolism of the amino acid lysine in the animal body (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Cambridge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  11. Neuberger & Sanger 1942; Neuberger & Sanger 1944
  12. "Frederick Sanger, Ph.D. Biography and Interview". www.achievement.org. American Academy of Achievement.
  13. Chibnall, A. C. (1942). "Bakerian Lecture: Amino-Acid Analysis and the Structure of Proteins" (PDF). Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 131 (863): 136–160. Bibcode:1942RSPSB.131..136C. doi:10.1098/rspb.1942.0021. S2CID 85124201. Section on insulin starts on page 153.
  14. Sanger & Tuppy 1951a; Sanger & Tuppy 1951b; Sanger & Thompson 1953a; Sanger & Thompson 1953b
  15. Sanger, F. (1958), Nobel lecture: The chemistry of insulin (PDF), Nobelprize.org, สืบค้นเมื่อ 18 October 2010. Sanger's Nobel lecture was also published in Science: Sanger 1959
  16. Marks, Lara. "Sequencing proteins: Insulin". The path to DNA sequencing: The life and work of Fred Sanger. What is Biotechnology. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  17. Ryle et al. 1955.
  18. Stretton, A.O. (2002). "The first sequence. Fred Sanger and insulin". Genetics. 162 (2): 527–532. doi:10.1093/genetics/162.2.527. PMC 1462286. PMID 12399368.
  19. "The Nobel Prize in Chemistry 1958: Frederick Sanger". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 8 October 2010.
  20. 20.0 20.1 Marks, Lara. "The path to sequencing nucleic acids". The path to DNA sequencing: The life and work of Fred Sanger. What is Biotechnology. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  21. Marcker & Sanger 1964
  22. Holley, R. W.; Apgar, J.; Everett, G. A.; Madison, J. T.; Marquisee, M.; Merrill, S. H.; Penswick, J. R.; Zamir, A. (1965). "Structure of a Ribonucleic Acid". Science. 147 (3664): 1462–1465. Bibcode:1965Sci...147.1462H. doi:10.1126/science.147.3664.1462. PMID 14263761. S2CID 40989800.
  23. Brownlee, Sanger & Barrell 1967; Brownlee, Sanger & Barrell 1968
  24. Sanger et al. 1973
  25. Sanger & Coulson 1975
  26. 26.0 26.1 Sanger, F. (1980). "Nobel lecture: Determination of nucleotide sequences in DNA" (PDF). Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 15 September 2019.
  27. Sanger et al. 1977
  28. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Nicklen
  29. "The Nobel Prize in Chemistry 1980: Paul Berg, Walter Gilbert, Frederick Sanger". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 8 October 2010.
  30. Anderson et al. 1981
  31. Sanger et al. 1982
  32. Walker, John (2014). "Frederick Sanger (1918–2013) Double Nobel-prizewinning genomics pioneer". Nature. 505 (7481): 27. Bibcode:2014Natur.505...27W. doi:10.1038/505027a. PMID 24380948.
  33. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1972". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  34. Blackburn, E. H. (1974). Sequence studies on bacteriophage ØX174 DNA by transcription (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Cambridge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  35. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2009". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  36. "Schlessinger, David" (PDF). National Human Genome Research Institute (NHGRI, genome.gov). March 2018.
  37. 37.0 37.1 37.2 "Frederick Sanger, OM". The Telegraph. 20 November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
  38. 38.0 38.1 38.2 "Frederick Sanger". Wellcome Trust Sanger Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2010.
  39. 39.0 39.1 Hargittai, István (April 1999). "Interview: Frederick Sanger". The Chemical Intelligencer. New York: Springer-Verlag. 4 (2): 6–11.. This interview, which took place on 16 September 1997, was republished in Hargittai, István (2002). "Chapter 5: Frederick Sanger". Candid science II: conversations with famous biomedical scientists. London: Imperial College Press. pp. 73–83. ISBN 978-1-86094-288-4.
  40. 40.0 40.1 Ahuja, Anjana (12 January 2000). "The double Nobel laureate who began the book of life". The Times. London. p. 40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2008. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010 – โดยทาง warwick.ac.uk.
  41. Bhattachjee, Yudhijit, บ.ก. (2007). "Newsmakers: A Life in Science". Science. 317 (5840): 879. doi:10.1126/science.317.5840.879e. S2CID 220092058.
  42. "Frederick Sanger: Nobel Prize winner dies at 95". BBC.co.uk. 20 November 2013. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
  43. "Frederick Sanger: Unassuming British biochemist whose pivotal and far-reaching discoveries made him one of a handful of double Nobel prizewinners". The Times. London. 21 November 2013. p. 63.
  44. "Frederick Sanger's achievements cannot be overstated". The Conversation. 21 November 2013.

แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya