Share to:

 

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
พิกัด17°24′25.2″N 103°14′27.5″E / 17.407000°N 103.240972°E / 17.407000; 103.240972
ประเทศ ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii)
อ้างอิง575
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2535 (คณะกรรมการสมัยที่ 16)
พื้นที่30 เฮกตาร์
พื้นที่กันชน760 เฮกตาร์
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ที่ตั้งแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงตั้งอยู่ในประเทศไทย
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (ประเทศไทย)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง[1] เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่ตำบลบ้านเชียง (ในเขตเทศบาลตำบลบ้านเชียง) อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี

เครื่องมือและอุปกรณ์ยุคโบราณ

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่

  1. ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600–3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็ก และยังมีประเพณีการฝังศพ โดยการฝังสิ่งของเครื่องใช้ลงไปเช่น ขวาน ใบหอก เป็นต้น
  2. ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000–2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดง
  3. ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300–1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน

สำริด

ชาวบ้านเชียงโบราณนิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะได้รู้จักใช้การใช้เหล็ก ชาวพอลินีเชียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน เช่นใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก

แหล่งมรดกโลก

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐ โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้

  • เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya